สำนักสวัสดิการสังคม
ภาระและหน้าที่
พันธกิจ
สำนักพัฒนาสังคมมีอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพและความมั่นคงในชีวิตของประชาชน สร้างความเป็นธรรมและความเสมอภาคในการดำรงชีวิต การส่งเสริมคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิของบุคคล พัฒนาศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคประชาคม การส่งเสริมและพัฒนาสถาบันครอบครัว ตลอดจนศึกษาวิเคราะห์วิจัยปัญหาและ แนวทางการดำเนินงานการพัฒนาสังคม และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
หัวหน้าหน่วยงาน/โครงสร้างหน่วยงาน
รองปลัดเมืองพัทยา
|
|||||
หัวหน้าฝ่ายบริหารงานทั่วไปว่าที่ ร.อ. ธนกฤต สิริปัญญาโสภณ |
|||||
ส่วนพัฒนาชุมชนและส่งเสริมอาชีพ |
|||||
รก.ผู้อำนวยการส่วนพัฒนาชุมชนและส่งเสริมอาชีพนางสาวสายใจ พาหุฬา |
หัวหน้าฝ่ายพัฒนาชุมชนนายธนวัฒน์ ตาลทอง |
หัวหน้าฝ่ายส่งเสริมและพัฒนาอาชีพนางสาวสายใจ พาหุฬา |
|||
ส่วนสังคมสงเคราะห์ |
|||||
รก.ผู้อำนวยการส่วนสังคมสงเคราะห์นายธนวัฒน์ ตาลทอง |
รก.หัวหน้าฝ่ายสังคมสงเคราะห์นายธนวัฒน์ ตาลทอง |
รก.หัวหน้าฝ่ายส่งเสริมสวัสดิการสังคมนายชรินทร์ พ่วงสกุลสุข |
|
|
|
บริการ
มีอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพและความมั่นคงในชีวิตของประชาชน สร้างความเป็นธรรมและความเสมอภาคในการดำรงชีวิต การส่งเสริมคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิของบุคคล พัฒนาศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ การส่งเสริมการมี ส่วนร่วมของภาคประชาคม การส่งเสริมและพัฒนาสถาบันครอบครัว ตลอดจนศึกษาวิเคราะห์วิจัยปัญหาและแนวทางการดำเนินงานการพัฒนาสังคม และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
บริการ
ส่วนการบริการ แบ่งส่วนการบริการตามโครงสร้าง ออกเป็น
1. ส่วนพัฒนาชุมชน แบ่งส่วนงานย่อยเพื่อให้บริการประชาชน
1.1 ฝ่ายพัฒนาชุมชนและกิจการประชาชน
1.2 ฝ่ายพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน
2. ส่วนสงเคราะห์และสวัสดิการสังคม
2.1 ฝ่ายสังคมสงเคราะห์
2.2 ฝ่ายส่งเสริมสังคม
1. ส่วนการพัฒนาชุมชน
1.1 ฝ่ายส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพชุมชน
ภาระหน้าที่ที่จะต้องให้การช่วยเหลือชุมชน เป็นองค์ประกอบที่จะต้องดำเนินการมีมากมายหลายอย่าง เช่น การสำรวจกำหนดอาณาเขต คำนวณหาพื้นที่ จัดทำแผนที่ชุมชนและแผนที่รวมชุมชนทั้งหมดใหม่ทุกครั้ง สำรวจเลขที่บ้านของชุมชน ประสานงานทะเบียนราษฎรเพื่อจัดทำบัญชีประชากรของชุมชนคัดแยกเพศชายหญิงและคัดแยกปีเกิด ประกาศจัดตั้ง การรับสมัครเลือกตั้ง การประกาศวันเลือกตั้ง การแต่งตั้งคณะกรรมการเลือกตั้ง การจัดทำรูปรายชื่อผู้ลงสมัครเลือกตั้งปิดประกาศให้ประชาชนได้รับทราบ การจัดทำบัญชีผู้มีสิทธิเลือกตั้ง การเตรียมสถานที่เลือกตั้ง การจัดทำใบลงคะแนนเอกสารเกี่ยวกับการเลือกตั้ง การประกาศผลได้และนัดประชุมกำหนดตำแหน่งเพื่อแต่งตั้งคณะกรรมการชุมชน นอกจากนี้ยังมีการแต่งตั้งผู้ช่วยกรรมการชุมชน กรรมการที่ปรึกษาชุมชนตามวาระการประชุมของแต่ละชุมชนที่กำหนด การเข้าร่วมประชุมประจำเดือนเพื่อให้ความช่วยเหลือกับชุมชนในเบื้องต้น และการอำนวยความสะดวกแก่ชุมชนโดยทั่วไป
1. การประชาคมและจัดทำแผนชุมชนในแต่ละปี
จำนวนชุมชนที่เพิ่มขึ้นในแต่ละปี ทำให้ภาระหน้าที่การประชาคมกับชุมชนเพิ่มขึ้นตาม การจัดเตรียมงานตลอดจนการส่งเสริมให้ความรู้ความเข้าใจกับประชาชนในด้านการประชาคมไม่ว่าจะเป็นโครงการจากภาครัฐบาล เช่น โครงการชุมชนพอเพียง หรือ โครงการอื่นๆ กับประชาชนในชุมชนเดิมและชุมชนใหม่ๆ ที่จะต้องให้คำอธิบายให้ความรู้ความเข้าใจกับประชาชน การประชาคมเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นร่วมกันคิดร่วมกันทำ เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน การประสานงานกับประชาชนไม่ว่าจะเป็นการประชาสัมพันธ์ การแจ้งให้ท่านเจ้าบ้านเข้าร่วมประชุม การจัดหาประชาชนเข้ามาเป็นคณะทำงานในโครงการภาครัฐ ตลอดจนการช่วยเหลือชุมชนดำเนินการจนแล้วเสร็จ การติดตามผลการทำงานและประเมินผลแจ้งให้จังหวัดทราบ ในเรื่องการประชาคมจัดทำแผนชุมชนก็เช่นกัน ผู้ปฏิบัติงานจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในการจัดทำแผนชุมชนและสื่อความหมายให้ประชาชนเข้าใจถึงวัตถุประสงค์และประโยชน์ของการจัดทำแผนชุมชน การรวบรวมเนื้อหาจัดทำเป็นแผนชุมชนนำเสนออำเภอ จังหวัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
โดยการประชาคมจัดทำแผนชุมชนเพื่อรับเรื่องราวร้องทุกข์ต่างๆ จากนั้นแยกประเภทแล้วส่งตามหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทำ เพื่อทำแผนพัฒนาเป็นแผนเมืองต่อไป
– ปัญหาของชาวบ้าน มาลงเรื่องร้องเรียนขาดอะไร,ความ ต้องการของประชาชน แล้วรวบรวมผลแยกตามประเภท
2. โครงการต่าง ๆ ที่มีการปรับเปลี่ยนและเพิ่มมากขึ้น
โครงการต่าง ๆ ในแต่ละปีจะมีการปรับเปลี่ยนโครงการเพื่อให้เกิดความเหมาะสมหรือเพิ่มพูนเกิดประสิทธิภาพประสิทธิผล ตลอดจนการเพิ่มโครงการใหม่ ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการสู่ภาคประชาชนโดยรวม การทำงานต้องมีการหาข้อมูลเพิ่มมากขึ้นเพื่อนำมาใช้ในทางปฏิบัติ
3. การส่งเสริมการจัดตั้งกลุ่มอาชีพต่าง ๆ ให้กับชุมชน
