Pattaya City

สำนักสวัสดิการสังคม

ภาระและหน้าที่

พันธกิจ

สำนักพัฒนาสังคมมีอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพและความมั่นคงในชีวิตของประชาชน สร้างความเป็นธรรมและความเสมอภาคในการดำรงชีวิต การส่งเสริมคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิของบุคคล พัฒนาศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคประชาคม การส่งเสริมและพัฒนาสถาบันครอบครัว ตลอดจนศึกษาวิเคราะห์วิจัยปัญหาและ แนวทางการดำเนินงานการพัฒนาสังคม และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง

 

หัวหน้าหน่วยงาน/โครงสร้างหน่วยงาน

 

รองปลัดเมืองพัทยา
รก.ผู้อำนวยการสำนักสวัสดิการสังคม

นายศิวัช บุญเกิด

หัวหน้าฝ่ายบริหารงานทั่วไป

ว่าที่ ร.อ. ธนกฤต สิริปัญญาโสภณ

ส่วนพัฒนาชุมชนและส่งเสริมอาชีพ

รก.ผู้อำนวยการส่วนพัฒนาชุมชนและส่งเสริมอาชีพ

นางสาวสายใจ พาหุฬา

หัวหน้าฝ่ายพัฒนาชุมชน

นายธนวัฒน์ ตาลทอง

หัวหน้าฝ่ายส่งเสริมและพัฒนาอาชีพ

นางสาวสายใจ พาหุฬา

ส่วนสังคมสงเคราะห์

รก.ผู้อำนวยการส่วนสังคมสงเคราะห์

นายธนวัฒน์ ตาลทอง

รก.หัวหน้าฝ่ายสังคมสงเคราะห์

นายธนวัฒน์ ตาลทอง

รก.หัวหน้าฝ่ายส่งเสริมสวัสดิการสังคม

นายชรินทร์ พ่วงสกุลสุข

 
 
 

บริการ

มีอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพและความมั่นคงในชีวิตของประชาชน สร้างความเป็นธรรมและความเสมอภาคในการดำรงชีวิต การส่งเสริมคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิของบุคคล พัฒนาศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ การส่งเสริมการมี ส่วนร่วมของภาคประชาคม การส่งเสริมและพัฒนาสถาบันครอบครัว ตลอดจนศึกษาวิเคราะห์วิจัยปัญหาและแนวทางการดำเนินงานการพัฒนาสังคม และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง

บริการ

ส่วนการบริการ แบ่งส่วนการบริการตามโครงสร้าง ออกเป็น

1. ส่วนพัฒนาชุมชน แบ่งส่วนงานย่อยเพื่อให้บริการประชาชน

1.1 ฝ่ายพัฒนาชุมชนและกิจการประชาชน

1.2 ฝ่ายพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน

2. ส่วนสงเคราะห์และสวัสดิการสังคม

2.1 ฝ่ายสังคมสงเคราะห์

2.2 ฝ่ายส่งเสริมสังคม

1. ส่วนการพัฒนาชุมชน

1.1 ฝ่ายส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพชุมชน

ภาระหน้าที่ที่จะต้องให้การช่วยเหลือชุมชน เป็นองค์ประกอบที่จะต้องดำเนินการมีมากมายหลายอย่าง เช่น การสำรวจกำหนดอาณาเขต คำนวณหาพื้นที่ จัดทำแผนที่ชุมชนและแผนที่รวมชุมชนทั้งหมดใหม่ทุกครั้ง สำรวจเลขที่บ้านของชุมชน ประสานงานทะเบียนราษฎรเพื่อจัดทำบัญชีประชากรของชุมชนคัดแยกเพศชายหญิงและคัดแยกปีเกิด ประกาศจัดตั้ง การรับสมัครเลือกตั้ง การประกาศวันเลือกตั้ง การแต่งตั้งคณะกรรมการเลือกตั้ง การจัดทำรูปรายชื่อผู้ลงสมัครเลือกตั้งปิดประกาศให้ประชาชนได้รับทราบ การจัดทำบัญชีผู้มีสิทธิเลือกตั้ง การเตรียมสถานที่เลือกตั้ง การจัดทำใบลงคะแนนเอกสารเกี่ยวกับการเลือกตั้ง การประกาศผลได้และนัดประชุมกำหนดตำแหน่งเพื่อแต่งตั้งคณะกรรมการชุมชน นอกจากนี้ยังมีการแต่งตั้งผู้ช่วยกรรมการชุมชน กรรมการที่ปรึกษาชุมชนตามวาระการประชุมของแต่ละชุมชนที่กำหนด การเข้าร่วมประชุมประจำเดือนเพื่อให้ความช่วยเหลือกับชุมชนในเบื้องต้น และการอำนวยความสะดวกแก่ชุมชนโดยทั่วไป

1. การประชาคมและจัดทำแผนชุมชนในแต่ละปี

จำนวนชุมชนที่เพิ่มขึ้นในแต่ละปี ทำให้ภาระหน้าที่การประชาคมกับชุมชนเพิ่มขึ้นตาม การจัดเตรียมงานตลอดจนการส่งเสริมให้ความรู้ความเข้าใจกับประชาชนในด้านการประชาคมไม่ว่าจะเป็นโครงการจากภาครัฐบาล เช่น โครงการชุมชนพอเพียง หรือ โครงการอื่นๆ กับประชาชนในชุมชนเดิมและชุมชนใหม่ๆ ที่จะต้องให้คำอธิบายให้ความรู้ความเข้าใจกับประชาชน การประชาคมเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นร่วมกันคิดร่วมกันทำ เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน การประสานงานกับประชาชนไม่ว่าจะเป็นการประชาสัมพันธ์ การแจ้งให้ท่านเจ้าบ้านเข้าร่วมประชุม การจัดหาประชาชนเข้ามาเป็นคณะทำงานในโครงการภาครัฐ ตลอดจนการช่วยเหลือชุมชนดำเนินการจนแล้วเสร็จ การติดตามผลการทำงานและประเมินผลแจ้งให้จังหวัดทราบ ในเรื่องการประชาคมจัดทำแผนชุมชนก็เช่นกัน ผู้ปฏิบัติงานจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในการจัดทำแผนชุมชนและสื่อความหมายให้ประชาชนเข้าใจถึงวัตถุประสงค์และประโยชน์ของการจัดทำแผนชุมชน การรวบรวมเนื้อหาจัดทำเป็นแผนชุมชนนำเสนออำเภอ จังหวัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

