สำนักคลัง
ภาระหน้าที่และกิจกรรม
พันธกิจ
กองคลังมีอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับการเงิน การคลัง การบัญชีของเมืองพัทยา ตลอดจนการรับจ่ายเงินอุดหนุนจากรัฐบาลตามโครงการต่างๆ การดำเนินการเกี่ยวกับเงินสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ต่างๆแก่พนักงานเมืองพัทยา รวมทั้งการตรวจสอบเกี่ยวกับการขอรับและเบิกจ่ายบำเหน็จบำนาญของพนักงานเมืองพัทยาและลูกจ้างประจำ และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
หัวหน้าหน่วยงาน/โครงสร้างหน่วยงาน
ผู้อำนวยการสำนักคลังนางปุญชรัศมิ์ สุพิพัฒนโมลี |
|||
ส่วนบริหารงานทั่วไป |
|||
รก.หัวหน้าฝ่ายบริหารงานทั่วไปนางสาวนาถนภา นิธิกรชานนก์ |
|||
ส่วนบริหารการคลัง |
|||
ผู้อำนวยการส่วนบริหารการคลังนางสาวสุกาญจนาฏ เพ็ชรบุรี |
หัวหน้าฝ่ายบริหารสัญญานางสาววณิชฌา นิติธรรม |
หัวหน้าฝ่ายการเงินและบัญชีนางสาวสุพัตรา ใจวงค์ |
|
ส่วนพัฒนารายได้ |
|||
ผู้อำนวยการส่วนพัฒนารายได้นางชัญญา สีหราช |
หัวหน้าฝ่ายแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สินนางสาวนันท์ณภัส ภู่จีน |
รก.หัวหน้าฝ่ายพัฒนารายได้นางบุญฑิฎา ทองแย้ม |
หัวหน้าฝ่ายเร่งรัดและจัดเก็บรายได้นางสาวสมฤทัย ทองคำ |
บริการ
มีอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับการเงิน การคลัง การบัญชีของเมืองพัทยา ตลอดจนการรับจ่ายเงินอุดหนุนจากรัฐบาลตามโครงการต่างๆ การดำเนินการเกี่ยวกับเงินสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ต่างๆแก่พนักงานเมืองพัทยา รวมทั้งการตรวจสอบเกี่ยวกับการขอรับและเบิกจ่ายบำเหน็จบำนาญของพนักงานเมืองพัทยาและลูกจ้างประจำ การศึกษา วิเคราะห์ กำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการเกี่ยวกับการจัดเก็บรายได้ทุกชนิด จัดทำประมาณการรายรับประจำปีแจ้งประเมินภาษี รับชำระภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีบำรุงท้องที่ ภาษีป้าย ค่าธรรมเนียมต่างๆ และรายได้อื่นๆ ของเมืองพัทยา ติดตามเร่งรัดภาษีค้างชำระ การขอปลด ขอลดค่าภาษี การอุทธรณ์ภาษี ตลอดจนการผ่อนชำระภาษี การยึดและการขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ค้างชำระภาษี ดูแลรักษาและจัดหาผลประโยชน์จากการใช้ที่สาธารณะ ท่าเทียบเรือ ทรัพย์สินของเมืองพัทยา รับชำระและติดตามเร่งรัดค่าเช่าทรัพย์สินค่าเช่าที่สาธารณะเพื่อบริการที่จอดยานยนต์และเก็บค่าธรรมเนียมจอดยานยนต์เป็นรายได้ของเมืองพัทยา งานจดทะเบียนพาณิชย์ รับรองอาคารและสิ่งปลูกสร้าง ศึกษาวิเคราะห์เพื่อหาแนวทางให้เมืองพัทยาได้รับจัดสรรรายได้เพิ่มจากส่วนที่รัฐบาลจัดสรรให้กับท้องถิ่นในสัดส่วนที่เหมาะสมและสอดคล้องกับภาระหน้าที่ และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
สำนักกองคลัง แบ่งโครงสร้างการบริการ ออกเป็น ส่วนรายได้ และ ส่วนงานบริการ แบ่งการบริการ
ออกเป็น 2 ส่วน คือ
1. ฝ่ายแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สิน แบ่งส่วนงานบริการย่อย ออกเป็น
-
-
- งานแผนที่ภาษี
-
- งานบริการข้อมูลแผนที่
- งานทะเบียนพาณิชย์
-
2. ฝ่ายพัฒนารายได้ แบ่งส่วนงานบริการย่อย ออกเป็น
-
-
- งานจัดเก็บรายได้
-
- งานเร่งรัดรายได้
- งานจัดหาประโยชน์จากทรัพย์สิน
-
– บริการด้านภาษี (ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีบำรุงท้องที่ ภาษีป้าย) เจ้าของทรัพย์สินจะต้องยื่นแบบแจ้งรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน (ภ.ร.ด.2) ภายในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี
ภาษีโรงเรือนและที่ดิน – กรณีแจ้งใหม่
ภาษีโรงเรียนและที่ดิน คือ ภาษีที่จัดเก็บจากโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอื่นๆ กับที่ดินซึ่งใช้ต่อเนื่องกับโรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างนั้น
ทรัพย์สินที่ต้องเสียภาษี