การส่งเสริมให้ชุมชนได้จัดตั้งเป็นกลุ่มอาชีพเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนและเพื่อให้ชุมชนสามารถยืนได้ด้วยลำแข้งของตนเอง ถือหน้าที่ที่จะต้องส่งเสริมและสร้างกลุ่มอาชีพให้มีขึ้นในชุมชน เดิมปี 2551 มีการจัดตั้ง 7 กลุ่มมี 79 คน ปี 2552 จัดตั้งเป็น 13 กลุ่มมี 178 คน ปี 2553 จัดตั้งเพิ่มขึ้นเป็น 16 กลุ่มมี 212 คน ซึ่งในปัจจุบันกลุ่มอาชีพของชุมชนยังจัดตั้งไม่ทั่วถึงครบทุกชุมชน เนื่องจากมีปัจจัยในหลาย ๆ อย่างที่เป็นอุปสรรคซึ่งจะต้องหาทางแก้ไข เช่น กลุ่มไม่สามารถจัดตั้งได้หาบุคคลไม่ได้ หรือ กลุ่มไม่สามารถหาแหล่งจำหน่ายได้ เป็นต้น การจัดฝึกอบรมทางด้านอาชีพให้กับชุมชนจำเป็นจะต้องหาผู้ชำนาญการในด้านต่างๆ การจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ มาสนับสนุนให้ความรู้และฝึกสอนให้กับชุมชนจนสามารถนำไปประกอบเป็นอาชีพและจัดตั้งเป็นกลุ่มอาชีพขึ้นมาได้
4. การแก้ไขปัญหาต่าง ๆ และการสนองรับความต้องการของชุมชน
ชุมชนแต่ละชุมชนย่อมมีปัญหาและความต้องการที่ไม่เหมือนกันและมีอย่างมากมาย ในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ให้กับชุมชน จะต้องมีความรอบรู้และเป็นผู้ที่มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ตลอดจนต้องรู้จักหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อประสานงานในการนำหน่วยงานนั้น ๆ มาแก้ไขปัญหาให้กับชุมชน และรู้จักแก้ปัญหา ซึ่งในแต่ละปี จะมีประชาชนแจ้งคำร้องหรือติดต่อขอให้ช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง
5. การเพิ่มศักยภาพให้กับชุมชนในด้านต่าง ๆ เช่น จัดหาสถานที่สร้างที่ทำการชุมชนด้วยการสำรวจหาที่ดินสาธารณะประโยชน์, จัดฝึกอบรมให้ความรู้กับกรรมการชุมชนและประชาชนทั่วไปเป็นประจำ เป็นต้น
6. การให้การบริการแก่ชุมชนและประชาชนโดยทั่วไปซึ่งนับวันจะมีปริมาณเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากประชากรในเขตเมืองพัทยามีปริมาณมากรวมทั้งประชากรแฝงที่เข้ามาอยู่อาศัยหรือทำงานชั่วคราว การให้การบริการแก่ประชาชนในชุมชน เช่น การออกหน่วยบริการเคลื่อนที่เมืองพัทยา โดยนำเอาหน่วยงานบริการของเมืองพัทยาและหน่วยงานอื่นที่เป็นหน่วยงานให้บริการลงสู่ชุมชนต่างๆ ตลอดทั้งปี
ตารางเปรียบเทียบการบริการ
ภารกิจ / งาน / กิจกรรม |
ปี 2551 |
ปี 2552 |
เพิ่มขึ้น + ลดลง – |
ปี 2553 |
เพิ่มขึ้น + ลดลง – |
การจัดตั้งชุมชนและช่วยเหลือชุมชน |
30 |
33 |
+9.9% |
34 |
+10.2% |
การแต่งตั้งคณะกรรมการชุมชน(จำนวนกลุ่ม) |
30 |
33 |
+9.9% |
34 |
+10.2% |
การจัดทำบัญชีประชากรชุมชน (จำนวนคน) |
44,709 |
51,282 |
+14.7% |
52,735 |
+17.9% |
การจัดประชุมชุมชนและเข้าร่วมประชุมประจำเดือนกับชุมชน |
360 |
396 |
+10% |
408 |
+13.3% |
การจัดการแข่งขันกีฬาชุมชน (จำนวนคน) |
600 |
660 |
+10% |
680 |
+13.3% |
การให้การบริการออกหน่วยเคลื่อนที่เมืองพัทยา (ผู้เข้าร่วมและรับบริการ) |
10 |
11 |
+10% |
11 |
+10% |
การจัดตั้งกลุ่มอาชีพ ( จำนวนกลุ่ม) |
7 |
13 |
+85% |
16 |
+128.5% |
การจัดประชาคมจัดทำแผนชุมชนประจำปี |
30 |
33 |
+9.9% |
34 |
+10.2% |
การจัดประชาคมชุมชนโครงการภาครัฐ |
30 |
33 |
+9.9% |
34 |
+10.2% |
การจัดโครงการสนับสนุนกลุ่มอาชีพต่าง ๆ ให้เข้มแข็ง |
5 |
12 |
+140% |
15 |
+200% |
ประสานงานเกี่ยวกับคำร้องชุมชน | |||||
การอบรมอาชีพให้แก่ประชาชน |
100 |
160 |
60% |
200 |
100% |
กิจกรรมส่งเสริมการเพิ่มรายได้ให้แก่ชุมชน |
10 |
15 |
50% |
17 |
70% |
สนับสนุนการสร้างองค์กรชุมชน |
– |
1 |
100% |
3 |
300% |
สนับสนุนการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ชุมชน |
– |
1 |
100% |
2 |
200% |
ดำเนินการตามนโนบายของรัฐบาล |
30 |
33 |
9.9% |
34 |
10.2% |
การบริการด้านการพัฒนาชุมชน
งานบริการด้านการออกบู๊ทเคลื่อนที่ ให้บริการประชาชนด้านต่างๆแก่พี่น้องประชาชน ร่วมกับส่วนงานภาคเอกชนร่วมออกบู๊ท โดยมีการประชาสัมพันธ์โดยรถแห่ของธงฟ้า กระจายข่าวให้ชุมชน และส่วนงานทราบ การแจกใบปลิวเพื่อประชาสัมพันธ์โครงการแจกตามชุมชน รวมถึงการติดป้ายโฆษณาแผ่นไวนีลและการประชาสัมพันธ์ผ่านเสียงตามสายของชุมชนให้ได้ทราบโดยทั่วกัน โดยมีการออกบู๊ทให้บริการในด้านต่างๆ เช่น จัดหน่วยงานด้านต่างๆ ออกบริการให้ประชาชนเดือนละ 1 ครั้ง ได้แก่
1. การจัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ ส่วนงานสาธารณะสุข ให้บริการตรวจรักษาโรค
2. การสาธิตการป้องกันอัคคีภัย ด้านการดับเพลิง
3. บริการด้านอาชีพ ความสวยงาม มีร้านเสริมสวยเข้าร่วม
4. การจัดจำหน่ายสินค้าราคาถูก สินค้าอุปโภคบริโภค ในเครือสหพัฒน์ สินค้าธงฟ้าราคาถูก
5. บู๊ทของไปรษณีย์ อำเภอบางละมุง
6. การให้บริการของสำนักปลัด งานบัตรประชาชน ให้บริการออกหน่วยเคลื่อนที่ การบริการทำบัตรประชาชน ใน 3 ชุมชน
7. การเผยแพร่ข้อมูล ข่าวสาร “เพื่อแก้ปัญหาคนไม่ว่างงาน” การรับสมัครงาน มีประกาศรับสมัครตำแหน่งงานว่าง โดยข้อมูลส่งมาจากโรงแรมว่ามีตำแหน่งงานว่างที่ไหน ส่งมาว่าต้องการพนักงานตำแหน่งไหน
8. โครงการอบรมอาชีพสัญจร “เพื่อสนับสนุนด้านอาชีพ และการค้าขาย” ออกบู๊ทเพื่อการประกอบอาชีพค้าขาย โดยชมรมเชฟ เมืองพัทยา
สาธิตการทำอาหาร โดยเชฟจากโรงแรมเอราวัณ เช่นเมนูข้าวหมกไก่, ผัดไทยไก่ทอด, เรียนแล้วให้สูตรอาหาร เพื่อนำไปประกอบอาชีพโดยประกาศลงทะเบียนหน้างาน
