Pattaya City

งบประมาณเมืองพัทยา

รายได้

ประเภทของรายได้เมืองพัทยา

2.1 รายได้ของเมืองพัทยาประกอบด้วย 6 หมวดรายได้ ดังนี้

1.  ภาษีอากร

2. รายได้จากค่าธรรมเนียม ค่าใบอนุญาต และค่าปรับ

3. รายได้จากทรัพย์สิน

4. รายได้จากค่าสาธารณูปโภคและการพาณิชย์

5. รายได้เบ็ดเตล็ด

6. รายได้ที่รัฐจัดสรรให้

 

2.2 เงินอุดหนุนจากรัฐบาล                                   

2.1.1 ภาษีที่จัดเก็บเอง

– ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ซึ่งจัดเก็บมาตั้งแต่ปี  พ.ศ.2475  (ค.ศ.1932) อัตราภาษีรัฐเป็นผู้กำหนด  ฐานของภาษีท้องถิ่นเป็นผู้กำหนด เก็บจากคนที่เป็นเจ้าของทรัพย์สิน โดยประเมินจากการใช้ประโยชน์ในทรัพย์สิน

– ภาษีบำรุงท้องที่ จัดเก็บภาษีมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2508  (ค.ศ.1965) ฐานภาษี อัตราภาษี กำหนดโดยคณะกรรมการซึ่งประกอบด้วย ปลัดจังหวัด เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัด  นายอำเภอท้องที่  ผู้ซึ่งบริหารท้องถิ่นหรือคณะผู้บริหารท้องถิ่นมอบหมายหนึ่งคน และผู้ทรงคุณวุฒิสองคนซึ่งได้รับเลือกจากสภาท้องถิ่น

– ภาษีป้าย จัดเก็บภาษีมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2510 (ค.ศ.1967) เป็นภาษีที่จัดเก็บตามประเภทและขนาดของป้ายโฆษณา ฐานและอัตราภาษีกำหนดโดยรัฐ

2.1.2 รายได้จากค่าธรรมเนียม ค่าใบอนุญาต และค่าปรับ

– ค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการควบคุมการฆ่าสัตว์
– ค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับใบอนุญาตขายสุรา
– ค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับใบอนุญาตการพนัน
– ค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการจัดระเบียบจอดยานยนต์
– ค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการควบคุมอาคาร
– ค่าธรรมเนียมเก็บขยะมูลฝอย
– ค่าธรรมเนียมขนสิ่งปฏิกูล
– ค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับบัตรประจำตัวประชาชน
– ค่าธรรมเนียมต่อสัญญาเช่า
– ค่าธรรมเนียมจดทะเบียนพาณิชย์
– ค่าธรรมเนียมการบำบัดน้ำเสีย
– ค่าธรรมเนียมการบำบัดน้ำทิ้ง
– ค่าธรรมเนียมอื่นๆ (ค่าฯรักษาความสะอาด,ค่าต่อสัญญาเช่า)
– ค่าปรับผู้กระทำผิดกฎหมายการจอดยานยนต์
– ค่าปรับผู้กระทำกฎหมายจราจรทางบก
– ค่าปรับผู้กระทำผิดกฎหมายการป้องกันอัคคีภัย
– ค่าปรับผู้กระทำผิดกฎหมายทะเบียนราษฎร
– ค่าปรับผู้กระทำผิดกฎหมายบัตรประชาชน
– ค่าปรับผู้กระทำผิดกฎหมายและข้อบัญญัติท้องถิ่น
– ค่าปรับการทำผิดสัญญา
– ใบอนุญาตประกอบการค้าอันตรายต่อสุขภาพ
– ใบอนุญาตจัดตั้งสถานที่ฯ จำหน่ายอาหาร / สะสมอาหาร
– ใบอนุญาตจำหน่ายสินค้าฯ ทางสาธารณะ
– ใบอนุญาตจัดตั้งตลาด
– ค่าใบอนุญาตเกี่ยวกับการควบคุมอาหาร
– ค่าใบอนุญาตเกี่ยวกับการโฆษณาโดยใช้เครื่องฯ
– ใบอนุญาตติดตั้งป้ายโฆษณา
– ค่าใบอนุญาตต่างๆ  (น้ำเสียน้ำทิ้ง, ตั้งป้ายโฆษณา)

2.1.3 รายได้จากทรัพย์สิน

– ค่าเช่าหรือค่าบริการสถานที่

– ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร

– ดอกเบี้ยเงินฝาก ก.ส.ท.