ประเภททรัพย์สินที่ต้องเสียภาษี ได้แก่ อาคาร โรงเรือน สิ่งปลูกสร้างต่างๆ กับที่ดินต่อเนื่องซึ่งได้ปลูกสร้างอาคารโรงเรือนสิ่งปลูกสร้างนั้นๆ รวมถึงบริเวณที่ต่อเนื่องกันซึ่งตามปกติใช้ประโยชน์ไปด้วยกันกับอาคาร โรงเรือน สิ่งปลูกสร้างนั้นๆ ซึ่งเจ้าของกรรมสิทธิ์ได้นำทรัพย์สินดังกล่าวออกหาผลประโยชน์ตอบแทนนอกเหนือจากการอยู่อาศัยของตนเองโดยปกติหรือให้ผู้อื่นนำไปใช้ประโยชน์ไม่ว่าจะมีค่าตอบแทนหรือไม่ก็ตาม เช่น ให้เช่า, ใช้เป็นที่ค้าขาย, ไว้สินค้าที่ประกอบอุตสาหกรรม ให้ญาติหรือผู้อื่นอาศัยหรือใช้ประกอบกิจการอื่นๆ เพื่อหารายได้
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีโรงเรือน และที่ดิน
ผู้มีหน้าที่เสียภาษี คือ “ผู้รับประเมิน” ซึ่งหมายถึงเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน (เจ้าของทรัพย์สิน) ที่ต้องเสียภาษีเว้นแต่ถ้าที่ดิน และอาคาร โรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างต่างๆ เป็นคนละเจ้าของกัน ให้เจ้าของกรรมสิทธิ์ในอาคารโรงเรือนสิ่งปลูกสร้างต่างๆ เป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษี
ฐานภาษี
ฐานภาษี คือค่ารายปีของทรัพย์สิน หมายถึง จำนวนเงินซึ่งทรัพย์สินนั้นสมควรให้เช่าได้ในปีหนึ่งๆ ในกรณีที่ทรัพย์สินนั้นให้เช่า และค่าเช่านั้นเป็นจำนวนเงินอันสมควรที่จะให้เช่าได้ให้ถือค่าเช่านั้นเป็นค่ารายปี แต่ถ้าเป็นกรณีที่ไม่มีค่าเช่าเนื่องจากเจ้าของทรัพย์สินดำเนินกิจการเอง หรือด้วยเหตุผลอื่นๆ ให้พิจารณากำหนดค่ารายปีโดยเทียบเคียงกับค่ารายปีของทรัพย์สินที่ให้เช่าที่มีลักษณะตามขนาด พื้นที่ทำเลที่ตั้ง และบริการสาธารณะ ซึ่งทรัพย์สินนั้นได้รับประโยชน์คล้ายคลึงกัน
เอกสารที่ใช้ในการติดต่อ
1. สำเนาทะเบียนบ้าน
2. บัตรประจำตัวประชาชน
3. สำเนาทะเบียนพาณิชย์ (กรณีประกอบการค้า)
4. แผนที่ตั้งพอสังเขป
5. หนังสือมอบอำนาจ (กรณีไม่สามารถมาติดต่อด้วยตนเอง)
6. สำเนาเอกสารสิทธิ์ที่ดิน
ข้อควรปฏิบัติ
- เตรียมเอกสารให้พร้อม
2. โทรศัพท์มาสอบถามข้อสงสัยก่อนเดินทางมา
3. สำรองเงินสดสำหรับจ่ายกรณีมีค่าปรับหรือค่าธรรมเนียม
หมายเหตุ
การอุทธรณ์ภาษี
เมื่อผู้มีหน้าที่เสียภาษี หรือเจ้าของโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างนั้นได้รับแจ้งการประเมินแล้วไม่พอใจในการประเมินของพนักงานเจ้าหน้าที่โดยเห็นว่าค่าภาษีสูงเกินไปหรือประเมินไม่ถูกต้อง ก็มีสิทธิ์ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ต่อผู้บริการเมืองพัทยา โดยกรอกใบตามแบบพิมพ์ (ภ.ร.ด. 9) และยื่นแบบดังกล่าว ณ สำนักการคลัง เมืองพัทยา ภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน หากพ้นกำหนดดังกล่าวแล้ว ผู้รับประเมินหมดสิทธิ์ที่จะให้พิจารณาการประเมินใหม่และไม่มีสิทธิ์นำคดีขึ้นสู่ศาล
บทกำหนดโทษ
ผู้ใดละเลยไม่ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีภายในกำหนด (เดือนมกราคม – กุมภาพันธ์ ของทุกปี) ผู้นั้นจะมีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 200 บาท และพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจประเมินย้อนหลังได้ไม่เกิน 10 ปี ผู้ใดยื่นแบบแสดงรายการไม่ถูกต้องตามความจริงหรือไม่บริบูรณ์ มีความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 500 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และเรียกเก็บภาษีย้อนหลังได้ไม่เกิน 5 ปี ภาษีป้าย
ภาษีโรงเรือนและที่ดิน – กรณีปกติ
เอกสารที่ใช้ในการติดต่อ
1. สำเนาทะเบียนบ้าน
2. บัตรประจำตัวประชาชน
3. สำเนาทะเบียนพาณิชย์ (กรณีประกอบการค้า)
4. แผนที่ตั้งพอสังเขป
5. หนังสือมอบอำนาจ (กรณีไม่สามารถมาติดต่อด้วยตนเอง)
6. สำเนาเอกสารสิทธิ์ที่ดิน
ข้อควรปฏิบัติ
-
-
- เตรียมเอกสารให้พร้อม
-
- โทรศัพท์มาสอบถามข้อสงสัยก่อนเดินทางมา
- สำรองเงินสดสำหรับจ่ายกรณีมีค่าปรับหรือค่าธรรมเนียม
-
หมายเหตุ
-
- เจ้าของทรัพย์สินจะต้องยื่นแบบแจ้งรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน (ภ.ร.ด.2) ภายในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปีการขอผ่อนชำระภาษี
ผู้มีสิทธิ์ผ่อนชำระภาษีให้ผ่อนได้ 3 งวด งวดละเท่าๆ กัน โดยไม่ต้องเสียเงินเพิ่ม ซึ่งมีเงื่อนไขดังนี้
-
-
- ผู้มีหน้าที่เสียภาษีจะขอผ่อนชำระค่าภาษีได้โดยวงเงินค่าภาษีที่ขอผ่อนชำระนั้น มีจำนวนเงินค่าภาษีตั้งแต่ 9,000 บาทขึ้นไป
-