โครงการสนับสนุนด้านอาชีพ
1. โครงการฝึกอบรมด้านอาชีพ “การนวดแผนโบราณ” (เปิดรับเป็นรอบ) มีศูนย์ประกอบอาชีพ โดยมีอาจารย์มาทำการฝึกสอน หลังจากผ่านการอบรมจะได้รับใบประกาศของกระทรวงสาธารณะสุขปัจจุบันมีศูนย์อบรมอยู่ที่
1.1 วัดชัยมงคล
1.2 ชุมชนลานโพธิ์
1.3 ชุมชนร้อยหลัง
2. สนับสนุนกลุ่มอาชีพต่างๆ ผลิตภัณฑ์ชุมชน
มีกลุ่มอาชีพ 17 กลุ่ม ขอจัดตั้งกลุ่ม มีผลิตภัณฑ์ให้ความรู้ด้านการสอน สาธิต และขึ้นทะเบียน จดทะเบียน และร่วมออกบู๊ทจำหน่ายสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชน โดยการสนับสนุนด้านอุปกรณ์ เครื่องมือในการสาธิต ครั้งแรก หลังจากนั้นสมาชิกมีการร่วมกลุ่ม ร่วมหุ้นกันจัดตั้งผลิตภัณฑ์ชุมชน โดยเล็งเห็นถึงองค์ความรู้ของภูมิปัญญาชาวบ้าน…. และเพื่อให้ผลิตภัณฑ์ชุมชนมีศักยภาพด้านการแข่งขันทางการตลาด การเพิ่มยอดขาย ตลอดจนพัฒนาช่องทางการจำหน่ายสินค้าออนไลน์ เพื่อเกิดระบบทุนหมุนเวียน ทางส่วนงานจึงมีโครงการสนับสนุน คือ “โครงการวิสาหกิจชุมชน” เพื่อบูรณาการองค์ความรู้ โดยจัดระบบด้านการอบรม ให้คำแนะนำ ตลอดจนการออกแบบภาพลักษณ์ที่ทันสมัย ดึงดูด จนถึงเปิดช่องทางการจัดจำหน่ายระบบออนไลน์
3. งานสวัสดิการสังคม
4) กองทุนสวัสดิการ
เริ่มดำเนินการได้ 7 เดือน ช่วยเหลือคน เพื่อให้บริการอย่างทั่วถึงกับคนทุกระดับอายุ ให้ออมวันละ 1 บาท ครบ ทางส่วนราชการสมทบอีก 1 บาท ทุกเพศทุกวัย พัฒนาคุณภาพชีวิต ลงชื่อที่ชุมชน ชุมชนส่งเรื่องมาส่วนงาน
4) ฌาปนกิจสงเคราะห์ ร่วมก่อตั้งช่วยเหลือศพ กรณีเสียชีวิต
5) โครงการที่อยู่อาศัยของคนยากจน
“โครงการบ้านมั่นคง” มาจากการประชาคม เริ่มที่เขาน้อย ให้ความช่วยเหลือคนยากจน ที่อยากมีบ้านพักอาศัย เช่นกรณีเช่าบ้านพัก โดยจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์ เป็นองค์กรพัฒนาชุมชน จัดตั้ง “กลุ่มออมเงินเพื่อบ้าน ” เพื่อทำเรื่องขออนุมัติสนับสนุนโครงการของส่วนราชการ
โดยวัตถุประสงค์เพื่อ การพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคม ที่อยู่อาศัย, บ้าน, อาหาร, อาชีพ
ฝ่ายส่งเสริมและฝึกอาชีพ
1. งานส่งเสริมการสร้างรายได้ ดำเนินงานด้านต่าง ๆ ดังนี้
– จัดทำข้อมูลข่าวสารแรงงาน ข้อมูลตำแหน่งงานว่าง และประชาสัมพันธ์
– ส่งเสริมกระบวนการสร้างอาชีพอย่างครบวงจร
– จัดตลาดนัดแรงงาน และสนับสนุนกิจกรรมอาสาสมัครแรงงาน
– จัดหาแหล่งเงินทุนเพื่อสนับสนุนการประกอบอาชีพ
– สนับสนุนการจัดตั้งกองทุนเพื่อการประกอบอาชีพ
– สนับสนุนการทำธุรกิจขนาดย่อม
-ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อช่วยเหลือการมีงานทำของประชาชน
-สนับสนุนนโยบายแก้ไขปัญหาความยากจน
-สนับสนุนการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น
2. งานศูนย์ฝึกอบรมอาชีพ ดำเนินงานด้านต่าง ๆ ดังนี้
– ดูแลศูนย์ฝึกอบรมอาชีพ
– จัดอบรมอาชีพ ให้แก่ประชาชนทั่วไป
– จัดทำหลักสูตรเพื่อการอบรมอาชีพ
– สนับสนุนเพื่อพัฒนารายได้ ให้แก่ประชาชนทั่วๆไป
– ติดตามประเมินผลการฝึกอบรม
– จัดทำโครงการเพื่อสนับสนุนการพัฒนารายได้ของประชาชน
– ประสานงานหน่วยงานต่าง ๆ ที่สนับสนุนการประกอบอาชีพของประชาชน
ฝ่ายเศรษฐกิจชุมชน
1. งานส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน ดำเนินงานด้านต่าง ๆ ดังนี้
– สำรวจกลุ่มอาชีพต่าง ๆ ในชุมชน และจัดตั้งกลุ่มอาชีพ
– จัดทำข้อมูลกลุ่มอาชีพ และประชาสัมพันธ์ความก้าวหน้าผลิตภัณฑ์ตามสื่อต่าง ๆ
– จัดทำทะเบียนกลุ่ม ข้อบังคับ และบัญชีต่าง ๆ ของกลุ่ม
– อบรมและหาแนวทางการ พัฒนาผลิตภัณฑ์ของกลุ่ม
– จัดอบรมเพิ่มพูนความรู้ให้แก่กลุ่ม
– สนับสนุนกิจกรรมส่งเสริมการขายให้แก่กลุ่มอาชีพ
– สำรวจวัสดุ อุปกรณ์ ตรวจสอบให้พร้อมใช้งาน
– จัดตั้งศูนย์แสดงสินค้า
– จัดตลาดนัดชุมชน
– ดำเนินการตามนโยบายแก้ไขปัญหาความยากจน
2. งานพัฒนาฝีมือและส่งเสริมผลิตภัณฑ์ ดำเนินงานด้านต่าง ๆ ดังนี้
-จัดทำหลักสูตรต่าง ๆ ให้เป็นมาตรฐาน และความต้องการของตลาด
– หาแนวทางพัฒนารูปแบบและจัดอบรมความรู้เพิ่มเติมแก่กลุ่มอาชีพ
– จัดทำคู่มือเพื่อการศึกษาแก่บุคคลทั่วไป
– ประสานหน่วยงานเพื่อการพัฒนา
– จัดทำมาตรฐานเพื่อคัดสรรผลิตภัณฑ์
2. ส่วนการสงเคราะห์และสวัสดิการสังคม
ส่วนสงเคราะห์และสวัสดิการสังคม
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดสวัสดิการสังคมแก่ประชาชนในเขตเมืองพัทยา โดยมุ่งเน้นการจัดสวัสดิการและการสงเคราะห์แก่เด็ก สตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส และผู้ประสบปัญหาทางสังคม ให้สามารถช่วยเหลือตนเองได้ตามศักยภาพ จัดสวัสดิการในรูปของสถานสงเคราะห์ บ้านพักฉุกเฉิน ศูนย์สร้างโอกาส และการส่งต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การจัดวางระบบและกำหนดเกณฑ์มาตรฐานการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาเด็ก ก่อนวัยเรียน ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนในพื้นที่เมืองพัทยา การสำรวจวิเคราะห์วิจัยสภาพปัญหา ประสานและสนับสนุนการดำเนินงานร่วมกับเครือข่ายในทุกระดับ ให้คำปรึกษา แนะนำแก่หน่วยงานภาคปฏิบัติ ติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงาน และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง โดยแบ่งงานภายในส่วนราชการ ดังนี้
- งานสงเคราะห์พิทักษ์ผู้พิการ
มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการดำเนินงานตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.๒๕๕๐ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยให้การพิทักษ์ คุ้มครอง ส่งเสริม สนับสนุนและสงเคราะห์ช่วยเหลือผู้พิการ ที่ประสบปัญหาความเดือดร้อนด้านต่าง ๆ การจัดหาที่พักชั่วคราว ทั้งการช่วยเหลือเฉพาะหน้าและการส่งต่อหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนประสานและสนับสนุนการดำเนินงานร่วมกับเครือข่ายในทุกระดับ และการปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
** การขอมีบัตรประจำตัวคนพิการ
การขอมีบัตรประจำตัวคนพิการเป็นเอกสารที่สำคัญสำหรับคนพิการที่ใช้ประกอบการขอรับสวัสดิการต่างๆ จากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน เช่นการขอรับเงินสงเคราะห์เบี้ยยังชีพ การขอกู้เงินสวัสดิการ คนพิการเพื่อประกอบอาชีพ การรักษาพยาบาล เป็นต้น
งานสงเคราะห์ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส ผู้ประสบปัญหาทางสังคม
มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการดำเนินงานตามพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ.๒๕๔๖ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยให้การคุ้มครอง ส่งเสริม สนับสนุนและสงเคราะห์ช่วยเหลือผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส ผู้ประสบปัญหาทางสังคม ที่ประสบปัญหาความเดือดร้อนด้านต่างๆ การจัดหาที่พักชั่วคราว ทั้งการช่วยเหลือเฉพาะหน้าและการส่งต่อหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนประสานและสนับสนุนการดำเนินงานร่วมกับเครือข่ายในทุกระดับ และการปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
ฝ่ายส่งเสริมสวัสดิการสังคม
งานจัดสวัสดิการและการสงเคราะห์ครอบครัว
มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการดำเนินงานตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม พ.ศ.๒๕๔๖และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง การพิทักษ์ ปกป้องคุ้มครอง และกำหนดแนวทางการพัฒนา ส่งเสริมศักยภาพความเข้มแข็งของครอบครัว ความเสมอภาคระหว่างหญิงชาย การจัดสวัสดิการและการให้การสงเคราะห์แก่ผู้ประสบปัญหาความเดือดร้อนในด้านต่างๆ ที่มิได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของกลุ่มงานใดโดยเฉพาะ ประสานการจัดหาที่อยู่อาศัย ตลอดจนสนับสนุนการดำเนินงานร่วมกับเครือข่ายในทุกระดับ และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
งานส่งเสริมพิทักษ์เด็ก เยาวชน
มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการดำเนินงานตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.๒๕๔๖ และกฎหมาย ที่เกี่ยวข้อง จัดสวัสดิการและกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต ส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดการคุ้มครอง และพิทักษ์สิทธิ การช่วยเหลือกลุ่มเด็กเร่ร่อน เด็กกำพร้า เด็กที่อยู่ในภาวะยากลำบาก รวมทั้งเด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิดให้เข้ารับบริการในศูนย์สร้างโอกาสเพื่อเข้ารับการฟื้นฟูและพัฒนาให้สามารถกลับคืนสู่ครอบครัวหรือส่งต่อหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนในพื้นที่เมืองพัทยา การสำรวจวิเคราะห์ วิจัยสภาพปัญหา ประสานและสนับสนุนการดำเนินงานร่วมกับเครือข่ายในทุกระดับ และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
ผู้มีสิทธิที่จะได้รับเงินสงเคราะห์เบี้ยยังชีพ ได้แก่ ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ป่วยเอดส์ ที่มีคุณสมบัติ
-
- มีภูมิลำเนาอาศัยอยู่ในเขตพื้นที่เมืองพัทยา (ทะเบียนบ้านท้องถิ่นเมืองพัทยา)
- มีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพ หรือถูกทอดทิ้ง หรือขาดผู้อุปการะเลี้ยงดู หรือ ไม่สามารถประกอบอาชีพเลี้ยงตนเองได้
2.1 ฝ่ายส่งเสริมสวัสดิการสังคมมีหน้าที่ปฏิบัติดังนี้
– การจัดสวัสดิการและการสงเคราะห์แก่เด็ก สตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส และผู้ประสบปัญหาทางสังคม ให้สามารถช่วยเหลือตนเองได้ตามศักยภาพ
– จัดสวัสดิการในรูปของสถานสงเคราะห์ บ้านพักฉุกเฉิน ศูนย์สร้างโอกาส และการส่งต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
– การสำรวจวิเคราะห์วิจัยสภาพปัญหา ประสานและสนับสนุนการดำเนินงานร่วมกับเครือข่ายในทุกระดับ ให้คำปรึกษา แนะนำแก่หน่วยงานภาคปฏิบัติ
– ติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงาน
– ดำเนินงานตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม พ.ศ.๒๕๔๖และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง การพิทักษ์ ปกป้องคุ้มครอง
– กำหนดแนวทางการพัฒนา ส่งเสริมศักยภาพความเข้มแข็งของครอบครัว ความเสมอภาคระหว่างหญิงชาย
– การจัดสวัสดิการและการให้การสงเคราะห์แก่ผู้ประสบปัญหาความเดือดร้อนในด้านต่าง ๆ ที่มิได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของกลุ่มงานใดโดยเฉพาะ ประสานการจัดหาที่อยู่อาศัย ตลอดจนสนับสนุนการดำเนินงานร่วมกับเครือข่ายในทุกระดับ และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
โครงการซึ่งถือได้ว่าเป็นการบริการประชาชน ในปี 2554 ที่ผ่านมา