โดยการประชาคมจัดทำแผนชุมชนเพื่อรับเรื่องราวร้องทุกข์ต่างๆ จากนั้นแยกประเภทแล้วส่งตามหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทำ เพื่อทำแผนพัฒนาเป็นแผนเมืองต่อไป

– ปัญหาของชาวบ้าน มาลงเรื่องร้องเรียนขาดอะไร,ความ ต้องการของประชาชน แล้วรวบรวมผลแยกตามประเภท

2. โครงการต่าง ๆ ที่มีการปรับเปลี่ยนและเพิ่มมากขึ้น

โครงการต่าง ๆ ในแต่ละปีจะมีการปรับเปลี่ยนโครงการเพื่อให้เกิดความเหมาะสมหรือเพิ่มพูนเกิดประสิทธิภาพประสิทธิผล ตลอดจนการเพิ่มโครงการใหม่ ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการสู่ภาคประชาชนโดยรวม การทำงานต้องมีการหาข้อมูลเพิ่มมากขึ้นเพื่อนำมาใช้ในทางปฏิบัติ

3. การส่งเสริมการจัดตั้งกลุ่มอาชีพต่าง ๆ ให้กับชุมชน

การส่งเสริมให้ชุมชนได้จัดตั้งเป็นกลุ่มอาชีพเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนและเพื่อให้ชุมชนสามารถยืนได้ด้วยลำแข้งของตนเอง ถือหน้าที่ที่จะต้องส่งเสริมและสร้างกลุ่มอาชีพให้มีขึ้นในชุมชน เดิมปี 2551 มีการจัดตั้ง 7 กลุ่มมี 79 คน ปี 2552 จัดตั้งเป็น 13 กลุ่มมี 178 คน ปี 2553 จัดตั้งเพิ่มขึ้นเป็น 16 กลุ่มมี 212 คน ซึ่งในปัจจุบันกลุ่มอาชีพของชุมชนยังจัดตั้งไม่ทั่วถึงครบทุกชุมชน เนื่องจากมีปัจจัยในหลาย ๆ อย่างที่เป็นอุปสรรคซึ่งจะต้องหาทางแก้ไข เช่น กลุ่มไม่สามารถจัดตั้งได้หาบุคคลไม่ได้ หรือ กลุ่มไม่สามารถหาแหล่งจำหน่ายได้ เป็นต้น การจัดฝึกอบรมทางด้านอาชีพให้กับชุมชนจำเป็นจะต้องหาผู้ชำนาญการในด้านต่างๆ การจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ มาสนับสนุนให้ความรู้และฝึกสอนให้กับชุมชนจนสามารถนำไปประกอบเป็นอาชีพและจัดตั้งเป็นกลุ่มอาชีพขึ้นมาได้

4. การแก้ไขปัญหาต่าง ๆ และการสนองรับความต้องการของชุมชน

ชุมชนแต่ละชุมชนย่อมมีปัญหาและความต้องการที่ไม่เหมือนกันและมีอย่างมากมาย ในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ให้กับชุมชน จะต้องมีความรอบรู้และเป็นผู้ที่มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ตลอดจนต้องรู้จักหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อประสานงานในการนำหน่วยงานนั้น ๆ มาแก้ไขปัญหาให้กับชุมชน และรู้จักแก้ปัญหา ซึ่งในแต่ละปี จะมีประชาชนแจ้งคำร้องหรือติดต่อขอให้ช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง

5. การเพิ่มศักยภาพให้กับชุมชนในด้านต่าง ๆ เช่น จัดหาสถานที่สร้างที่ทำการชุมชนด้วยการสำรวจหาที่ดินสาธารณะประโยชน์, จัดฝึกอบรมให้ความรู้กับกรรมการชุมชนและประชาชนทั่วไปเป็นประจำ เป็นต้น

6. การให้การบริการแก่ชุมชนและประชาชนโดยทั่วไปซึ่งนับวันจะมีปริมาณเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากประชากรในเขตเมืองพัทยามีปริมาณมากรวมทั้งประชากรแฝงที่เข้ามาอยู่อาศัยหรือทำงานชั่วคราว การให้การบริการแก่ประชาชนในชุมชน เช่น การออกหน่วยบริการเคลื่อนที่เมืองพัทยา โดยนำเอาหน่วยงานบริการของเมืองพัทยาและหน่วยงานอื่นที่เป็นหน่วยงานให้บริการลงสู่ชุมชนต่างๆ ตลอดทั้งปี

ตารางเปรียบเทียบการบริการ

ภารกิจ / งาน / กิจกรรม

ปี 2551

ปี 2552

เพิ่มขึ้น +

ลดลง –

ปี 2553

เพิ่มขึ้น +

ลดลง –

การจัดตั้งชุมชนและช่วยเหลือชุมชน

30

33

+9.9%

34

+10.2%

การแต่งตั้งคณะกรรมการชุมชน(จำนวนกลุ่ม)

30

33

+9.9%

34

+10.2%

การจัดทำบัญชีประชากรชุมชน (จำนวนคน)

44,709

51,282

+14.7%

52,735

+17.9%

การจัดประชุมชุมชนและเข้าร่วมประชุมประจำเดือนกับชุมชน

360

396

+10%

408

+13.3%

การจัดการแข่งขันกีฬาชุมชน (จำนวนคน)

600

660

+10%

680

+13.3%

การให้การบริการออกหน่วยเคลื่อนที่เมืองพัทยา (ผู้เข้าร่วมและรับบริการ)

10

11

+10%

11

+10%

การจัดตั้งกลุ่มอาชีพ ( จำนวนกลุ่ม)

7

13

+85%

16

+128.5%

การจัดประชาคมจัดทำแผนชุมชนประจำปี

30

33

+9.9%

34

+10.2%

การจัดประชาคมชุมชนโครงการภาครัฐ

30

33

+9.9%

34

+10.2%

การจัดโครงการสนับสนุนกลุ่มอาชีพต่าง ๆ ให้เข้มแข็ง

5

12

+140%

15

+200%

ประสานงานเกี่ยวกับคำร้องชุมชน          
การอบรมอาชีพให้แก่ประชาชน

100

160

60%

200

100%

กิจกรรมส่งเสริมการเพิ่มรายได้ให้แก่ชุมชน

10

15

50%

17

70%

สนับสนุนการสร้างองค์กรชุมชน

1

100%

3

300%

สนับสนุนการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ชุมชน

1

100%

2

200%

ดำเนินการตามนโนบายของรัฐบาล

30

33

9.9%

34

10.2%

การบริการด้านการพัฒนาชุมชน

งานบริการด้านการออกบู๊ทเคลื่อนที่ ให้บริการประชาชนด้านต่างๆแก่พี่น้องประชาชน ร่วมกับส่วนงานภาคเอกชนร่วมออกบู๊ท โดยมีการประชาสัมพันธ์โดยรถแห่ของธงฟ้า กระจายข่าวให้ชุมชน และส่วนงานทราบ การแจกใบปลิวเพื่อประชาสัมพันธ์โครงการแจกตามชุมชน รวมถึงการติดป้ายโฆษณาแผ่นไวนีลและการประชาสัมพันธ์ผ่านเสียงตามสายของชุมชนให้ได้ทราบโดยทั่วกัน โดยมีการออกบู๊ทให้บริการในด้านต่างๆ เช่น จัดหน่วยงานด้านต่างๆ ออกบริการให้ประชาชนเดือนละ 1 ครั้ง ได้แก่

1. การจัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ ส่วนงานสาธารณะสุข ให้บริการตรวจรักษาโรค

2. การสาธิตการป้องกันอัคคีภัย ด้านการดับเพลิง

3. บริการด้านอาชีพ ความสวยงาม มีร้านเสริมสวยเข้าร่วม

4. การจัดจำหน่ายสินค้าราคาถูก สินค้าอุปโภคบริโภค ในเครือสหพัฒน์ สินค้าธงฟ้าราคาถูก

5. บู๊ทของไปรษณีย์ อำเภอบางละมุง

6. การให้บริการของสำนักปลัด งานบัตรประชาชน ให้บริการออกหน่วยเคลื่อนที่ การบริการทำบัตรประชาชน ใน 3 ชุมชน

7. การเผยแพร่ข้อมูล ข่าวสาร “เพื่อแก้ปัญหาคนไม่ว่างงาน” การรับสมัครงาน มีประกาศรับสมัครตำแหน่งงานว่าง โดยข้อมูลส่งมาจากโรงแรมว่ามีตำแหน่งงานว่างที่ไหน ส่งมาว่าต้องการพนักงานตำแหน่งไหน

8. โครงการอบรมอาชีพสัญจร “เพื่อสนับสนุนด้านอาชีพ และการค้าขาย” ออกบู๊ทเพื่อการประกอบอาชีพค้าขาย โดยชมรมเชฟ เมืองพัทยา

สาธิตการทำอาหาร โดยเชฟจากโรงแรมเอราวัณ เช่นเมนูข้าวหมกไก่, ผัดไทยไก่ทอด, เรียนแล้วให้สูตรอาหาร เพื่อนำไปประกอบอาชีพโดยประกาศลงทะเบียนหน้างาน

โครงการสนับสนุนด้านอาชีพ

1. โครงการฝึกอบรมด้านอาชีพ “การนวดแผนโบราณ” (เปิดรับเป็นรอบ) มีศูนย์ประกอบอาชีพ โดยมีอาจารย์มาทำการฝึกสอน หลังจากผ่านการอบรมจะได้รับใบประกาศของกระทรวงสาธารณะสุขปัจจุบันมีศูนย์อบรมอยู่ที่

1.1 วัดชัยมงคล

1.2 ชุมชนลานโพธิ์

1.3 ชุมชนร้อยหลัง

2. สนับสนุนกลุ่มอาชีพต่างๆ ผลิตภัณฑ์ชุมชน

มีกลุ่มอาชีพ 17 กลุ่ม ขอจัดตั้งกลุ่ม มีผลิตภัณฑ์ให้ความรู้ด้านการสอน สาธิต และขึ้นทะเบียน จดทะเบียน และร่วมออกบู๊ทจำหน่ายสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชน โดยการสนับสนุนด้านอุปกรณ์ เครื่องมือในการสาธิต ครั้งแรก หลังจากนั้นสมาชิกมีการร่วมกลุ่ม ร่วมหุ้นกันจัดตั้งผลิตภัณฑ์ชุมชน โดยเล็งเห็นถึงองค์ความรู้ของภูมิปัญญาชาวบ้าน…. และเพื่อให้ผลิตภัณฑ์ชุมชนมีศักยภาพด้านการแข่งขันทางการตลาด การเพิ่มยอดขาย ตลอดจนพัฒนาช่องทางการจำหน่ายสินค้าออนไลน์ เพื่อเกิดระบบทุนหมุนเวียน ทางส่วนงานจึงมีโครงการสนับสนุน คือ “โครงการวิสาหกิจชุมชน” เพื่อบูรณาการองค์ความรู้ โดยจัดระบบด้านการอบรม ให้คำแนะนำ ตลอดจนการออกแบบภาพลักษณ์ที่ทันสมัย ดึงดูด จนถึงเปิดช่องทางการจัดจำหน่ายระบบออนไลน์

3. งานสวัสดิการสังคม

4) กองทุนสวัสดิการ

เริ่มดำเนินการได้ 7 เดือน ช่วยเหลือคน เพื่อให้บริการอย่างทั่วถึงกับคนทุกระดับอายุ ให้ออมวันละ 1 บาท ครบ ทางส่วนราชการสมทบอีก 1 บาท ทุกเพศทุกวัย พัฒนาคุณภาพชีวิต ลงชื่อที่ชุมชน ชุมชนส่งเรื่องมาส่วนงาน

4) ฌาปนกิจสงเคราะห์ ร่วมก่อตั้งช่วยเหลือศพ กรณีเสียชีวิต

5) โครงการที่อยู่อาศัยของคนยากจน

“โครงการบ้านมั่นคง” มาจากการประชาคม เริ่มที่เขาน้อย ให้ความช่วยเหลือคนยากจน ที่อยากมีบ้านพักอาศัย เช่นกรณีเช่าบ้านพัก โดยจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์ เป็นองค์กรพัฒนาชุมชน จัดตั้ง “กลุ่มออมเงินเพื่อบ้าน ” เพื่อทำเรื่องขออนุมัติสนับสนุนโครงการของส่วนราชการ

โดยวัตถุประสงค์เพื่อ การพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคม ที่อยู่อาศัย, บ้าน, อาหาร, อาชีพ

ฝ่ายส่งเสริมและฝึกอาชีพ

1. งานส่งเสริมการสร้างรายได้ ดำเนินงานด้านต่าง ๆ ดังนี้

– จัดทำข้อมูลข่าวสารแรงงาน ข้อมูลตำแหน่งงานว่าง และประชาสัมพันธ์

– ส่งเสริมกระบวนการสร้างอาชีพอย่างครบวงจร

– จัดตลาดนัดแรงงาน และสนับสนุนกิจกรรมอาสาสมัครแรงงาน

– จัดหาแหล่งเงินทุนเพื่อสนับสนุนการประกอบอาชีพ

– สนับสนุนการจัดตั้งกองทุนเพื่อการประกอบอาชีพ

– สนับสนุนการทำธุรกิจขนาดย่อม

-ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อช่วยเหลือการมีงานทำของประชาชน