- ได้ยื่นแบบพิมพ์เพื่อแจ้งรายการทรัพย์สินต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ภายในเดือนมกราคม – กุมภาพันธ์ ของปีนั้น
-
- ได้แจ้งความจำนงขอผ่อนชำระค่าภาษี เป็นหนังสือต่อพนักงานเก็บภาษีภายใน 30 วันหลังจากวันที่ได้รับแจ้งการประเมิน
-
- เงินเพิ่มค่าภาษีค้างชำระให้เพิ่มจำนวนอัตราต่อไปนี้
4.1) ไม่เกิน 1 เดือน เสียเพิ่ม 2.5%
4.2) เกิน 1 เดือน แต่ไม่เกิน 2 เดือน เพิ่ม 5%
4.3) เกิน 2 เดือน แต่ไม่เกิน 3 เดือน เพิ่ม 7.5%
4.4) เกิน 3 เดือน แต่ไม่เกิน 4 เดือน เพิ่ม 10%
4.5) เกิน 4 เดือนขึ้นไป ให้ยึดอายัด หรือขายทอดตลาดทรัพย์สิน โดยมิต้องขอให้ศาลสั่งหรือออกหมายยึด
- เงินเพิ่มค่าภาษีค้างชำระให้เพิ่มจำนวนอัตราต่อไปนี้
- ถ้ามิได้มีการชำระค่าภาษี และเงินเพิ่มภายในที่กฎหมายกำหนดเมืองพัทยา มีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือให้ ยึด อายัด หรือขายทอดตลาดทรัพย์สิน ของผู้ซึ่งค้างชำระค่าภาษีได้ตามระเบียบเมืองพัทยา ว่าด้วยการยึด อายัด และขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ซึ่งค้างชำระภาษี พ.ศ. 2547
-
ภาษีบำรุงท้องที่ – กรณีชำระตามปกติ
เอกสารที่ใช้ในการติดต่อ
- ใบเสร็จรับเงินของปีที่ผ่านมา
** เนื่องจากใบเสร็จ สามารถอ้างอิงการสืบค้นข้อมูลจากฐานข้อมูล เพื่อความรวดเร็วและสะดวกของการบริการ
ข้อควรปฏิบัติ
-
-
- เตรียมเอกสารให้พร้อม
-
- โทรศัพท์มาสอบถามข้อสงสัยก่อนเดินทางมา
- สำรองเงินสดสำหรับจ่ายกรณีมีค่าปรับหรือค่าธรรมเนียม
-
ภาษีป้าย – กรณีป้ายใหม่
“ป้าย” หมายความว่า ป้ายแสดงชื่อ ยี่ห้อ หรือเครื่องหมายที่ใช้ในการประกอบการค้า หรือประกอบกิจการเพื่อหารายได้หรือโฆษณาการค้าหรือกิจการอื่นเพื่อหารายได้ ไม่ว่าจะได้แสดงหรือโฆษณาไว้ที่วัตถุใดๆ ด้วยอักษรภาพหรือเครื่องหมายที่เขียนแกะสลัก จารึก หรือทำให้ปรากฏด้วยวิธีอื่น
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้าย : เจ้าของป้าย
ในกรณีที่ไม่มีผู้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย หรือเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ไม่อาจหาตัวเจ้าของป้ายได้ ให้ถือว่าผู้ครอบครองป้ายเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้ายถ้าไม่อาจหาตัวผู้ครอบครองป้ายนั้นได้ให้ถือว่าเจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือที่ดินที่ป้ายนั้นติดตั้งหรือแสดงอยู่เป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้ายตามลำดับ
กำหนดระยะเวลาให้ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีป้าย
ให้เจ้าของป้ายซึ่งจะต้องเสียภาษีป้ายยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย (ภ.ป.1) ภายในเดือนมกราคม – มีนาคม ของทุกปี ในกรณีติดตั้งหรือแสดงป้ายภายหลังเดือนมีนาคม หรือติดตั้ง หรือแสดงป้ายใหม่แทนป้ายเดิม หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไข ป้ายอันเป็นเหตุให้ต้องเสียภาษีป้ายเพิ่มขึ้น ให้เจ้าของป้ายยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายภายใน 15 วัน นับแต่วันติดตั้ง หรือแสดงป้าย หรือนับแต่วันเปลี่ยนแปลงแก้ไขแล้วแต่กรณี
ให้เจ้าของป้ายมีหน้าที่เสียภาษีป้ายโดยเสียเป็นรายปี ยกเว้นป้ายที่เริ่มติดตั้ง หรือแสดงในปีแรกให้เสียภาษีป้ายตั้งแต่วันเริ่มติดตั้ง หรือแสดงในปีแรกให้เสียภาษีป้ายตั้งแต่วันเริ่มติดตั้ง หรือแสดงจนถึงวันสิ้นปี และให้คิดภาษีป้ายเป็นรายงวด งวดละ 3 เดือนของปี โดยเริ่มเสียภาษีป้ายตั้งแต่งวดที่ติดตั้งป้ายจนถึงงวดสุดท้ายของปี (กรณีป้ายที่ติดตั้งใหม่)
ในกรณีที่เจ้าของป้ายอยู่นอกประเทศไทย ให้ตัวแทนหรือผู้แทนในประเทศไทยมีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายแทนเจ้าของป้าย ถ้าเจ้าของป้ายตายเป็นผู้ไม่อยู่ เป็นคนสาบสูญ เป็นคนไร้ความสามารถ หรือเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ ให้ผู้จัดการมรดก ผู้ครอบครองทรัพย์มรดกไม่ว่าจะเป็นทายาทหรือผู้อื่น ผู้จัดการทรัพย์สินผู้อนุบาลหรือผู้พิทักษ์แล้วแต่กรณีมีหน้าที่ปฏิบัติการแทนเจ้าของป้าย
หลักเกณท์ที่ เจ้าของป้ายควรทราบ
1. ติดตั้งหรือแสดงป้ายอันต้องเสียภาษีภายหลังเดือนมีนาคมให้เสียเป็นรายงวดนับแต่งวดที่ติดตั้งจนถึงสิ้นปีนั้น