1. โครงการแก้ไขปัญหาบุคคลเร่ร่อน ขอทาน
การดำเนินงาน – กองสวัสดิการสังคม เมืองพัทยาร่วมกับฝ่ายรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคง สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จังหวัดชลบุรี หน่วยงานภาครัฐและเอกชน ทำการสำรวจและให้ความช่วยเหลือบุคคลเร่ร่อน ขอทาน ในเขตพื้นที่เมืองพัทยา ตามแผนการทำงานที่ได้ตั้งไว้และตามคำร้องของประชาชน ผ่านทางโทรศัพท์โดยตรงและทาง Pattaya City Call Center 1337 เพื่อให้ป้องกันบุคคลดังกล่าวก่อความเดือดร้อนรำคาญให้กับประชาชนและนักท่องเที่ยว และทำให้เกิดภาพลักษณ์ที่สวยงามในฐานะที่เมืองพัทยาเป็นเมืองท่องเที่ยวสำคัญระดับโลก อีกทั้งยังเป็นการให้ความช่วยเหลือบุคคลเหล่านี้ด้วยการนำส่งไปยังสถานสงเคราะห์ต่างๆ เพื่อให้บุคคลเหล่านี้ได้มีที่พักพิงและได้รับการรักษาพยาบาลอย่างถูกวิธีกรณีที่มีอาการเจ็บป่วย โดยได้กำหนดเป้าไว้ที่บุคคลเร่ร่อน ขอทานในเขตเมืองพัทยาและได้มีการดำเนินการให้ความช่วยเหลือดังต่อไปนี้
ระยะเวลาดำเนินการ – ตุลาคม 2553 – กันยายน 2554
2. โครงการสนับสนุนการออกกำลังกายของเยาวชนและประชาชน
การดำเนินงาน – เป็นการจัดกิจกรรมการเต้นแอโรบิคให้กับประชาชนในชุมชน ซึ่งในปีที่ผ่านมามีเยาวชนและประชาชนจากชุมชนต่าง ๆ ในเขตเมืองพัทยาให้ความสนใจทั้งสิ้น 12 ชุมชนดังนี้
-
- ชุมชนโรงไม้ขีด
- ชุมชนบ้านหัวทุ่ง
- ชุมชนทัพพระยา
- ชุมชนวัดชัยมงคล
- ชุมชนลานโพธิ์
- ชุมชนไปรษณีย์
- ชุมชนซอย 6 ยศศักดิ์
- ชุมชนหนองใหญ่
- ชุมชนวัดบุณย์กัญจนาราม
- ชุมชนหนองอ้อ
- ชุมชนบ้านกระบก 33
- ชุมชนชุมสาย
ระยะเวลาดำเนินงาน – ตุลาคม 2553 – กันยายน 2554
- 3. โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กในชุมชนแออัด
การดำเนินงาน – จัดกิจกรรมโดยการหาวิทยากร ครู และเจ้าหน้าที่เข้าไปให้ความรู้เด็กและเยาวชนภายในชุมชนแออัดในเขตเมืองพัทยา ยกตัวอย่างเช่น การสอนพิเศษเด็กในช่วงเย็นโดยไม่คิดเงิน กิจกรรมการเล่านิทานหุ่นมือ การฝึกอาชีพหรืองานหัตถกรรมและงานศิลปะต่าง ๆ การให้ความรู้ในการป้องกันยาเสพติดรวมถึงโทษและพิษภัยของยาเสพติด การความรู้เรื่องโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เป็นต้นโดยสลับสับเปลี่ยนหมุนเวียนกันไปในแต่ละชุมชนตามความเหมาะสม โดยจะมีการจัดกิจกรรมในเขตชุมชนเมืองพัทยาจำนวน 2 ครั้ง และได้ตั้งเป้าหมายไว้ว่าจะมีผู้เข้าร่วมโครงการครั้งละไม่ต่ำกว่า 300 คน
ระยะเวลาดำเนินงาน – ธันวาคม 2553 – มีนาคม 2554 และ มิถุนายน 2554 – สิงหาคม 2554
4. โครงการห้องเรียนทดลองเพื่อการจัดการสถานะบุคคลในชุมชน
วิธีการดำเนินงาน – เป็นการจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อหาทางช่วยเหลือและแก้ปัญหาบุคคลไร้สถานะในเขตเมืองพัทยา โดยเชิญกรรมการชุมชนและหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนที่มีความเกี่ยวข้องกับกระบวนการทางสถานะบุคคลทั้งในเขตเมืองพัทยาและพื้นที่ใกล้เคียง มาทำการอบรม ให้ความรู้ถึงกระบวนการในการดำเนินการให้ความช่วยเหลือและแก้ปัญหาผู้ที่ไม่มีสถานะบุคคล ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันและสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีแบบแผน เป็นขั้นตอนที่สามารถปฏิบัติได้จริงตามหลักทางกฎหมาย รวมถึงการลงพื้นที่สืบค้น สืบสวนข้อเท็จจริงข้อมูลบุคคลไร้สถานะของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติและตัวผู้ไม่มีสถานะทางทะเบียนราษฎรเองด้วย โดยมีเป้าหมายที่กลุ่มบุคคลผู้ไร้สถานะทางทะเบียนราษฎร์ในเขตเมืองพัทยา
ระยะเวลาดำเนินงาน – ตุลาคม 2553 – กันยายน 2554
5. โครงการจัดประชุมคณะอนุกรรมการคุ้มครองเด็กเมืองพัทยาและคณะอนุกรรมการปฏิบัติการพิเศษภายใต้คณะอนุกรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติ(งบประมาณ 100,000 บาท)
การดำเนินงาน – จัดการประชุมคณะอนุกรรมการคุ้มครองเด็กเมื่องพัทยาและคณะอนุกรรมการปฏิบัติการพิเศษภายใต้คณะอนุกรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติ เพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาที่มีความเกี่ยวข้องกับเด็กและเยาวชนในเขตเมืองพัทยาและพื้นที่ใกล้เคียงอย่างเป็นรูปธรรม ภายใต้การทำงานในลักษณะเครือข่ายองค์กรต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนเพื่อให้สามารถแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความหลากหลาย รวดเร็วและทันต่อสถานการณ์
ระยะเวลาดำเนินงาน – ตุลาคม 2553 – กันยายน 2554
6. โครงการประกวดแข่งขันวงดนตรีเยาวชนเมืองพัทยา
การดำเนินงาน – เป็นการจัดการประกวดวงดนตรีระดับเยาวชนอายุไม่เกิน 18 ปี มีกลุ่มเป้าหมายคือเด็กและเยาวชนที่มีทะเบียนบ้านในเขตเมืองพัทยา หรือศึกษาอยู่ในสถานศึกษาในเขตอำเภอบางละมุง โดยจัดการประกวด 2 รอบ คือรอบคัดเลือก และรอบชิงชนะเลิศ(มีวงเข้ารอบ 10 วงสุดท้าย) ที่ผ่านมามีเยาวชนให้ความสนใจส่งวงดนตรีเข้าประกวดเป็นจำนวนมาก ประมาณ 35 วงต่อปี เฉลี่ยมีนักดนตรีระดับเยาวชนกว่า 200 คน อีกทั้งยังมีประชาชนให้ความสนใจเข้าชมอีกครั้งละไม่ต่ำกว่า 500 คน และได้รับเกียรติจากคณะกรรมการตัดสินที่มีความชำนาญด้านดนตรีจากหลายสถาบันและบริษัทเช่น GMM แกรมมี่ โรงเรียนสอนดนตรีต่าง ๆ และนักดนตรีอาชีพเป็นต้น นอกเหนือจากนี้ยังได้มีการต่อยอดด้วยการส่งเยาวชนที่เข้าร่วมการประกวดและมีฝีมือดี ขึ้นโชว์ความสามารถบนเวทีต่าง ๆ เช่น งานถนนเด็กเดิน งาน Indy In Town (และในอนาคตจะประสานให้วงเยาวชนของเมืองพัทยาได้ขึ้นโชว์บนเวที พัทยาเคาท์ดาวน์ และพัทยา อินเตอร์เนชั๋นแนล มิวสิค เฟสติวัลต่อไป)เป็นต้น โดยมีเป้าหมายเพื่อผลักดันให้เยาวชนเหล่านี้ได้มีเวทีในการแสดงความสามารถที่ตนเองถนัดและจุดประกายให้เยาวชนเหล่านี้ได้กล้าที่จะทำความฝันของตนเองให้เป็นจริงนั่นคือการเป็นศิลปินอาชีพในที่สุด โดยมีการกำหนดเป้าหมายเป็นกลุ่มเด็กและเยาวชนในเขตเมืองพัทยาหรือกำลังศึกษาอยู่ในโรงเรียนในเขตอำเภอบางละมุง และประชาชนทั่วไปผู้ที่ให้ความสนใจเข้าชมการประกวด