-สนับสนุนนโยบายแก้ไขปัญหาความยากจน

-สนับสนุนการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น

2. งานศูนย์ฝึกอบรมอาชีพ ดำเนินงานด้านต่าง ๆ ดังนี้

– ดูแลศูนย์ฝึกอบรมอาชีพ

– จัดอบรมอาชีพ ให้แก่ประชาชนทั่วไป

– จัดทำหลักสูตรเพื่อการอบรมอาชีพ

– สนับสนุนเพื่อพัฒนารายได้ ให้แก่ประชาชนทั่วๆไป

– ติดตามประเมินผลการฝึกอบรม

– จัดทำโครงการเพื่อสนับสนุนการพัฒนารายได้ของประชาชน

– ประสานงานหน่วยงานต่าง ๆ ที่สนับสนุนการประกอบอาชีพของประชาชน

ฝ่ายเศรษฐกิจชุมชน

1. งานส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน ดำเนินงานด้านต่าง ๆ ดังนี้

– สำรวจกลุ่มอาชีพต่าง ๆ ในชุมชน และจัดตั้งกลุ่มอาชีพ

– จัดทำข้อมูลกลุ่มอาชีพ และประชาสัมพันธ์ความก้าวหน้าผลิตภัณฑ์ตามสื่อต่าง ๆ

– จัดทำทะเบียนกลุ่ม ข้อบังคับ และบัญชีต่าง ๆ ของกลุ่ม

– อบรมและหาแนวทางการ พัฒนาผลิตภัณฑ์ของกลุ่ม

– จัดอบรมเพิ่มพูนความรู้ให้แก่กลุ่ม

– สนับสนุนกิจกรรมส่งเสริมการขายให้แก่กลุ่มอาชีพ

– สำรวจวัสดุ อุปกรณ์ ตรวจสอบให้พร้อมใช้งาน

– จัดตั้งศูนย์แสดงสินค้า

– จัดตลาดนัดชุมชน

– ดำเนินการตามนโยบายแก้ไขปัญหาความยากจน

2. งานพัฒนาฝีมือและส่งเสริมผลิตภัณฑ์ ดำเนินงานด้านต่าง ๆ ดังนี้

-จัดทำหลักสูตรต่าง ๆ ให้เป็นมาตรฐาน และความต้องการของตลาด

– หาแนวทางพัฒนารูปแบบและจัดอบรมความรู้เพิ่มเติมแก่กลุ่มอาชีพ

– จัดทำคู่มือเพื่อการศึกษาแก่บุคคลทั่วไป

– ประสานหน่วยงานเพื่อการพัฒนา

– จัดทำมาตรฐานเพื่อคัดสรรผลิตภัณฑ์

2. ส่วนการสงเคราะห์และสวัสดิการสังคม

ส่วนสงเคราะห์และสวัสดิการสังคม

มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดสวัสดิการสังคมแก่ประชาชนในเขตเมืองพัทยา โดยมุ่งเน้นการจัดสวัสดิการและการสงเคราะห์แก่เด็ก สตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส และผู้ประสบปัญหาทางสังคม ให้สามารถช่วยเหลือตนเองได้ตามศักยภาพ จัดสวัสดิการในรูปของสถานสงเคราะห์ บ้านพักฉุกเฉิน ศูนย์สร้างโอกาส และการส่งต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การจัดวางระบบและกำหนดเกณฑ์มาตรฐานการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาเด็ก ก่อนวัยเรียน ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนในพื้นที่เมืองพัทยา การสำรวจวิเคราะห์วิจัยสภาพปัญหา ประสานและสนับสนุนการดำเนินงานร่วมกับเครือข่ายในทุกระดับ ให้คำปรึกษา แนะนำแก่หน่วยงานภาคปฏิบัติ ติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงาน และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง โดยแบ่งงานภายในส่วนราชการ ดังนี้

  1. งานสงเคราะห์พิทักษ์ผู้พิการ

มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการดำเนินงานตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.๒๕๕๐ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยให้การพิทักษ์ คุ้มครอง ส่งเสริม สนับสนุนและสงเคราะห์ช่วยเหลือผู้พิการ ที่ประสบปัญหาความเดือดร้อนด้านต่าง ๆ การจัดหาที่พักชั่วคราว ทั้งการช่วยเหลือเฉพาะหน้าและการส่งต่อหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนประสานและสนับสนุนการดำเนินงานร่วมกับเครือข่ายในทุกระดับ และการปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง

** การขอมีบัตรประจำตัวคนพิการ

การขอมีบัตรประจำตัวคนพิการเป็นเอกสารที่สำคัญสำหรับคนพิการที่ใช้ประกอบการขอรับสวัสดิการต่างๆ จากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน เช่นการขอรับเงินสงเคราะห์เบี้ยยังชีพ การขอกู้เงินสวัสดิการ คนพิการเพื่อประกอบอาชีพ การรักษาพยาบาล เป็นต้น

งานสงเคราะห์ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส ผู้ประสบปัญหาทางสังคม

มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการดำเนินงานตามพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ.๒๕๔๖ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยให้การคุ้มครอง ส่งเสริม สนับสนุนและสงเคราะห์ช่วยเหลือผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส ผู้ประสบปัญหาทางสังคม ที่ประสบปัญหาความเดือดร้อนด้านต่างๆ การจัดหาที่พักชั่วคราว ทั้งการช่วยเหลือเฉพาะหน้าและการส่งต่อหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนประสานและสนับสนุนการดำเนินงานร่วมกับเครือข่ายในทุกระดับ และการปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง

ฝ่ายส่งเสริมสวัสดิการสังคม

งานจัดสวัสดิการและการสงเคราะห์ครอบครัว

มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการดำเนินงานตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม พ.ศ.๒๕๔๖และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง การพิทักษ์ ปกป้องคุ้มครอง และกำหนดแนวทางการพัฒนา ส่งเสริมศักยภาพความเข้มแข็งของครอบครัว ความเสมอภาคระหว่างหญิงชาย การจัดสวัสดิการและการให้การสงเคราะห์แก่ผู้ประสบปัญหาความเดือดร้อนในด้านต่างๆ ที่มิได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของกลุ่มงานใดโดยเฉพาะ ประสานการจัดหาที่อยู่อาศัย ตลอดจนสนับสนุนการดำเนินงานร่วมกับเครือข่ายในทุกระดับ และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง

งานส่งเสริมพิทักษ์เด็ก เยาวชน

มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการดำเนินงานตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.๒๕๔๖ และกฎหมาย ที่เกี่ยวข้อง จัดสวัสดิการและกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต ส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดการคุ้มครอง และพิทักษ์สิทธิ การช่วยเหลือกลุ่มเด็กเร่ร่อน เด็กกำพร้า เด็กที่อยู่ในภาวะยากลำบาก รวมทั้งเด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิดให้เข้ารับบริการในศูนย์สร้างโอกาสเพื่อเข้ารับการฟื้นฟูและพัฒนาให้สามารถกลับคืนสู่ครอบครัวหรือส่งต่อหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนในพื้นที่เมืองพัทยา การสำรวจวิเคราะห์ วิจัยสภาพปัญหา ประสานและสนับสนุนการดำเนินงานร่วมกับเครือข่ายในทุกระดับ และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง

ผู้มีสิทธิที่จะได้รับเงินสงเคราะห์เบี้ยยังชีพ ได้แก่ ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ป่วยเอดส์ ที่มีคุณสมบัติ

    1. มีภูมิลำเนาอาศัยอยู่ในเขตพื้นที่เมืองพัทยา (ทะเบียนบ้านท้องถิ่นเมืองพัทยา)
  1. มีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพ หรือถูกทอดทิ้ง หรือขาดผู้อุปการะเลี้ยงดู หรือ ไม่สามารถประกอบอาชีพเลี้ยงตนเองได้

2.1 ฝ่ายส่งเสริมสวัสดิการสังคมมีหน้าที่ปฏิบัติดังนี้

– การจัดสวัสดิการและการสงเคราะห์แก่เด็ก สตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส และผู้ประสบปัญหาทางสังคม ให้สามารถช่วยเหลือตนเองได้ตามศักยภาพ

– จัดสวัสดิการในรูปของสถานสงเคราะห์ บ้านพักฉุกเฉิน ศูนย์สร้างโอกาส และการส่งต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

– การสำรวจวิเคราะห์วิจัยสภาพปัญหา ประสานและสนับสนุนการดำเนินงานร่วมกับเครือข่ายในทุกระดับ ให้คำปรึกษา แนะนำแก่หน่วยงานภาคปฏิบัติ

– ติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงาน

– ดำเนินงานตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม พ.ศ.๒๕๔๖และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง การพิทักษ์ ปกป้องคุ้มครอง

– กำหนดแนวทางการพัฒนา ส่งเสริมศักยภาพความเข้มแข็งของครอบครัว ความเสมอภาคระหว่างหญิงชาย

– การจัดสวัสดิการและการให้การสงเคราะห์แก่ผู้ประสบปัญหาความเดือดร้อนในด้านต่าง ๆ ที่มิได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของกลุ่มงานใดโดยเฉพาะ ประสานการจัดหาที่อยู่อาศัย ตลอดจนสนับสนุนการดำเนินงานร่วมกับเครือข่ายในทุกระดับ และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง

โครงการซึ่งถือได้ว่าเป็นการบริการประชาชน ในปี 2554 ที่ผ่านมา

1. โครงการแก้ไขปัญหาบุคคลเร่ร่อน ขอทาน

การดำเนินงาน – กองสวัสดิการสังคม เมืองพัทยาร่วมกับฝ่ายรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคง สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จังหวัดชลบุรี หน่วยงานภาครัฐและเอกชน ทำการสำรวจและให้ความช่วยเหลือบุคคลเร่ร่อน ขอทาน ในเขตพื้นที่เมืองพัทยา ตามแผนการทำงานที่ได้ตั้งไว้และตามคำร้องของประชาชน ผ่านทางโทรศัพท์โดยตรงและทาง Pattaya City Call Center 1337 เพื่อให้ป้องกันบุคคลดังกล่าวก่อความเดือดร้อนรำคาญให้กับประชาชนและนักท่องเที่ยว และทำให้เกิดภาพลักษณ์ที่สวยงามในฐานะที่เมืองพัทยาเป็นเมืองท่องเที่ยวสำคัญระดับโลก อีกทั้งยังเป็นการให้ความช่วยเหลือบุคคลเหล่านี้ด้วยการนำส่งไปยังสถานสงเคราะห์ต่างๆ เพื่อให้บุคคลเหล่านี้ได้มีที่พักพิงและได้รับการรักษาพยาบาลอย่างถูกวิธีกรณีที่มีอาการเจ็บป่วย โดยได้กำหนดเป้าไว้ที่บุคคลเร่ร่อน ขอทานในเขตเมืองพัทยาและได้มีการดำเนินการให้ความช่วยเหลือดังต่อไปนี้

ระยะเวลาดำเนินการ – ตุลาคม 2553 – กันยายน 2554

2. โครงการสนับสนุนการออกกำลังกายของเยาวชนและประชาชน

การดำเนินงาน – เป็นการจัดกิจกรรมการเต้นแอโรบิคให้กับประชาชนในชุมชน ซึ่งในปีที่ผ่านมามีเยาวชนและประชาชนจากชุมชนต่าง ๆ ในเขตเมืองพัทยาให้ความสนใจทั้งสิ้น 12 ชุมชนดังนี้

    1. ชุมชนโรงไม้ขีด
    2. ชุมชนบ้านหัวทุ่ง
    3. ชุมชนทัพพระยา
    4. ชุมชนวัดชัยมงคล
    5. ชุมชนลานโพธิ์
    6. ชุมชนไปรษณีย์
    7. ชุมชนซอย 6 ยศศักดิ์
    8. ชุมชนหนองใหญ่
    9. ชุมชนวัดบุณย์กัญจนาราม
    10. ชุมชนหนองอ้อ
    11. ชุมชนบ้านกระบก 33
    12. ชุมชนชุมสาย

ระยะเวลาดำเนินงาน – ตุลาคม 2553 – กันยายน 2554

  1. 3. โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กในชุมชนแออัด

การดำเนินงาน – จัดกิจกรรมโดยการหาวิทยากร ครู และเจ้าหน้าที่เข้าไปให้ความรู้เด็กและเยาวชนภายในชุมชนแออัดในเขตเมืองพัทยา ยกตัวอย่างเช่น การสอนพิเศษเด็กในช่วงเย็นโดยไม่คิดเงิน กิจกรรมการเล่านิทานหุ่นมือ การฝึกอาชีพหรืองานหัตถกรรมและงานศิลปะต่าง ๆ การให้ความรู้ในการป้องกันยาเสพติดรวมถึงโทษและพิษภัยของยาเสพติด การความรู้เรื่องโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เป็นต้นโดยสลับสับเปลี่ยนหมุนเวียนกันไปในแต่ละชุมชนตามความเหมาะสม โดยจะมีการจัดกิจกรรมในเขตชุมชนเมืองพัทยาจำนวน 2 ครั้ง และได้ตั้งเป้าหมายไว้ว่าจะมีผู้เข้าร่วมโครงการครั้งละไม่ต่ำกว่า 300 คน