2. ติดตั้งหรือแสดงป้ายใหม่แทนป้ายเดิมที่ชำรุดซึ่งมีพื้นที่ข้อความ ภาพ และเครื่องหมายอย่างเดียวกับป้ายเดิม ที่ได้เสียภาษีป้ายไว้แล้ว
3. เปลี่ยนแปลงแก้ไขพื้นที่ป้าย ข้อความ ภาพ หรือ เครื่องหมายบางส่วนในป้ายที่ได้เสียภาษีป้ายแล้ว อันเป็นเหตุให้ต้องเสียภาษีป้ายเพิ่มป้ายที่เพิ่มข้อความต้องชำระตามประเภทป้าย เฉพาะส่วนที่เพิ่ม ส่วนป้ายที่ลดขนาดจะไม่คืนเงินภาษี แต่หากเปลี่ยนขนาดป้ายต้องชำระภาษีอากรใหม่ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ติดตั้งหรือแสดงป้าย
ฐานภาษีและอัตราภาษี คือ เนื้อที่ของป้าย และประเภทของป้ายรวมกัน
- ป้ายที่มีขอบเขตกำหนดให้ การคำนวณพื้นที่ป้าย
– ส่วนที่กว้างที่สุด คูณ ส่วนที่ยาวที่สุด ของขอบเขตป้าย
ป้ายที่ไม่มีขอบเขตกำหนดให้ ถือตัวอักษร ภาพ หรือเครื่องหมายที่อยู่ริมสุดเป็นขอบเขตเพื่อกำหนดส่วนที่กว้างที่สุด และยาวที่สุด แล้วคำนวณตามข้างต้น คำนวณพื้นที่เป็นตารางเซนติเมตร
– เศษของ 500 ตารางเซนติเมตร ถ้าเกินครึ่งให้นับเป็น 500 ตารางเซนติเมตร ถ้าต่ำกว่าปัดทิ้ง (250 ต.ซม. ลงมา)
ให้เจ้าของป้ายยื่นแบบเสียภาษี พร้อมสำเนาหลักฐาน และลงลายมือชื่อรับรองความถูกต้อง ได้แก่
เอกสารที่ใช้ในการติดต่อ
ให้เจ้าของป้ายยื่นแบบเสียภาษี พร้อมสำเนาหลักฐาน และลงลายมือชื่อรับรองความถูกต้อง
1. ใบเสร็จรับเงินค่าทำป้าย
**กรณี ป้าย Cut Out ขนาดใหญ่ ที่การติดตั้งบนอาคาร หรือ ตึก ต้องนำใบขออนุญาตก่อสร้างอาคาร ที่ออกโดย สำนักช่าง แนบมาด้วย
2. สำเนาทะเบียนบ้าน
3. บัตรประจำตัวประชาชน / บัตรข้าราชการ
4. บัตรพนักงานรัฐวิสาหกิจ – บัตรประจำตัวผู้เสียภาษี
5. กรณีเจ้าของป้ายเป็นนิติบุคคล ให้แนบหนังสือรับรอง สำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท ทะเบียนพาณิชย์และหลักฐานของสรรพากร เช่น ภ.พ. 01, ภ.พ.09, ภ.พ.20
6. หนังสือมอบอำนาจ (กรณีไม่สามารถยื่นแบบได้ด้วยตนเอง พร้อมติดอากรแสตมป์ตามกฎหมาย)
7. หลักฐานอื่นๆ ตามที่เจ้าหน้าที่ให้คำแนะนำ
8. ลงลายมือชื่อในสำเนาทุกฉบับเพื่อรับรองความถูกต้อง
หมายเหตุ
** กรณีขึ้นป้ายกลางปี เสียค่าภาษี 50%
-
-
- ผู้เป็นเจ้าของป้ายต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย(ภ.ป.1)ภายในวันที่31 มีนาคมของทุกปี
- อัตราภาษีป้าย
-
อัตราภาษีป้าย (ต่อ 500 ตารางเซนติเมตร) |
|
ประเภทป้าย |
อัตรา บาท / 500 ต.ร.ซม. |
1. อักษรไทยล้วน |
3 |
2. อักษรไทยปนกับอักษรต่างประเทศ / ภาพ / เครื่องหมายอื่น |
20 |
3. ป้ายดังต่อไปนี้– ไม่มีอักษรไทยไม่ว่าจะมีภาพหรือเครื่องหมาย
– อักษรไทยบางส่วน หรือทั้งหมดอยู่ใต้ หรือต่ำกว่าอักษรต่างประเทศ |
40 |
4. ป้ายที่เปลี่ยนแปลงแก้ไขพื้นที่ป้าย ข้อความ ภาพ หรือเครื่องหมาย บางส่วนในป้ายได้เสียภาษีป้ายแล้วอันเป็นเหตุให้ต้องเสียภาษีป้ายเพิ่มขึ้นให้คิดอัตราตาม 1, 2 หรือ 3 แล้วแต่กรณี และให้เสียเฉพาะเงินภาษีที่เพิ่มขึ้น | |
5. ป้ายใดเมื่อคำนวณแล้วจำนวนเงินต่ำกว่า 200 บาท ให้เสีย 200 บาท |
3.การคำนวณภาษีป้าย
ให้คำนวณโดยนำพื้นที่ป้ายคูณด้วยอัตราภาษีป้าย เช่น ป้ายที่ต้องเสียภาษีมีพื้นที่ 10,000 ตารางเซนติเมตร เป็นป้าย ประเภทที่ 2 ป้ายนี้เสียภาษีดังนี้ (10,000 หาร 500) คูณ 20 = 400 บาท
- 2. ขั้นตอนการยื่นแบบเสียภาษีป้าย
ให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้ายสามารถขอรับแบบแสดงรายการภาษีป้าย (ภ.ป.1) กรอกรายการแบบ ภ.ป.1 ตามความเป็นจริงให้ครบถ้วน ลงลายมือชื่อของตนพร้อมวัน เดือน ปี ทั้งนี้จะนำส่งด้วยตนเองมอบหมายให้ผู้อื่นไปส่งแทน หรือส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนก็ได้ ภายในเดือน มกราคม – มีนาคม ของทุกปี
ภาษีป้าย – กรณีป้ายเดิม
กรณีป้ายเก่า
ให้เจ้าของป้ายยื่นแบบเสียภาษีป้าย (ภ.ป.1) พร้อมใบเสร็จรับเงินการเสียภาษีครั้งสุดท้าย กรณีเจ้าของป้ายเป็นนิติบุคคล ให้แนบหนังสือรับรองสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทพร้อมกับยื่นแบบ ภ.ป.1
- 1. การชำระภาษี
