ยุทธศาสตร์ วิสัยทัศน์ และพันธกิจ
ยุทธศาสตร์ วิสัยทัศน์ และพันธกิจ
วิสัยทัศน์เมืองพัทยา “นครศูนย์กลางเศรษฐกิจการท่องเที่ยวที่มีมาตรฐาน ยั่งยืนและน่าอยู่สำหรับทุกคน”
พันธกิจ (Mission)
๑.พัฒนาเมืองน่าอยู่และยั่งยืนครอบคลุมทั้งเศรษฐกิจ สังคม โครงสร้างพื้นฐาน และสิ่งแวดล้อม
๒.เสริมสร้างขีดความสามารถของเมืองพัทยาสู่การเป็นเมืองเศรษฐกิจการท่องเที่ยวที่มีมาตรฐาน และเป็น ศูนย์กลางการเชื่อมโยงในภูมิภาค
๓.พัฒนาศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ และคุณภาพชีวิตของประชากรโดยการมีส่วนร่วม และเป็นธรรม
วัตถุประสงค์ (Objective)
๑.เพื่อสร้างความพึงพอใจในด้านมาตรฐานและความปลอดภัยของเมือง เพื่อดึงดูดผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจจากนักท่องเที่ยว ผู้มาเยือน และนักลงทุน เข้าสู่พื้นที่เมืองพัทยาอย่างต่อเนื่อง
๒.เพื่อให้เมืองพัทยามีการพัฒนาที่ยั่งยืน มีความสมดุล และสอดคล้องกับความต้องการของทุกภาคส่วน
๓.เพื่อเตรียมความพร้อมของเมืองพัทยาในทุกมิติให้สามารถเป็นเมืองศูนย์กลางการพัฒนาพื้นที่ภาค ตะวันออกของประเทศไทย และเป็นแหล่งดึงดูดนักท่องเที่ยว และการลงทุนในระดับ World class
๔.เพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในพื้นที่เมืองพัทยาให้เป็นบุคลากรที่มีคุณภาพสูงสามารถเข้าเป็นส่วนหนึ่งของ กระบวนการพัฒนาที่ยั่งยืน มีคุณภาพชีวิตที่ดี รายได้และการดำรงชีวิตที่มั่นคง ได้รับการกระจาย ผลประโยชน์อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม
๕.เพื่อพัฒนาองค์กรเมืองพัทยาสู่การเป็นองค์กรประสิทธิภาพสูง (High performance organization) สามารถบริหารจัดการและดูแลมหานครขนาดใหญ่ที่เป็นศูนย์กลางภาคตะวันออก และรองรับนักท่องเที่ยว ผู้มาเยือน ในปริมาณมากและหลากหลายวัฒนธรรมความต้องการ
เป้าประสงค์ (Goal)
๑.ประชากร ผู้มาเยือน นักท่องเที่ยว นักลงทุน ได้รับความสะดวกสบาย ความเชื่อมั่นต่อความปลอดภัย สาธารณูปโภค สาธารณูปการ และสิ่งแวดล้อมที่มีคุณภาพของเมืองพัทยา
๒.เมืองพัทยามีการพัฒนาที่ยั่งยืน 2.1 หน่วยงาน องค์กร สถาบัน ท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องมีการบูรณาการการพัฒนาเชิงพื้นที่ และพื้นที่ เชื่อมโยง 2.2 มีกระบวนการมีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางการพัฒนา และการกำกับติดตามการพัฒนาอย่าง เข้มข้น
๓.พัทยาเป็นเมืองศูนย์กลางภูมิภาค
๔.พัทยาเป็นเมืองเศรษฐกิจการท่องเที่ยวที่มีมาตรฐานสากล
๕.ประชากรทุกคนในเมืองพัทยา และที่เกี่ยวข้องทุกคนมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้รับการพัฒนาศักยภาพอย่าง ต่อเนื่องเพื่อสนับสนุนการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน และเป็นธรรม
๖.เมืองพัทยาเป็นองค์กรที่มีประสิทธิภาพสูง (High performance organization)
ยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนา
ยุทธศาสตร์ที่ ๑ เสริมสร้างศักยภาพการรองรับอย่างยั่งยืนของพัทยามหานครสู่การเป็นเมืองน่าอยู่ของทุกคน (Customer)
แนวทางการพัฒนา/กลยุทธ์
๑.๑ สร้างเสริมโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นต่อการพัฒนา และการเติบโตของเมือง
๑.๒ พัฒนาศักยภาพการรองรับปริมาณการจราจรในอนาคต
๑.๓ เสริมสร้างความเชื่อมั่นด้านความปลอดภัย และความสงบเรียบร้อยในทุกด้าน
๑.๔ พัฒนาความสามารถในการจัดการมลพิษ หรือผลกระทบของการพัฒนาเมืองและการท่องเที่ยว(น้ำเสีย ขยะ อากาศ ทัศนียภาพ)
๑.๕ ขยายศักยภาพการรองรับ (Carrying capacity) การท่องเที่ยวของแหล่งท่องเที่ยว
๑.๖ เสริมสร้างความเข้มแข็งของกระบวนการมีส่วนร่วม ในการวางแผนการพัฒนาเมืองและการผังเมือง
ยุทธศาสตร์ที่ ๒ พัฒนาสู่การเป็นเมืองเศรษฐกิจการท่องเที่ยวระดับโลก และมหานครศูนย์กลางภูมิภาค(Innovation)