2.1.4 รายได้จากสาธารณูปโภคและการพาณิชย์
– เงินช่วยเหลือท้องถิ่นจากสถานธนานุบาล

– เงินช่วยเหลือท้องถิ่นกรณีพิเศษจากสถานธนานุบาล

2.1.5 รายได้เบ็ดเตล็ด
– รายได้ที่ไม่มีเป็นประจำทุกปี จำนวนไม่แน่นอน ไม่สามารถกำหนดตัวเงินได้แน่ชัด อาทิ เช่น
– ค่าเขียนแบบแปลนก่อสร้างอาคาร
– ค่าจำหน่ายแบบพิมพ์และคำร้องต่างๆ

2.1.6 รายได้ที่รัฐจัดสรรให้  ประกอบด้วย
– ภาษีและค่าธรรมเนียมรถยนต์หรือล้อเลื่อน

– ภาษีมูลค่าเพิ่ม ตาม พรบ. กระจายอำนาจฯ
– ภาษีมูลค่าเพิ่ม จัดเก็บตามประมวลรัษฎากร 5%
– ภาษีมูลค่าเพิ่ม 1/9
– ภาษีธุรกิจเฉพาะ
– ภาษีสุรา
– ภาษีสรรพสามิต
– ค่าภาคหลวงแร่
– ค่าภาคหลวงปิโตรเลียม
– ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมที่ดิน

2.3 สัดส่วนรายได้ของเมืองพัทยา (ข้อมูลปี พ.ศ. 2543)
2.3.1 รายได้ที่เมืองพัทยาจัดเก็บเอง 385 ล้าน คิดเป็นร้อยละ 14.66 ของรายได้เมืองพัทยา
2.3.2 รายได้ที่รัฐจัดเก็บและจัดสรร 942 ล้าน คิดเป็นร้อยละ 35.86 ของรายได้เมืองพัทยา
2.3.3 เงินอุดหนุนจากรัฐ 1,300 ล้าน คิดเป็นร้อยละ 49.48 ของรายได้เมืองพัทยา
รายจ่าย

งบประมาณของเมืองพัทยาใช้รูปแบบเดียวกับที่กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นกำหนดให้ใช้กับทุกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อง่ายต่อการจัดเก็บสถิติ และเป็นงบประมาณแบบแผนงานโครงการ (PPBS) เพื่อให้ผู้บริหารเมืองพัทยาสามารถใช้ประโยชน์ในการวางแผนพัฒนาเมืองพัทยา ตลอดจนวางแนวทางการพัฒนาเมืองพัทยาได้อย่างมีหลักการ

เงินรายจ่ายประจำปีของเมืองพัทยา ให้ตราเป็นข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี และให้มีประมาณการรายรับประกอบงบประมาณรายจ่ายประจำปีด้วย โดยอาจจำแนกเป็นงบประมาณรายจ่ายทั่วไปและงบประมาณายจ่ายเฉพาะการ ทั้งนี้ การจัดทำงบประมาณ รายจ่ายเฉพาะการต้องได้รับความเห็นชอบจากสภา งบประมาณรายจ่ายทั่วไป และงบประมาณรายจ่ายเฉพาะการ อาจตั้งจ่ายเงินช่วยเหลือระหว่างกันได้โดยงบประมาณจ่ายทั่วไป ประกอบด้วยรายจ่ายงบกลางและรายจ่ายตามแผนงาน

 

รายจ่ายตามแผนงาน จำแนกเป็น 2 ลักษณะคือ

1. รายจ่ายประจำประกอบด้วย

1.1 หมวดเงินเดือนและค่าจ้างประจำ

1.2 หมวดค่าจ้างชั่วคราว

1.3 หมวดค่าตอบแทนใช้สอยและวัสดุ

1.4 หมวดค่าสาธารณูปโภค

1.5 หมวดเงินอุดหนุน

1.6 หมวดรายจ่ายอื่น

 

2. รายจ่ายเพื่อการลงทุนประกอบด้วย หมวดค่าครุภัณฑ์ที่ดินและสิ่งก่อสร้าง

รายละเอียดประเภทรายจ่ายงบกลาง หมวดรายจ่ายต่างๆ และเงินนอกงบประมาณกำหนดไว้ตามบัญชีการจำแนกประเภทรายรับรายจ่าย ให้เป็นไปตามที่เมืองพัทยากำหนด โดยการตั้งงบประมาณรายจ่ายเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายของเมืองพัทยาให้กระทำตามที่มีกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่ง หรือหนังสือสั่งการกระทรวงมหาดไทยกำหนด

 

รายรับ –  รายจ่ายของเมืองพัทยา   ปี พ.. 2549 –  2553

รายการ

ปี 2549

ปี 2550

ปี 2551

ปี 2552

ปี 2553

รายรับ

2,870,752,811.23

2,947,388,285.09

2,897,546,492.16

2,606,043,677.69

2,672,409,112.86

รายจ่าย

2,681,217,200.10

2,686,220,354.55

2,636,214,408.76

2,536,955,768.35

2,475,409,553.12

รายรับมาก

กว่ารายจ่าย

189,535,611.13

261,167,930.54

261,332,083.40

69,087,909.34

196,999,559.74

ที่มา สำนักการคลังเมืองพัทยา

Comments are closed.