ผู้รับประเมินได้รับหนังสือแจ้งการประเมินภาษี (ภ.ป.3) ให้ชำระเงินภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน การชำระภาษีป้ายจะกระทำโดยการส่งธนาณัติ หรือตั๋วแลกเงินของธนาคารที่สั่งจ่ายแก่เมืองพัทยาก็ได้ โดยส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน และให้ถือว่าวันที่ได้ทำการส่งดังกล่าวเป็นวันชำระภาษีป้าย หรือชำระผ่านธนาคารก็ได้
- 2. การขอผ่อนชำระภาษี
ถ้าภาษีป้ายที่ต้องชำระมีจำนวนตั้งแต่สามพันบาทขึ้นไปผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้ายมีสิทธิ์ขอผ่อนชำระเป็นสามงวด งวดละเท่าๆกันก็ได้ โดยแจ้งความจำนงเป็นหนังสือให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบก่อนครบกำหนดเวลาชำระภาษี
- 3. เงินเพิ่ม
ให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้ายเสียเงินเพิ่มนอกจากเงินที่ต้องเสียภาษีป้ายในกรณี และอัตราดังนี้
1. ไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายภายในเวลาที่กำหนดให้เสียเงินเพิ่มร้อยละสิบ ของจำนวนเงินที่ต้องเสียภาษีป้าย เว้นแต่กรณีที่เจ้าของป้ายได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายก่อนที่พนักงานเจ้าหน้าที่จะได้แจ้งให้ทราบถึงการละเว้นนั้น ให้เสียเงินเพิ่มร้อยละห้าของจำนวนเงินที่ต้องเสียภาษีป้าย
2. ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายโดยไม่ถูกต้องทำให้จำนวนเงินที่จะต้องเสียภาษีลดน้อยลง ให้เสียเงินเพิ่มร้อยละสิบของภาษีป้ายที่ประเมินเพิ่มเติมเว้นแต่กรณีที่เจ้าของป้ายได้มาขอแก้ไขแบบแสดงรายการภาษีป้ายให้ถูกต้อง ก่อนที่พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งการประเมิน
3. ไม่ชำระภาษีป้ายภายในเวลาที่กำหนด ให้เสียเงินเพิ่มร้อยละสองต่อเดือน ของจำนวนเงินที่ต้องเสียภาษีป้าย เศษของเดือนให้นับเป็นหนึ่งเดือน ทั้งนี้ไม่ให้นำเงินมาเพิ่ม ตาม ข้อ 1 และ ข้อ 2 มาคำนวณ
เอกสารที่ใช้ในการติดต่อ
1. สำเนาทะเบียนบ้าน
2. บัตรประจำตัวประชาชน / บัตรข้าราชการ
3. ใบเสร็จรับเงินของปีที่แล้ว (อ้างอิงข้อมูลจากระบบฐานข้อมูล ตามเลขที่เสียภาษี)
ข้อควรปฏิบัติ
-
-
- เตรียมเอกสารให้พร้อม
-
- โทรศัพท์มาสอบถามข้อสงสัยก่อนเดินทางมา
- สำรองเงินสดสำหรับจ่ายกรณีมีค่าปรับหรือค่าธรรมเนียม
-
หมายเหตุ
บทกำหนดโทษ
ผู้ใดรู้อยู่แล้วหรือจงใจแจ้งข้อความอันเป็นเท็จให้ถ้อยคำ ตอบคำถามด้วยถ้อยคำอันเป็นเท็จ หรือนำพยานหลักฐานเท็จมาแสดงเพื่อหลีกเลี่ยง หรือพยายามหลีกเลี่ยงการเสียภาษีป้ายต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับตั้งแต่ห้าพันบาทถึงห้าหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
ภาษีป้าย – กรณียกเลิกป้าย
งานแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สิน
งานจัดทำแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สิน ซึ่งมีหน้าที่สำรวจและจัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์อาคาร ที่ดิน ขนาดป้าย โดยมีเจ้าหน้าที่ทำการสำรวจข้อมูลภาคสนามให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง เพื่อใช้ในการวางแผนการจัดเก็บภาษีให้ทั่วถึงและเป็นธรรม ตลอดจนใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนพัฒนาเมืองพัทยาในด้านต่างๆ เพื่อให้เมืองพัทยาสามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและความเจริญก้าวหน้า เพื่อความอยู่ดีมีสุขของประชาชน
ภาษีบำรุงท้องที่
1.ที่ดินที่ต้องเสียภาษีบำรุงท้องที่
ที่ดินที่ต้องเสียภาษีได้แก่ พื้นที่ดินรวมไปถึงพื้นที่ ที่เป็นภูเขา หรือพื้นที่ที่มีน้ำด้วย
2. ผู้มีหน้าที่เสียภาษี
ผู้มีหน้าที่เสียภาษี คือ เจ้าของที่ดิน ซึ่งเป็นบุคคล หรือคณะบุคคล ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล ซึ่งมีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน หรือครบครองอยู่ในที่ดินที่ไม่เป็นกรรมสิทธิ์ของเอกชน เช่น ผู้เช่าที่ดินของรัฐ
3.ขั้นตอนการยื่นเสียภาษี
ให้เจ้าของที่ดินในวันที่ 1 มกราคมของปีใด มีหน้าที่เสียภาษีบำรุงท้องที่ในปีนั้นและยื่นแบบแสดงรายการที่ดิน (ภ.บ.ท.5) ต่อเจ้าพนักงานประเมินกำหนดระยะเวลาให้ยื่นแบบแสดงรายการ
1. ในปีแรกที่มีการตีราคาปานกลางของที่ดินให้เจ้าของที่ดินหรือผู้แทนยื่นแบบแสดงรายการที่ดิน (ภ.บ.ท.5) ภายในเดือนมกราคมของปี และให้ใช้ได้ทุกปีในรอบระยะเวลาสี่ปีนั้น