ระยะเวลาดำเนินงาน – ธันวาคม 2553 – มีนาคม 2554 และ มิถุนายน 2554 – สิงหาคม 2554

4. โครงการห้องเรียนทดลองเพื่อการจัดการสถานะบุคคลในชุมชน

วิธีการดำเนินงาน – เป็นการจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อหาทางช่วยเหลือและแก้ปัญหาบุคคลไร้สถานะในเขตเมืองพัทยา โดยเชิญกรรมการชุมชนและหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนที่มีความเกี่ยวข้องกับกระบวนการทางสถานะบุคคลทั้งในเขตเมืองพัทยาและพื้นที่ใกล้เคียง มาทำการอบรม ให้ความรู้ถึงกระบวนการในการดำเนินการให้ความช่วยเหลือและแก้ปัญหาผู้ที่ไม่มีสถานะบุคคล ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันและสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีแบบแผน เป็นขั้นตอนที่สามารถปฏิบัติได้จริงตามหลักทางกฎหมาย รวมถึงการลงพื้นที่สืบค้น สืบสวนข้อเท็จจริงข้อมูลบุคคลไร้สถานะของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติและตัวผู้ไม่มีสถานะทางทะเบียนราษฎรเองด้วย โดยมีเป้าหมายที่กลุ่มบุคคลผู้ไร้สถานะทางทะเบียนราษฎร์ในเขตเมืองพัทยา

ระยะเวลาดำเนินงาน – ตุลาคม 2553 – กันยายน 2554

5. โครงการจัดประชุมคณะอนุกรรมการคุ้มครองเด็กเมืองพัทยาและคณะอนุกรรมการปฏิบัติการพิเศษภายใต้คณะอนุกรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติ(งบประมาณ 100,000 บาท)

การดำเนินงาน – จัดการประชุมคณะอนุกรรมการคุ้มครองเด็กเมื่องพัทยาและคณะอนุกรรมการปฏิบัติการพิเศษภายใต้คณะอนุกรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติ เพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาที่มีความเกี่ยวข้องกับเด็กและเยาวชนในเขตเมืองพัทยาและพื้นที่ใกล้เคียงอย่างเป็นรูปธรรม ภายใต้การทำงานในลักษณะเครือข่ายองค์กรต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนเพื่อให้สามารถแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความหลากหลาย รวดเร็วและทันต่อสถานการณ์

ระยะเวลาดำเนินงาน – ตุลาคม 2553 – กันยายน 2554

6. โครงการประกวดแข่งขันวงดนตรีเยาวชนเมืองพัทยา

การดำเนินงาน – เป็นการจัดการประกวดวงดนตรีระดับเยาวชนอายุไม่เกิน 18 ปี มีกลุ่มเป้าหมายคือเด็กและเยาวชนที่มีทะเบียนบ้านในเขตเมืองพัทยา หรือศึกษาอยู่ในสถานศึกษาในเขตอำเภอบางละมุง โดยจัดการประกวด 2 รอบ คือรอบคัดเลือก และรอบชิงชนะเลิศ(มีวงเข้ารอบ 10 วงสุดท้าย) ที่ผ่านมามีเยาวชนให้ความสนใจส่งวงดนตรีเข้าประกวดเป็นจำนวนมาก ประมาณ 35 วงต่อปี เฉลี่ยมีนักดนตรีระดับเยาวชนกว่า 200 คน อีกทั้งยังมีประชาชนให้ความสนใจเข้าชมอีกครั้งละไม่ต่ำกว่า 500 คน และได้รับเกียรติจากคณะกรรมการตัดสินที่มีความชำนาญด้านดนตรีจากหลายสถาบันและบริษัทเช่น GMM แกรมมี่ โรงเรียนสอนดนตรีต่าง ๆ และนักดนตรีอาชีพเป็นต้น นอกเหนือจากนี้ยังได้มีการต่อยอดด้วยการส่งเยาวชนที่เข้าร่วมการประกวดและมีฝีมือดี ขึ้นโชว์ความสามารถบนเวทีต่าง ๆ เช่น งานถนนเด็กเดิน งาน Indy In Town (และในอนาคตจะประสานให้วงเยาวชนของเมืองพัทยาได้ขึ้นโชว์บนเวที พัทยาเคาท์ดาวน์ และพัทยา อินเตอร์เนชั๋นแนล มิวสิค เฟสติวัลต่อไป)เป็นต้น โดยมีเป้าหมายเพื่อผลักดันให้เยาวชนเหล่านี้ได้มีเวทีในการแสดงความสามารถที่ตนเองถนัดและจุดประกายให้เยาวชนเหล่านี้ได้กล้าที่จะทำความฝันของตนเองให้เป็นจริงนั่นคือการเป็นศิลปินอาชีพในที่สุด โดยมีการกำหนดเป้าหมายเป็นกลุ่มเด็กและเยาวชนในเขตเมืองพัทยาหรือกำลังศึกษาอยู่ในโรงเรียนในเขตอำเภอบางละมุง และประชาชนทั่วไปผู้ที่ให้ความสนใจเข้าชมการประกวด

ระยะเวลาดำเนินงาน – ธันวาคม 2553 – มีนาคม 2554

7. โครงการเยาวชนห่างไกลภาวะเสี่ยง

การดำเนินงาน – เป็นการจัดค่ายกิจกรรมเพื่อละลายพฤติกรรม โดยมีเป้าหมายเป็นเด็กและเยาวชนอายุประมาณ 14 – 18 ปีที่ศึกษาอยู่ในสถานศึกษาในสังกัดของเมืองพัทยา และสถานศึกษาที่อยู่ในเขตเมืองพัทยารวมทั้งเยาวชนในชุมชน โดยมีวัตถุประสงค์ในการลดความก้าวร้าวและเป็นการป้องกันพฤติกรรมอันไม่เหมาะสมของเยาวชนในช่วงวัยหัวเลี้ยวหัวต่อของชีวิต เช่น พฤติกรรมทางเพศ พฤติกรรมทางสังคม โดยเน้นให้เด็กกลุ่มนี้ได้เห็นถึงโทษจากการกระทำที่ขาดความยับยั้งชั่งใจของตนเอง และได้สอดแทรกการให้ความรู้ในเรื่องของพิษภัยจากยาเสพติดเข้าไปในเนื้อหาของกิจกรรมด้วย นอกเหนือจากนี้ยังได้บรรจุเนื้อหาของการเน้นการสำนึกรักในพระคุณของบิดา มารดา ผู้ปกครอง ครู อาจารย์อีกด้วย ซึ่งกิจกรรมนี้ถือได้ว่าเป็นกิจกรรมที่ทำขึ้นมาเพื่อเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันให้เยาวชนเหล่านี้ได้สามารถผ่านช่วงวัยนี้ไปได้อย่างเข็มแข็งและมีคุณภาพนั่นเอง และได้มีการกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่นักเรียนหญิงจากโรงเรียนในสังกัดของเมืองพัทยาและพื้นที่ใกล้เคียง อายุระหว่าง 14 – 17 ปี