แนวทางการพัฒนา/กลยุทธ์
๒.๑ เร่งรัดการพัฒนาเมืองพัทยาสู่การเป็น Smart city พร้อมกับการเป็น Low carbon society
๒.๒ สร้างพลวัตรกิจกรรม และสถานที่ท่องเที่ยวที่ให้ประสบการณ์แปลกใหม่ หลากหลาย
๒.๓ ส่งเสริมการจัดกิจกรรมนันทนาการ และกีฬาทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ
๒.๔ เสริมสร้างภาพลักษณ์เมืองพัทยาในฐานะแหล่งท่องเที่ยว สถานที่รองรับการจัดประชุมสัมมนา ที่พักอาศัย ศูนย์กลางด้านการแพทย์ หรือแหล่งลงทุนระดับ World class
๒.๕ สื่อสารสาธารณะสู่สังคมไทย เพื่อสร้างทัศนคติที่ถูกต้องของความสำคัญของเมืองพัทยา
ยุทธศาสตร์ที่ ๓ พัฒนาศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ และเสริมสร้างคุณภาพชีวิตประชากรอย่างต่อเนื่อง(Human/Social Capital)
แนวทางการพัฒนา/กลยุทธ์
๓.๑ ส่งเสริมรูปแบบการศึกษาของเยาวชนให้สอดคล้องต่อทิศทางการพัฒนา
๓.๒ พัฒนาคุณภาพชีวิต ศักยภาพ เสริมสร้างโอกาสในการประกอบอาชีพ พัฒนาฝีมือ กระจายรายได้ความเป็นธรรมสู่ประชากรพัทยาทุกช่วงวัย
๓.๓ เสริมสร้างสุขภาพของประชาชน นักท่องเที่ยว และเสริมสร้างสุขภาวะที่ดีของพื้นที่
๓.๔ คุ้มครอง ป้องกัน ประชาชน และนักท่องเที่ยวจากปัญหาโรคระบาด โรคอุบัติใหม่ โรคอุบัติซ้ำ
๓.๕ เสริมสร้างความเข้มแข็งของระบบคุ้มครองผู้บริโภค
๓.๖ สนับสนุนการรวมกลุ่ม บทบาท และกระบวนการมีส่วนร่วม ชุมชน ชมรม สมาคม องค์กรเครือข่าย ในการร่วมพัฒนา และจัดการปัญหา
๓.๗ ส่งเสริม อนุรักษ์ ขนบธรรมเนียม ประเพณี ศาสนา วัฒนธรรม ความรักความผูกพันต่อเมืองพัทยา จิตสำนึก บทบาท หน้าที่พลเมือง
๓.๘ เพิ่มประสิทธิภาพ ระบบการให้บริการและควบคุ้มป้องกันโรคระบาดอันตรายจากสัตว์เลี้ยงและสัตว์จรจัด
ยุทธศาสตร์ที่ ๔ เสริมสร้างการบูรณาการการพัฒนากับหน่วยงาน องค์กร และท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง(Internal process)
แนวทางการพัฒนา/กลยุทธ์
๔.๑ เสริมสร้างความเข้มแข็งในการร่วมมือกับหน่วยงานราชการส่วนกลาง องค์กรที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาทั้งภายในและภายนอกประเทศ (ความร่วมมือระหว่างเมือง เมืองพัทยากับราชการส่วนกลาง เมืองพัทยากับองค์กร/บรรษัทขนาดใหญ่เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน เมืองพัทยากับองค์กรระหว่างประเทศ ฯลฯ)
๔.๒ เสริมสร้างความเข้มแข็งของ “พัทยาทีม” สู่การบูรณาการการจัดการเชิงพื้นที่เต็มรูปแบบ (Areabased management)
๔.๓ ประสานงาน และหนุนเสริมการพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเชื่อมโยง ผ่านโครงสร้าง อพท.
ยุทธศาสตร์ที่ ๕ เสริมสร้างศักยภาพองค์กรสู่การบริหารจัดการเมืองระดับมหานคร และการเป็นศูนย์กลางภูมิภาค (Internal process)
แนวทางการพัฒนา/กลยุทธ์
๕.๑ ปรับปรุงโครงสร้าง อัตรากำลัง บทบาทหน้าที่ และความเป็นอิสระของเมืองพัทยาให้เหมาะสมกับการจัดการมหานคร
๕.๒ พัฒนาศักยภาพในการจัดเก็บ จัดหารายได้ให้เพียงพอต่อการบริหารเมือง (ด้านการลงทุน ลงทุนร่วมกับเอกชน เพิ่มประสิทธิภาพ/ช่องทางการจัดเก็บ ประชากรแฝง การจดทะเบียนกิจการ)
๕.๓ เสริมสร้างประสิทธิภาพการให้บริการของเมืองพัทยาอย่างต่อเนื่อง
๕.๔ พัฒนาสมรรถนะบุคลากรของเมืองพัทยาอย่างต่อเนื่อง (เช่น ด้านภาษา กฎหมาย ตรวจติดตามกำกับโครงการ สิ่งแวดล้อม/มลพิษ ประชาสัมพันธ์ สื่อสารสาธารณะ เจรจาต่อรอง ฯลฯ)
๕.๕ พัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรเมืองพัทยาให้เกิดความสมดุล (Work life balance)
๕.๖ พัฒนากลไกการติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ และการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล (Good governance)
๕.๗ สร้างความเข้มแข็งในการเก็บข้อมูล สถิติ การวิจัยสนับสนุนการบริหารจัดการเมือง