2. บุคคลใดเป็นเจ้าของที่ดินขึ้นใหม่ หรือจำนวนเนื้อที่ดินเดิมของเจ้าของที่ดินผู้ใดได้เปลี่ยนแปลงไป หรือเจ้าของที่ดินผู้ใดได้เปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน อันเป็นเหตุให้การลดหย่อนที่ดินเปลี่ยนแปลงไป หรือมีเหตุอย่างอื่นทำให้อัตราภาษีบำรุงท้องที่สำหรับที่ดินเปลี่ยนแปลงไป ให้เจ้าของที่ดินผู้นั้นแจ้งเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงดังกล่าวข้างต้นต่อเจ้าพนักงานประเมินภายในสามสิบวัน นับตั้งแต่วันที่มีเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงนั้นๆ
4. การขอลดหย่อนภาษี
– ให้ลดหย่อนภาษีบำรุงท้องที่บุคคลธรรมดาซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินแปลงเดียว หรือหลายแปลงที่อยู่ในเขตเมืองพัทยาและใช้ที่ดินนั้นเป็นที่อยู่อาศัยของตนเป็นที่เลี้ยงสัตว์ของตนหรือประกอบกสิกรรมของตนให้ลดหย่อนได้ไม่ต้องเสียภาษีบำรุงท้องที่จำนวน 1 งาน (100 ตารางวา)
– ที่ดินมีสิ่งปลูกสร้าง และใช้สิ่งปลูกสร้างนั้นเป็นสถานการค้า หรือให้เช่าไม่ได้รับการลดหย่อนสำหรับส่วนของที่ดินที่มีสิ่งปลูกสร้างที่ใช้เป็นสถานการค้าหรือให้เช่านั้น
– ในกรณีบุคคลธรรมดาหลายคนเป็นเจ้าของที่ดินร่วมกัน ให้ได้รับการลดหย่อนรวมกันตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในวรรคหนึ่ง
– การลดหย่อนตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้น ให้ได้รับการลดหย่อนสำหรับที่ดินที่อยู่ในจังหวัดใดจังหวัดหนึ่งแต่จังหวัดเดียว
– ที่ดินที่ใช้ในการเพาะปลูก ถ้าในปีล่วงมาแล้วการเพาะปลูกในบริเวณนั้นเสียหายมากผิดปกติ หรือทำการเพาะปลูกในบริเวณนั้นเสียหายมากผิดปกติ หรือทำการเพาะปลูกไม่ได้ด้วยเหตุอันพ้นวิสัยที่จะป้องกันได้โดยทั่วไปให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจพิจารณายกเว้น หรือลดภาษีบำรุงท้องที่ให้ได้ตามระเบียบที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด
– ที่ดินที่ใช้เป็นสุสาน และฌาปนสถานสาธารณะโดยมิได้รับประโยชน์ตอบแทนอาจได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีบำรุงท้องที่ได้เฉพาะที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง
5. การชำระภาษี
1. ในปีแรกที่มีการตีราคาปานกลางของที่ดิน ให้ยื่นแบบแสดงรายการที่ดิน (ภ.บ.ท.5) พร้อมสำเนาหลักฐานที่ใช้ประกอบการประเมินภายในเดือนมกราคมของปีนั้น และนำหลักฐานใบแจ้งการประเมิน (ภ.บ.ท.9) พร้อมชำระเงินภายในเดือนเมษายน กรณีได้รับแจ้งการประเมินหลังเดือนเมษายนให้ชำระภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน
2. กรณีอื่นๆ ให้ชำระภายในเดือนมกราคม – เมษายน
**กรณีที่ดินรายใหม่ หรือปีที่มีการตีราคาปานกลางให้เจ้าของที่ดินยื่นแบบเสียภาษีภายในเดือนมกราคมของปีที่มีการตีราคาปานกลางที่ดิน หรือทุกรอบระยะเวลา 4 ปี หรือภายใน 30 วัน กรณีที่ได้รับกรรมสิทธิ์ใหม่ หรือเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินใหม่ โดยยื่นแบบ ภ.บ.ท.5
กรณีผู้ชำระภาษีบำรุงท้องที่รายใหม่
เอกสารที่ใช้ในการติดต่อ
1. โฉนดที่ดิน
2. ทะเบียนบ้าน
3. บัตรประจำตัวประชาชน / บัตรข้าราชการ / บัตรพนักงานรัฐวิสาหกิจ / บัตรประจำตัวผู้เสียภาษี
4. กรณีเจ้าของที่ดินเป็นนิติบุคคลให้แนบหนังสือรับรองสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท
5. ใบเสร็จรับเงินการเสียภาษีครั้งสุดท้าย (ถ้ามี)
6. หนังสือมอบอำนาจฉบับจริง (กรณีไม่สามารถยื่นแบบได้ด้วยตนเอง พร้อมติดอากรแสตมป์ตามกฎหมาย)
** กรณีที่ดินรายเก่า ให้เจ้าของที่ดินชำระเงินค่าภาษีภายในเดือนเมษายน ของทุกปี และเพื่อความสะดวกรวดเร็วในการติดต่อ โปรดนำใบเสร็จรับเงินการเสียภาษีครั้งสุดท้ายมาแสดงด้วย
ข้อควรปฏิบัติ
-
-
- เตรียมเอกสารให้พร้อม
-
- โทรศัพท์มาสอบถามข้อสงสัยก่อนเดินทางมา
- สำรองเงินสดสำหรับจ่ายกรณีมีค่าปรับหรือค่าธรรมเนียม
-
หมายเหตุ
1. การขอผ่อนชำระภาษี