ระยะเวลาดำเนินงาน – พฤษภาคม 2554 – สิงหาคม 2554

โครงการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพสตรีเมืองพัทยา จำนวน 200,000 บาท

– เป็นการจัดกิจกรรมการส่งเสริมพัฒนาศักยภาพของสตรีในเขตเมืองพัทยาในด้านต่าง ๆ เช่น การจัดการอบรมทางด้านกฎหมายและศิลปะการป้องกันตัว การส่งเสริมด้านอาชีพ การพัฒนาเครือข่ายเฝ้าระวังอาชญากรรมและปัญหาของสตรี เป็นต้น

เป้าหมาย

– สตรีที่อาศัยอยู่ในเขตเมืองพัทยา

โครงการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการดำเนินชีวิตในครอบครัว จำนวน 50,000 บาท

– เป็นการดำเนินการประชาสัมพันธ์และให้ความรู้เกี่ยวกับการดำเนินชีวิตครอบครัวรวมถึงการแก้ปัญหาครอบครัวที่ถูกต้องผ่านสื่อต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น แผ่นพับ วิทยุ และสื่อโทรทัศน์เป็นต้น

เป้าหมาย

– ประชาชนในเขตเมืองพัทยาและพื้นที่ใกล้เคียง

บริการ

– การสงเคราะห์เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ, คนพิการ, ผู้ป่วยเอดส์

1.เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ

ด้วยเมืองพัทยาได้ดำเนินการรับขึ้นทะเบียนผู้สูงอายุเพื่อรับเบี้ยยังชีพตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล ให้ผู้สูงอายุที่ยังไม่เคยขึ้นทะเบียน นำเอกสารมาแสดงตนเพื่อขอขึ้นทะเบียน ภายในวันที่ 1 – 30 พฤศจิกายน ของทุกปี ในวันและเวลาราชการ โดยเตรียมเอกสาร ดังต่อไปนี้

เอกสารที่ใช้ขอขึ้นทะเบียนเพื่อขอรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ

    1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน 1 ฉบับ
    2. สำเนาทะเบียนบ้าน 1 ฉบับ
    3. สำเนาสมุดบัญชีเงินฝาก ธนาคารกรุงไทย 1 ฉบับ (ถ่ายเฉพาะหน้าที่มีชื่อตนเอง)

ผู้มีสิทธิได้รับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้

    1. มีสัญชาติไทย
    2. มีภูมิลำเนาอยู่ในท้องถิ่น เมืองพัทยา (ทะเบียนบ้านอยู่ในเขตเมืองพัทยา)
    3. มีอายุ 60 ปี บริบูรณ์ ขึ้นไป
    4. ไม่เคยได้รับสวัสดิการหรือสิทธิประโยชน์อื่นใดจากหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่ ผู้รับเงินบำนาญ เบี้ยหวัด บำนาญพิเศษ หรือ เงินอื่นใด ในลักษณะเดียวกันผู้สูงอายุที่อยู่ในสถานสงเคราะห์ของรัฐ หรือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นผู้ได้รับเงินเดือน ค่าตอบแทน รายได้ประจำหรือผลประโยชน์ ตอบแทนอย่างอื่นที่รัฐหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดให้เป็นประจำ ยกเว้นผู้พิการและผู้ป่วยเอดส์ ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการจ่างเงินสงเคราะห์ เพื่อการยังชีพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพุทธศักราช 2552

หมายเหตุ

    1. ผู้สูงอายุจะต้องมายื่นเอกสารด้วยตนเอง
    2. กรณีไม่สามารถมายื่นขอรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุได้ด้วยตนเอง ให้ญาติมาดำเนินการแทนโดยเตรียมเอกสารดังต่อไปนี้
    3. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มายื่นแทน และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ของผู้สูงอายุ พร้อมเซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง
    4. สำเนาทะเบียนบ้านของผู้สูงอายุ พร้อมเซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง
    5. หนังสือมอบอำนาจให้ทำการแทนโดยขอได้ที่งานสังคมสงเคราะห์ กองสวัสดิการสังคม เมืองพัทยา
    6. สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารกรุงไทยที่มี ชื่อผู้สูงอายุ

สิทธิของผู้ที่ได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุจะสิ้นสุดลง กรณีดังต่อไปนี้

1) เสียชีวิต เมื่อผู้สูงอายุเสียชีวิตขอให้ญาติมาแจ้งที่งานสังคมสงเคราะห์กองสวัสดิการสังคม เมืองพัทยา ภายใน 7 วัน นับจากวันที่เสียชีวิต

2) กรณีย้ายทะเบียนบ้านออกไปนอกเขตเมืองพัทยา ขอให้แจ้งทางเมืองพัทยาทราบด้วย งานสังคมสงเคราะห์จะยังคงจ่ายเงินให้ไปจนถึงเดือนกันยายน ของปีงบประมาณที่ย้ายออกไป และจะระงับจ่ายเงิน ในปีงบประมาณถัดไป

3) แจ้งสละสิทธิขอรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ โดยผู้ไม่ประสงค์จะขอเบี้ยยังชีพ ต้องแจ้งหนังสือเป็นลากลักษณ์อักษร ต่อเจ้าหน้าที่งานสังคมสงเคราะห์ กองสวัสดิการสังคม เมืองพัทยา

คุณสมบัติและหลักฐานประกอบการขอรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ

ผู้สูงอายุที่ขอรับการสงเคราะห์เบี้ยยังชีพจะต้องมีอายุ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป อาศัยอยู่ในเขตเมืองพัทยา