ระยะเวลาดำเนินงาน – ธันวาคม 2553 – มีนาคม 2554
7. โครงการเยาวชนห่างไกลภาวะเสี่ยง
การดำเนินงาน – เป็นการจัดค่ายกิจกรรมเพื่อละลายพฤติกรรม โดยมีเป้าหมายเป็นเด็กและเยาวชนอายุประมาณ 14 – 18 ปีที่ศึกษาอยู่ในสถานศึกษาในสังกัดของเมืองพัทยา และสถานศึกษาที่อยู่ในเขตเมืองพัทยารวมทั้งเยาวชนในชุมชน โดยมีวัตถุประสงค์ในการลดความก้าวร้าวและเป็นการป้องกันพฤติกรรมอันไม่เหมาะสมของเยาวชนในช่วงวัยหัวเลี้ยวหัวต่อของชีวิต เช่น พฤติกรรมทางเพศ พฤติกรรมทางสังคม โดยเน้นให้เด็กกลุ่มนี้ได้เห็นถึงโทษจากการกระทำที่ขาดความยับยั้งชั่งใจของตนเอง และได้สอดแทรกการให้ความรู้ในเรื่องของพิษภัยจากยาเสพติดเข้าไปในเนื้อหาของกิจกรรมด้วย นอกเหนือจากนี้ยังได้บรรจุเนื้อหาของการเน้นการสำนึกรักในพระคุณของบิดา มารดา ผู้ปกครอง ครู อาจารย์อีกด้วย ซึ่งกิจกรรมนี้ถือได้ว่าเป็นกิจกรรมที่ทำขึ้นมาเพื่อเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันให้เยาวชนเหล่านี้ได้สามารถผ่านช่วงวัยนี้ไปได้อย่างเข็มแข็งและมีคุณภาพนั่นเอง และได้มีการกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่นักเรียนหญิงจากโรงเรียนในสังกัดของเมืองพัทยาและพื้นที่ใกล้เคียง อายุระหว่าง 14 – 17 ปี
ระยะเวลาดำเนินงาน – พฤษภาคม 2554 – สิงหาคม 2554
โครงการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพสตรีเมืองพัทยา จำนวน 200,000 บาท
– เป็นการจัดกิจกรรมการส่งเสริมพัฒนาศักยภาพของสตรีในเขตเมืองพัทยาในด้านต่าง ๆ เช่น การจัดการอบรมทางด้านกฎหมายและศิลปะการป้องกันตัว การส่งเสริมด้านอาชีพ การพัฒนาเครือข่ายเฝ้าระวังอาชญากรรมและปัญหาของสตรี เป็นต้น
เป้าหมาย
– สตรีที่อาศัยอยู่ในเขตเมืองพัทยา
โครงการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการดำเนินชีวิตในครอบครัว จำนวน 50,000 บาท
– เป็นการดำเนินการประชาสัมพันธ์และให้ความรู้เกี่ยวกับการดำเนินชีวิตครอบครัวรวมถึงการแก้ปัญหาครอบครัวที่ถูกต้องผ่านสื่อต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น แผ่นพับ วิทยุ และสื่อโทรทัศน์เป็นต้น
เป้าหมาย
– ประชาชนในเขตเมืองพัทยาและพื้นที่ใกล้เคียง
บริการ
– การสงเคราะห์เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ, คนพิการ, ผู้ป่วยเอดส์
1.เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ
ด้วยเมืองพัทยาได้ดำเนินการรับขึ้นทะเบียนผู้สูงอายุเพื่อรับเบี้ยยังชีพตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล ให้ผู้สูงอายุที่ยังไม่เคยขึ้นทะเบียน นำเอกสารมาแสดงตนเพื่อขอขึ้นทะเบียน ภายในวันที่ 1 – 30 พฤศจิกายน ของทุกปี ในวันและเวลาราชการ โดยเตรียมเอกสาร ดังต่อไปนี้
เอกสารที่ใช้ขอขึ้นทะเบียนเพื่อขอรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ
-
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน 1 ฉบับ
- สำเนาทะเบียนบ้าน 1 ฉบับ
- สำเนาสมุดบัญชีเงินฝาก ธนาคารกรุงไทย 1 ฉบับ (ถ่ายเฉพาะหน้าที่มีชื่อตนเอง)
ผู้มีสิทธิได้รับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้
-
- มีสัญชาติไทย
- มีภูมิลำเนาอยู่ในท้องถิ่น เมืองพัทยา (ทะเบียนบ้านอยู่ในเขตเมืองพัทยา)
- มีอายุ 60 ปี บริบูรณ์ ขึ้นไป
- ไม่เคยได้รับสวัสดิการหรือสิทธิประโยชน์อื่นใดจากหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่ ผู้รับเงินบำนาญ เบี้ยหวัด บำนาญพิเศษ หรือ เงินอื่นใด ในลักษณะเดียวกันผู้สูงอายุที่อยู่ในสถานสงเคราะห์ของรัฐ หรือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นผู้ได้รับเงินเดือน ค่าตอบแทน รายได้ประจำหรือผลประโยชน์ ตอบแทนอย่างอื่นที่รัฐหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดให้เป็นประจำ ยกเว้นผู้พิการและผู้ป่วยเอดส์ ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการจ่างเงินสงเคราะห์ เพื่อการยังชีพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพุทธศักราช 2552
หมายเหตุ
-
- ผู้สูงอายุจะต้องมายื่นเอกสารด้วยตนเอง
- กรณีไม่สามารถมายื่นขอรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุได้ด้วยตนเอง ให้ญาติมาดำเนินการแทนโดยเตรียมเอกสารดังต่อไปนี้
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มายื่นแทน และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ของผู้สูงอายุ พร้อมเซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง
- สำเนาทะเบียนบ้านของผู้สูงอายุ พร้อมเซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง
- หนังสือมอบอำนาจให้ทำการแทนโดยขอได้ที่งานสังคมสงเคราะห์ กองสวัสดิการสังคม เมืองพัทยา
- สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารกรุงไทยที่มี ชื่อผู้สูงอายุ
สิทธิของผู้ที่ได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุจะสิ้นสุดลง กรณีดังต่อไปนี้
1) เสียชีวิต เมื่อผู้สูงอายุเสียชีวิตขอให้ญาติมาแจ้งที่งานสังคมสงเคราะห์กองสวัสดิการสังคม เมืองพัทยา ภายใน 7 วัน นับจากวันที่เสียชีวิต
2) กรณีย้ายทะเบียนบ้านออกไปนอกเขตเมืองพัทยา ขอให้แจ้งทางเมืองพัทยาทราบด้วย งานสังคมสงเคราะห์จะยังคงจ่ายเงินให้ไปจนถึงเดือนกันยายน ของปีงบประมาณที่ย้ายออกไป และจะระงับจ่ายเงิน ในปีงบประมาณถัดไป
3) แจ้งสละสิทธิขอรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ โดยผู้ไม่ประสงค์จะขอเบี้ยยังชีพ ต้องแจ้งหนังสือเป็นลากลักษณ์อักษร ต่อเจ้าหน้าที่งานสังคมสงเคราะห์ กองสวัสดิการสังคม เมืองพัทยา
คุณสมบัติและหลักฐานประกอบการขอรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ
ผู้สูงอายุที่ขอรับการสงเคราะห์เบี้ยยังชีพจะต้องมีอายุ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป อาศัยอยู่ในเขตเมืองพัทยา
2.เบี้ยยังชีพคนพิการ
คุณสมบัติและหลักฐานประกอบการขอรับเบี้ยยังชีพคนพิการ
ด้วยเมืองพัทยา ได้ดำเนินโครงการจัดสวัสดิการเบี้ยความพิการ สำหรับผู้ที่ยังไม่เคยได้รับเงินเบี้ยความพิการมาก่อน โดยให้นำเอกสารมายื่นคำขอขึ้นทะเบียน รับเงินเบี้ยความพิการภายในวันที่ 1 – 30 พฤศจิกายน ของทุกปี ในวันและเวลาราชการ
คนพิการที่ขอรับการสงเคราะห์เบี้ยยังชีพจะต้องเป็นคนพิการที่ขึ้นทะเบียนคนพิการแล้วทั้งนี้ความพิการจะต้องอยู่ในระดับ 3 ขึ้นไป
ทั้งนี้จะต้องเป็นผู้พิการที่มีบัตรประจำตัวคนพิการ หากไม่มีบัตรประจำตัวคนพิการ ขอให้เตรียมเอกสารมาดังนี้
หลักฐานที่ใช้ทำบัตรประจำตัวคนพิการ
-
- เอกสารรับรองความพิการออกโดยสถานพยาบาลของทางราชการ
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือ ใบสูติบัตร (กรณีเป็นเด็ก) 1ฉบับ
- สำเนาทะเบียนบ้าน 1 ฉบับ
- รูปถ่ายสีขนาด 1 นิ้ว จำนวน 2 รูป
- กรณีที่ผู้พิการจำเป็นต้องมีผู้ดูแล ต้องมีหนังสือรับรองการเป็นผู้ดูแลคนพิการของประธานชุมชนหรือข้าราชการระดับ 3 ขึ้นไป
คุณสมบัติของคนพิการที่มีสิทธิขอรับเงินเบี้ยความพิการ เมืองพัทยา
-
- มีสัญชาติไทย
- มีบัตรประจำตัวคนพิการ
- มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตพื้นที่เมืองพัทยา
- ไม่เป็นบุคคลที่อยู่ในความอุปการะของสถานสงเคราะห์ของรัฐหรือ สถานสงเคราะห์ของเอกชนที่ได้รับเงินอุดหนุนส่วนใหญ่จากรัฐ หรือถูกกักขังในเรือนจำตามหมายจำคุกโดย คำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก และให้หมายความรวมถึงบุคคล ซึ่งถูกกักขังไว้ตามคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายให้ลงโทษด้วย
หลักฐานเอกสารที่ต้องนำมาขึ้นทะเบียน ขอรับเบี้ยความพิการ ดังนี้
-
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาใบสูติบัตร (กรณีเป็นเด็ก) 1 ฉบับ
- สำเนาทะเบียนบ้าน 1 ฉบับ
- สำเนาเลขที่บัญชีธนาคารกรุงไทย 1 ฉบับ
- บัตรประจำตัวคนพิการตัวจริง พร้อมถ่ายสำเนา 1 ฉบับ
หมายเหตุ
กรณีที่ผู้พิการไม่สามารถเดินทางมายื่นเอกสารขอรับเบี้ยความพิการได้ด้วยตนเอง ให้ญาติมาดำเนินการแทนโดยเตรียมสำเนาบัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้านของผู้แทน พร้อมหนังสือมอบอำนาจโดยหนังสือมอบอำนาจ สามารถขอได้ที่ งานสังคมสงเคราะห์ กองสวัสดิการสังคม เมืองพัทยา
ผู้พิการที่มีบัตรประจำตัวคนพิการแล้วจะได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆ ดังนี้
1) เบี้ยความพิการ เดือนละ 500 บาท ตลอดชีพ
2) ผู้พิการที่ได้รับความพิการอยู่แล้วหากมีอายุครบ 60 ปี ขึ้นไป สามารถขอรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุได้อีก เดือนละ 500 บาท ทั้งนี้ต้องมาขอยื่นคำร้องลงทะเบียนขอเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุได้ที่งานสังคมสงเคราะห์ กองสวัสดิการสังคม เมืองพัทยา
3) บัตร ท.74 เพื่อขอรับบริการทางการแพทย์จากโรงพยาบาลของรัฐได้ทั่วประเทศ (สามารถติดต่อขอรับบัตร ท.74 ได้ที่ โรงพยาบาลบางละมุง)
4) รับกายอุปกรณ์ เช่น รถเข็นนั่งสำหรับคนพิการ แว่นสายตา ไม้เท้าค้ำยันวอล์คเกอร์ เป็นต้น
5) เงินทุนประกอบอาชีพสำหรับคนพิการรายละไม่เกิน 40,000 บาท สามารถยื่นเอกสารขอรับการพิจารณาได้ที่ : สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จังหวัดชลบุรี
โทรศัพท์ 038 277 877
3. เบี้ยยังชีพผู้ป่วยเอดส์
คุณสมบัติและหลักฐานประกอบการขอรับเบี้ยยังชีพผู้ป่วยเอดส์
ผู้ป่วยเอดส์ที่ขอรับการสงเคราะห์เบี้ยยังชีพจะต้องมีหลักฐานการตรวจร่างกายว่าเป็นผู้ติดเชื้อ HIV จากโรงพยาบาลของรัฐเท่านั้น
หลักฐานในการขอรับการสงเคราะห์เบี้ยยังชีพผู้ป่วยเอดส์
-
- สำเนาทะเบียนบ้านท้องถิ่นเมืองพัทยา 1 ฉบับ
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือ สำเนาใบสูติบัตร (กรณีเป็นเด็ก) 1 ฉบับ
- ใบรับรองการตรวจร่างกายจากโรงพยาบาลของรัฐ โดยระบุว่าเป็น “ผู้ป่วยเอดส์”
- สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารกรุงไทย 1 ฉบับ
*เอกสารทุกฉบับให้เซ็นต์รับรองสำเนาถูกต้อง
สิทธิประโยชน์ที่ผู้ป่วยเอดส์จะได้รับ
-
- เบี้ยยังชีพผู้ป่วยเอดส์ เดือนละ 1,000 บาท จนถึงเดือนที่เสียชีวิต