ถ้าภาษีบำรุงท้องที่ที่ต้องชำระมีจำนวนตั้งแต่ 3,000 บาทขึ้นไป ผู้มีหน้าที่เสียภาษีจะขอผ่อนชำระเป็นสามงวด งวดละเท่าๆ กันก็ได้ โดยแจ้งความจำนงเป็นหนังสือให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบก่อนกำหนดเวลาชำระภาษี และให้ชำระงวดที่หนึ่งก่อนครบกำหนดเวลาชำระภาษี งวดที่สองภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันสุดท้ายที่ต้องชำระงวดที่หนึ่ง งวดที่สามภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันสุดท้ายที่ต้องชำระงวดที่สอง
2. ค่าปรับ
1. ไม่ยื่นแบบภายในกำหนด เสียเงินเพิ่ม 10% ของ ค่าภาษี
2. ยื่นรายการไม่ถูกต้อง ค่าภาษีน้อยลง ต้องเสียเงินเพิ่ม 10% ของค่าภาษีที่ประเมินเพิ่มเติม
3. ชี้เขตแจ้งจำนวนเนื้อที่ดินไม่ถูกต้อง ค่าภาษีน้อยลงต้องเสียเงินเพิ่มอีก 1 เท่า ของค่าภาษีประเมิน เพิ่มเติม
4. ชำระภาษีเกินกำหนดวันที่ 30 เมษายน ต้องเสียเงินเพิ่ม 24% ต่อปีของค่าภาษี เศษของเดือนให้นับเป็นหนึ่งเดือนการชำระภาษีจะชำระโดยการส่งธนาณัติ ตั๋วแลกเงิน หรือเช็คที่ธนาคารรับรองทางไปรษณีย์ลงทะเบียนโดยสั่งจ่ายให้แก่ ผู้อำนวยการสำนักการคลัง ปลายทางที่ทำการไปรษณีย์บางละมุง 20150 โดยจ่าหน้าซองถึง สำนักการคลัง เมืองพัทยา ถ.พัทยาเหนือ ต.นาเกลือ อ.บางละมุง จ.ชลบุรี รหัสไปรษณีย์ 20150
3. บทกำหนดโทษ
– ผู้ใดโดยรู้อยู่แล้ว หรือโดยจงใจแจ้งข้อความอันเป็นเท็จให้ถ้อยคำเท็จตอบคำถามด้วยถ้อยคำอันเป็นเท็จ หรือนำพยานเท็จมาแสดงเพื่อหลีกเลี่ยง หรือพยายามหลีกเลี่ยงการเสียภาษีบำรุงท้องที่ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
– ผู้ใดจงใจไม่มา หรือไม่ยอมชี้เขต หรือไม่ยอมแจ้งจำนวนเนื้อที่ดิน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
– ผู้ใดขัดขวางเจ้าพนักงานซึ่งปฏิบัติตามมาตรา 28 มาตรา 40 หรือมาตรา 47 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
– ผู้ใดฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานซึ่งสั่งตามมาตรา 40 มาตรา 47 หรือมาตรา 50 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
– ความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ถ้านายอำเภอหรือนายกเมืองพัทยาแล้วแต่กรณี เห็นว่าผู้ต้องหาไม่ควรได้รับเพิ่มถึงจำคุก ให้มีอำนายเปรียบเทียบกำหนดค่าปรับได้ เมื่อผู้ต้องหาได้ชำระเงินค่าปรับตามจำนวนที่นายอำเภอหรือนายกเมืองพัทยา กำหนดภายในสามสิบวัน คดีนั้นเป็นอันเสร็จเด็ดขาด
– เงินค่าปรับตามพระราชบัญญัตินี้ให้ตกเป็นรายได้ของเมืองพัทยา องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล แล้วแต่ความผิดนั้นจะเกิดขึ้นในท้องที่ใด
กรณีผู้ชำระภาษีบำรุงท้องที่รายเก่า
ปีที่ 2 – นำใบเสร็จมาชำระได้เลย
** กรณียื่นแบบแล้วไม่ชำระภายในเดือน เมษายน เสียเดือนละ 2%
** กรณีขายแล้วไม่แจ้ง ระบบไม่ตัดเป็นชื่อเจ้าของเดิม ต้องจ่ายภาษี (รวมโฉนดไม่มีเลขที่แปล เช่น บ้านจัดสรร เป็นโฉนดใหม่)
ปีที่ 3, 4
ภาษีโรงเรือน – การค้า, ให้เช่า, ประกอบการค้า, เก็บสินค้า, ให้ผู้อื่นอาศัย ที่อยู่อาศัยยังไม่ได้ชำระ
เอกสารที่ใช้ในการติดต่อ
1. ใบเสร็จรับเงินของปีที่ผ่านมา
2. สำเนาทะเบียนบ้าน
3. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
4. สำเนาทะเบียนพาณิชย์
5. แผนที่ตั้งพอสังเขป
6. หนังสือมอบอำนาจ (กรณีไม่สามารถมาติดต่อด้วยตนเอง)
ข้อควรปฏิบัติ
-
-
- เตรียมเอกสารให้พร้อม
-
- โทรศัพท์มาสอบถามข้อสงสัยก่อนเดินทางมา
- สำรองเงินสดสำหรับจ่ายกรณีมีค่าปรับหรือค่าธรรมเนียม
-
การเปลี่ยนแปลงเอกสารสิทธิ์(กรณีซื้อขาย โอน ให้ที่ดิน และ นส.3 เปลี่ยนเป็นโฉนด)
เอกสารที่ใช้ในการติดต่อ
1. สำเนาโฉนดที่ดิน
2. สำเนาสัญญาซื้อขาย(ถ้ามี)
3. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
4. สำเนาทะเบียนบ้าน
5. หนังสือมอบอำนาจ(กรณีไม่สามารถมาติดต่อด้วยตนเอง)
การจดทะเบียนพาณิชย์ (ตั้งใหม่)
ผู้ประกอบพาณิชยกิจที่มีที่ตั้งสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในเขตเมืองพัทยาและถ้าสำนักงานแห่งใหญ่ของผู้ประกอบพาณิชยกิจตั้งอยู่ในต่างประเทศ และมาตั้งสำนักงานสาขาเพื่อประกอบพาณิชยกิจในประเทศไทย สำนักงานสาขาใหญ่ตั้งอยู่ในเขตเมืองพัทยาให้จดทะเบียนพาณิชย์ ณ สำนักงานทะเบียนพาณิชย์เมืองพัทยา ภายใน 30 วัน นับแต่วันเริ่มประกอบกิจการ หรือผู้ที่จดทะเบียนแล้วมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการจดทะเบียนหรือเลิกประกอบพาณิชยกิจ ต้องแจ้งภายใน 30 วัน
