Pattaya City

งานสัมมนา “กฎหมายการค้าประเวณี : แก้ไขหรือยกเลิก” แนวทางแก้ไขปัญหาการบังคับใช้พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ. 2539

งานสัมมนา “กฎหมายการค้าประเวณี : แก้ไขหรือยกเลิก” แนวทางแก้ไขปัญหาการบังคับใช้พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ. 2539

วันนี้ (14 มี.ค. 65) เวลา 14.00 น. นายธัญวัจน์​ กมลวงศ์วัฒน์ โฆษกคณะกรรมาธิการกิจการเด็กเยาวชน​ สตรี​ ผู้สูงอายุ​ ผู้พิการกลุ่มชาติพันธุ์และผู้มีความหลากหลายทางเพศสภาผู้แทนราษฎร​ และประธานคณะอนุกรรมาธิการเพื่อพิจารณาศึกษาปัญหาด้านเด็กเยาวชนสตรี​ และผู้มีความหลากหลายทางเพศ
เป็นประธานเปิดงานสัมมนา “กฎหมายการค้าประเวณี : แก้ไขหรือยกเลิก” โดยมีนางสาวฐิติ​ลักษณ์​ คำพา​ รองผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี​
นายบรรลือ กุลละวณิชย์ รองนายกเมืองพัทยา พร้อมด้วยคณะกรรมาธิการกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการ กลุ่มชาติพันธุ์และผู้มีความหลากหลายทางเพศ สภาผู้แทนราษฎร มูลนิธิเพื่อนพนักงานบริการ (SWING) พัทยา มูลนิธิชิสเตอร์ พัทยาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมสัมมนาฯ ณ ห้องบัวสวรรค์ ชั้น 1 โรงแรมพูลแมนพัทยา จี

การค้าประเวณีถือเป็นอาชีพที่มีมานานตั้งแต่ในอดีต โดยเป็นอาชีพที่ถูกกฎหมายและสังคม ยอมรับ แต่ต่อมาสังคมโลกได้เกิดการเปลี่ยนแปลงมีการขยายตัวด้านการท่องเที่ยว การเจริญเติบโตทางสังคม เศรษฐกิจและการเมือง จนเกิดธุรกิจการค้าประเวณีและได้เกิดปัญหาสังคมต่าง ๆ ตามมา จนกระทั่งองค์การสหประชาชาติได้เรียกร้องให้มีการยกเลิกการค้าประเวณีทั่วโลก เพื่อยกเลิกให้การค้าประเวณีเป็นสิ่งถูกกฎหมาย ซึ่งประเทศไทยได้เข้าร่วมด้วยและมีการออกกฎหมายในการป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณีขึ้นในประเทศไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2503 ในชื่อ พระราชบัญญัติปรามการค้าประเวณีพ.ศ. 2503 และต่อมาได้มีการยกเลิกกฎหมายฉบับตังกล่าวและตรากฎหมายฉบับใหม่ คือ พระราชบัญญัติ
ป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ. 2539 ซึ่งเป็นกฎหมายหลักที่บังคับใช้ในการป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี โดยมีการกำหนดรูปแบบ ลักษณะความผิดและบทลงโทษกับผู้กระทำความผิดที่เกี่ยวกับการค้าประเวณีไว้ แต่เนื่องจากกฎหมายฉบับนี้มีผลบังคับใช้มาเป็นระยะเวลายาวนานแล้วทำให้เกิดปัญหาในการบังคับใช้หลายประการ เช่น การกำหนดความรับผิดของผู้ค้าประเวณีและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการค้าประเวณีไว้อย่างกว้างเกินไป ทำให้เกิดปัญหาการตีความในการดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดรวมถึงกรณีที่ศาลได้วางหลักเกณฑ์ในการพิจารณาความผิดสำเร็จในความผิดฐานเป็นผู้ติดต่อชักชวนแนะนำตัว เพื่อการค้าประเวณี หากเพียงมีการตกลงย่อมถือเป็นความผิดสำเร็จแล้ว ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาการล่อซื้อกับผู้ที่ทำงานบริการทางเพศเพื่อจับกุมดำเนินคดี โดยจากปัญหาเหล่านี้ส่งผลให้เกิดปัญหาการตีตราทำให้พนักงานบริการเป็นอาชญากรและเป็นผู้กระทำความผิดตามกฎหมายดังกล่าว อันเป็นการกระทบต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และความปลอดภัยในการทำงานของประซาชน รวมถึงสิทธิขั้นพื้นฐานที่ประชาชนทุกคนต้องได้รับการคุ้มครองอย่างเท่าเทียมกัน

ทั้งนี้ คณะกรรมาธิการกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการ กลุ่มชาติพันธุ์ และผู้มี
ความหลากหลายทางเพศ มีหน้าที่และอำนาจกระทำกิจการ พิจารณาสอบหาข้อเท็จจริงหรือศึกษาเรื่องใดๆ ที่เกี่ยวกับเต็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการ กลุ่มชาติพันธุ์ และผู้มีความหลากหลายทางเพศ รวมทั้งประสานกับองค์กรภายในประเทศ ต่างประเทศและประชาคมนานาชาติเกี่ยวกับแนวทางความร่วมมือเพื่อแก้ปัญหาและส่งเสริมการคุ้มครองสิทธิและการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการกลุ่มชาติพันธุ์ และผู้มีความหลากหลายทางเพศ ได้มองเห็นบทบาทของตนเองในเชิงนิติบัญญัติในการที่จะมีส่วนร่วมในการพิจารณาหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการค้าประเวณี เพื่อเป็นการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชน และรักษาความสงบเรียบร้อยในบ้านเมือง จึงเห็นชอบให้มีการจัดการสัมมนา เรื่อง”กฎหมายการค้าประเวณี : แก้ไขหรือยกเลิก?” โดยมีจุดประสงค์ให้ทุกภาคส่วนร่วมกันเสนอประเด็นปัญหาของการบังคับใช้พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ. 2539 และร่วมกันแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางการแก้ไขปัญหาดังกล่าวว่าจะมีการปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ. 2539 ไปในทิศทางใดหรือประเทศไทยควรจะยกเลิกการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าว อันจะนำไปสู่การขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาการบังคับใช้พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ. 2539 ให้เกิดผลที่เป็นรูปธรรมต่อไปhttps://m.facebook.com/story.php?story_fbid=328959612589287&id=100064257536820

Last modified: 15 มีนาคม 2022