- หากผู้ป่วยเอดส์ประสงค์จะขอรับการสงเคราะห์เนื่องจากไม่มีผู้ดูแล ทางเมืองพัทยาจะดำเนินการส่งตัวผู้ป่วยไปยังสถานสงเคราะห์ผู้ป่วยเอดส์
หมายเหตุ
-
- กรณีที่ผู้ป่วยเอดส์เข้าไปอยู่ในสถานสงเคราะห์แล้วเมืองพัทยาจะระงับการจ่ายเงินเบี้ยยังชีพ
- กรณีเสียชีวิตเมืองพัทยาจะจ่ายเงินถึงเดือนที่เสียชีวิต และจะระงับจ่ายในเดือนถัดไปโดยญาติจะต้องมาแจ้งเจ้าหน้าที่งานสังคมสงเคราะห์กองสวัสดิการสังคม เมืองพัทยา ภายใน 7 วัน นับจากที่เสียชีวิต
- หากผู้ป่วยเอดส์ ย้ายออกไปจากทะเบียนบ้านเมืองพัทยา เมืองพัทยาจะระงับการจ่ายเงินในเดือนถัดไปนับจากเดือนที่ย้ายออก
หมายเหตุ
กรณีที่ผู้ป่วยเอดส์ไม่สามารถมายื่นขอเบี้ยยังชีพผู้ป่วยเอดส์ได้ด้วยตนเอง ให้ญาติมาดำเนินการแทน โดยเตรียมสำเนาบัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ทำการแทน มาด้วย
ผู้ป่วยเอดส์ที่ได้รับสิทธิเบี้ยยังชีพรายเดือนจากเมืองพัทยาไม่สามารถโอนสิทธินี้ให้แก่ผู้อื่นได้ ดังนั้น เมื่อเสียชีวิตแล้วเมืองพัทยาจะระงับการจ่ายเงินทันทีในเดือนถัดไป นับจากเดือนที่เสียชีวิต
สถานสงเคราะห์ที่ให้บริการดูแลผู้ป่วยเอดส์ในเขตพื้นที่ใกล้เคียงเมืองพัทยา
-
- บ้านพักรักเพื่อน ให้บริการดูแลและฟื้นฟูผู้ป่วยเอดส์ ตั้งอยู่ใกล้อ่างเก็บน้ำมาบประชัน ต.โป่ง อ.บางละมุง จ.ชลบุรี โทรศัพท์ 089 – 6068104 081 – 4035694
- ศูนย์คามิลเลียน โซเชียล เซ็นเตอร์ ระยอง
ให้บริการสงเคราะห์ดูแลผู้ป่วยเอดส์ ให้คำปรึกษาสำหรับผู้ที่ติดเชื้อเอดส์ ที่อยู่ 1/1 ซอยคีรี ต.ห้วยโป่ง อ.เมือง จ.ระยอง 21150 โทรศัพท์ 0 3868 5480 0 3869 1480
การสงเคราะห์กายอุปกรณ์และอุปกรณ์ช่วยเหลือความบกพร่องทางร่างกาย
เมืองพัทยา โดยกองสวัสดิการสังคม งานสังคมสงเคราะห์ทั่วไป จะดำเนินการสำรวจประชาชนประชาชนที่ประสบความเดือดร้อน เพื่อมอบกายอุปกรณ์ ได้แก่ แว่นสายตาสำหรับผู้สูงอายุ แว่นสายตา สำหรับเด็ก รถเข็นนั่งสำหรับคนพิการ ไม้ค้ำยัน ไม้เท้า ที่หัดเดิน 4 ขา (Walker) เป็นต้น
โดยผู้ที่ขอรับการสงเคราะห์กายอุปกรณ์ดังกล่าวต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
-
- เป็นผู้มีภูมิลำเนาและอาศัยอยู่ในเขตเมืองพัทยา (ยึดตามทะเบียนบ้านของผู้ขอ)
- เป็นผู้มีรายได้น้อย ฐานะยากจน
- เป็นผู้ที่มีปัญหาทางสายตาและบกพร่องทางร่างกาย เช่น สายตายาว สายตาสั้น พิการทางการเคลื่อนไหว เช่น เดินไม่ได้ เดินไม่สะดวกซึ่งจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ช่วย
หลักฐานและเอกสารที่ต้องเตรียมมาเพื่อขอรับการพิจารณา
-
- สำเนาทะเบียนบ้าน
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเราใบสูจิบัตร
- สำหรับผู้ที่ต้องการขอรับรถเข็นนั่ง ต้องมีใบรับรองแพทย์จากโรงพยาบาลของรัฐว่าเห็นสมควรให้ใช้รถเข็นนั่งได้
** หมายเหตุ เอกสารทุกฉบับถ่ายสำเนาพร้อมเซ็นชื่อรับรอง อย่างละ 1 ฉบับ
เมืองพัทยา โดยฝ่ายสังคมสงเคราะห์ ส่วนการสงเคราะห์และสวัสดิการ จะดำเนินการสำรวจประชาชนประชาชนที่ประสบความเดือดร้อน เพื่อมอบกายอุปกรณ์ ได้แก่ แว่นสายตาสำหรับผู้สูงอายุ แว่นสายตา สำหรับเด็ก รถเข็นนั่งสำหรับคนพิการ ไม้ค้ำยัน ไม้เท้า ที่หัดเดิน 4 ขา (Walker) เป็นต้น
4.การให้การสงเคราะห์ครอบครัวผู้มีรายได้น้อย
เงินสงเคราะห์ครอบครัวผู้มีรายได้น้อย เป็นการช่วยเหลือเป็นครั้งคราว จำนวนครั้งละไม่เกิน 2,000 บาทต่อครอบครัว แต่เมืองพัทยายังไม่มีข้อบัญญัติหรือระเบียบ ที่สามารถรองรับการจ่ายเงินสงเคราะห์ครอบครัวได้ จึงประสานความช่วยเหลือไปยังหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้การสงเคราะห์ตามความเหมาะสม เช่น สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ เขต 3 ศูนย์พัฒนาสังคมหน่วยที่ 8 เป็นต้น
เอกสารประกอบการขอรับเงินสงเคราะห์
-
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหัวหน้าครอบครัว
- สำเนาทะเบียนบ้าน
- รูปถ่ายสภาพความเดือดร้อน
- แบบขอรับการช่วยเหลือผู้ประสบความเดือดร้อน
5.การให้การสงเคราะห์ครอบครัวผู้มีรายได้น้อย
การส่งเสริมและให้การสนับสนุนองค์กรสังคมสงเคราะห์ภาคเอกชนเป็นอีกภารกิจของงานสังคมสงเคราะห์ โดยการประชาสัมพันธ์ให้หน่วยงานต่างๆ ที่ประสบปัญหาในการทำงานเนื่องจากงบประมาณที่ไม่เพียงพอ ตลอดจนการนำและเป็นพี่เลี้ยงในการเขียนโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากเมืองพัทยา (งบอุดหนุน)
6.การกู้ยืมเงิน “กองทุนกู้ยืม” ของคนพิการเพื่อการประกอบอาชีพ
เอกสารการขอกู้
-
- สำเนาสมุดหรือบัตรประจำตัวคนพิการ (ถ่ายเอกสารทุกหน้าที่เจ้าหน้าที่บันทึก)
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
- สำเนาทะเบียนบ้าน (ภายในจังหวัดชลบุรี)
- รูปถ่ายเต็มตัว ขนาด 5 นิ้ว (แสดงให้เห็นถึงลักษณะความพิการ)
- ใบประมาณค่าใช้จ่าย และแผ่นพับโฆษณาสินค้า (ถ้ามี)
- แผนที่แสดงที่ตั้งบ้านพักอาศัย / แผนที่แสดงสถานที่ประกอบอาชีพ (กรณีที่พักอาศัยและสถานที่ประกอบอาชีพอยู่คนละแห่ง)
- หนังสือสัญญาเช่าบ้าน (กรณีไม่มีที่อยู่เป็นของตนเอง,เช่าบ้านอยู่)
- หนังสือยินยอมคู่สมรสอนุญาตให้กู้
กรณีดูแลคนพิการขอยื่นกู้ แทนคนพิการ แนบเอกสารเพิ่มเติมดังนี้
-
- หนังสือรับรองการเป็นผู้ดูแลคนพิการ
- คนพิการที่มีความพิการทางการมองเห็น ทางการได้ยิน หรือสื่อความหมาย ทางกาย หรือการเคลื่อนไหว หรือมีความพิการซ้ำซ้อน (มากกว่า 1 ประเภทความพิการ)