ผู้ประกอบพาณิชยกิจต่อไปนี้ ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาหรือห้างหุ้นส่วนสามัญต้องจดทะเบียนพาณิชย์
1. การทำโรงสีข้าวและทำโรงเลื่อยที่ใช้เครื่องจักร
2. การขายสินค้าไม่ว่าอย่างใดๆ อย่างเดียวหรือหลายอย่างก็ตาม
3. ตัวแทนค้าต่างซึ่งทำการเกี่ยวกับสินค้า
4. การประกอบการหัตถกรรมหรือการอุตสาหกรรมและขายสินค้าที่ผลิตได้
5. การขนส่งทางทะเล การขนส่งโดยรถไฟ การขนส่งโดยรถราง การขนส่งโดยรถยนต์ประจำทาง การขายทอดตลาด
6. การรับซื้อขายที่ดิน การให้กู้ยืมเงิน การซื้อหรือขายตั๋วเงิน การธนาคาร การทำโรงรับจำนำและการทำโรงแรม
ผู้ประกอบการพาณิชย์ดังต่อไปนี้ ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือห้างหุ้นส่วนสามัญ ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัดบริษัทจำกัด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือบริษัทมหาชนจำกัดตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจำกัด ต้องจดทะเบียนพาณิชย์
1. การขาย หรือให้เช่า แผ่นซีดี แถบบันทึก วิดีทัศน์ ดีวีดี หรือแผ่นวิดีทัศน์ ระบบดิจิทัล เฉพาะที่เกี่ยวกับการบันเทิง
2. การขายอัญมณี หรือเครื่องประดับซึ่งประดับด้วยอัญมณี
3. การขายสินค้าหรือบริการ โดยวิธีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
4. การบริการอินเทอร์เน็ต
5. การให้เช่าพื้นที่ของเครื่องคอมพิวเตอร์
6. การบริการเป็นตลาดกลางในการซื้อขายสินค้าหรือบริการโดยวิธีใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่าย อินเทอร์เน็ต
-
-
- การผลิต รับจ้างผลิต แผ่นซีดี แถบบันทึก วิดีทัศน์ แผ่นวิดีทัศน์ ดีวีดี หรือแผ่นวีดิทัศน์ระบบดิจิทัล เฉพาะที่เกี่ยวกับการบันเทิง
-
- การให้บริการเครื่องคอมพิวเตอร์
-
- การให้บริการฟังเพลงและร้องเพลงโดยคาราโอเกะ
-
- การให้บริการเครื่องเล่นเกมส์
-
- การให้บริการตู้เพลง
- โรงงานแปรสภาพ แกะสลัก และการทำหัตถกรรมจากงาช้าง การค้าปลีก การค้างาช้าง และผลิตภัณฑ์จากงาช้าง
-
พาณิชยกิจที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องจดทะเบียน
1. การค้าเร่ การค้าแผงลอย
2. พาณิชยกิจเพื่อการบำรุงศาสนาหรือเพื่อการกุศล
3. พาณิชยกิจของนิติบุคคลซึ่งได้มีพระราชบัญญัติ หรือพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งขึ้น
4. พาณิชยกิจของกระทรวง ทบวง กรม
5. พาณิชยกิจของมูลนิธิ สมาคม สหกรณ์
6. พาณิชยกิจซึ่งรัฐมนตรีได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
การจดทะเบียนพาณิชย์ (ตั้งใหม่) แบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ
1.1 กรณีผู้ขอจดทะเบียนเป็นบุคคลธรรมดา
1.2 กรณีผู้ขอจดทะเบียนเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ คณะบุคคล และกิจการร่วมค้า
1.3 กรณีผู้ขอจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ
1.4 กรณีผู้ขอจดทะเบียนเป็นห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน (ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลและห้างหุ้นส่วนจำกัด) บริษัทจำกัดและบริษัทมหาชน จำกัด
การจดทะเบียนพาณิชย์ (ตั้งใหม่)
เอกสารที่ใช้ในการติดต่อ
-
-
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของผู้ขอจดทะเบียน
-
- สำเนาสัญญาเช่าอาคารร้านค้า/สำเนาทะเบียนบ้านที่ร้านค้าตั้งอยู่/หนังสือยินยอมให้ใช้สถานที่ พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้ให้ความยินยอม
- กรณีมอบอำนาจ
-
– หนังสือมอบอำนาจติดอากรแสตมป์ 10 บาท
– สำเนาบัตรประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ
ข้อควรปฏิบัติ
-
-
- เตรียมเอกสารให้พร้อม
-
- โทรศัพท์มาสอบถามข้อสงสัยก่อนเดินทางมา
- สำรองเงินสดสำหรับจ่ายกรณีมีค่าปรับหรือค่าธรรมเนียม
-
หมายเหตุ
อัตราค่าธรรมเนียม
– จดทะเบียนพาณิชย์ ใหม่ 50 บาท
– จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงรายการ 20 บาท
– จดทะเบียนเลิกประกอบกิจการ 20 บาท
– การออกใบแทนใบทะเบียนพาณิชย์กรณีชำรุดสูญหาย 30 บาท
– การคัดหรือรับรองสำเนาฉบับละ 30 บาท