2.เบี้ยยังชีพคนพิการ

คุณสมบัติและหลักฐานประกอบการขอรับเบี้ยยังชีพคนพิการ

ด้วยเมืองพัทยา ได้ดำเนินโครงการจัดสวัสดิการเบี้ยความพิการ สำหรับผู้ที่ยังไม่เคยได้รับเงินเบี้ยความพิการมาก่อน โดยให้นำเอกสารมายื่นคำขอขึ้นทะเบียน รับเงินเบี้ยความพิการภายในวันที่ 1 – 30 พฤศจิกายน ของทุกปี ในวันและเวลาราชการ

คนพิการที่ขอรับการสงเคราะห์เบี้ยยังชีพจะต้องเป็นคนพิการที่ขึ้นทะเบียนคนพิการแล้วทั้งนี้ความพิการจะต้องอยู่ในระดับ 3 ขึ้นไป

ทั้งนี้จะต้องเป็นผู้พิการที่มีบัตรประจำตัวคนพิการ หากไม่มีบัตรประจำตัวคนพิการ ขอให้เตรียมเอกสารมาดังนี้

หลักฐานที่ใช้ทำบัตรประจำตัวคนพิการ

    1. เอกสารรับรองความพิการออกโดยสถานพยาบาลของทางราชการ
    2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือ ใบสูติบัตร (กรณีเป็นเด็ก) 1ฉบับ
    3. สำเนาทะเบียนบ้าน 1 ฉบับ
    4. รูปถ่ายสีขนาด 1 นิ้ว จำนวน 2 รูป
    5. กรณีที่ผู้พิการจำเป็นต้องมีผู้ดูแล ต้องมีหนังสือรับรองการเป็นผู้ดูแลคนพิการของประธานชุมชนหรือข้าราชการระดับ 3 ขึ้นไป

คุณสมบัติของคนพิการที่มีสิทธิขอรับเงินเบี้ยความพิการ เมืองพัทยา

    1. มีสัญชาติไทย
    2. มีบัตรประจำตัวคนพิการ
    3. มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตพื้นที่เมืองพัทยา
    4. ไม่เป็นบุคคลที่อยู่ในความอุปการะของสถานสงเคราะห์ของรัฐหรือ สถานสงเคราะห์ของเอกชนที่ได้รับเงินอุดหนุนส่วนใหญ่จากรัฐ หรือถูกกักขังในเรือนจำตามหมายจำคุกโดย คำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก และให้หมายความรวมถึงบุคคล ซึ่งถูกกักขังไว้ตามคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายให้ลงโทษด้วย

หลักฐานเอกสารที่ต้องนำมาขึ้นทะเบียน ขอรับเบี้ยความพิการ ดังนี้

    1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาใบสูติบัตร (กรณีเป็นเด็ก) 1 ฉบับ
    2. สำเนาทะเบียนบ้าน 1 ฉบับ
    3. สำเนาเลขที่บัญชีธนาคารกรุงไทย 1 ฉบับ
    4. บัตรประจำตัวคนพิการตัวจริง พร้อมถ่ายสำเนา 1 ฉบับ

หมายเหตุ

กรณีที่ผู้พิการไม่สามารถเดินทางมายื่นเอกสารขอรับเบี้ยความพิการได้ด้วยตนเอง ให้ญาติมาดำเนินการแทนโดยเตรียมสำเนาบัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้านของผู้แทน พร้อมหนังสือมอบอำนาจโดยหนังสือมอบอำนาจ สามารถขอได้ที่ งานสังคมสงเคราะห์ กองสวัสดิการสังคม เมืองพัทยา

ผู้พิการที่มีบัตรประจำตัวคนพิการแล้วจะได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆ ดังนี้

1) เบี้ยความพิการ เดือนละ 500 บาท ตลอดชีพ

2) ผู้พิการที่ได้รับความพิการอยู่แล้วหากมีอายุครบ 60 ปี ขึ้นไป สามารถขอรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุได้อีก เดือนละ 500 บาท ทั้งนี้ต้องมาขอยื่นคำร้องลงทะเบียนขอเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุได้ที่งานสังคมสงเคราะห์ กองสวัสดิการสังคม เมืองพัทยา

3) บัตร ท.74 เพื่อขอรับบริการทางการแพทย์จากโรงพยาบาลของรัฐได้ทั่วประเทศ (สามารถติดต่อขอรับบัตร ท.74 ได้ที่ โรงพยาบาลบางละมุง)

4) รับกายอุปกรณ์ เช่น รถเข็นนั่งสำหรับคนพิการ แว่นสายตา ไม้เท้าค้ำยันวอล์คเกอร์ เป็นต้น

5) เงินทุนประกอบอาชีพสำหรับคนพิการรายละไม่เกิน 40,000 บาท สามารถยื่นเอกสารขอรับการพิจารณาได้ที่ : สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จังหวัดชลบุรี

โทรศัพท์ 038 277 877

3. เบี้ยยังชีพผู้ป่วยเอดส์

คุณสมบัติและหลักฐานประกอบการขอรับเบี้ยยังชีพผู้ป่วยเอดส์

ผู้ป่วยเอดส์ที่ขอรับการสงเคราะห์เบี้ยยังชีพจะต้องมีหลักฐานการตรวจร่างกายว่าเป็นผู้ติดเชื้อ HIV จากโรงพยาบาลของรัฐเท่านั้น

หลักฐานในการขอรับการสงเคราะห์เบี้ยยังชีพผู้ป่วยเอดส์

    1. สำเนาทะเบียนบ้านท้องถิ่นเมืองพัทยา 1 ฉบับ
    2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือ สำเนาใบสูติบัตร (กรณีเป็นเด็ก) 1 ฉบับ
    3. ใบรับรองการตรวจร่างกายจากโรงพยาบาลของรัฐ โดยระบุว่าเป็น “ผู้ป่วยเอดส์”
    4. สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารกรุงไทย 1 ฉบับ

*เอกสารทุกฉบับให้เซ็นต์รับรองสำเนาถูกต้อง

สิทธิประโยชน์ที่ผู้ป่วยเอดส์จะได้รับ

    1. เบี้ยยังชีพผู้ป่วยเอดส์ เดือนละ 1,000 บาท จนถึงเดือนที่เสียชีวิต
    2. หากผู้ป่วยเอดส์ประสงค์จะขอรับการสงเคราะห์เนื่องจากไม่มีผู้ดูแล ทางเมืองพัทยาจะดำเนินการส่งตัวผู้ป่วยไปยังสถานสงเคราะห์ผู้ป่วยเอดส์

หมายเหตุ

    1. กรณีที่ผู้ป่วยเอดส์เข้าไปอยู่ในสถานสงเคราะห์แล้วเมืองพัทยาจะระงับการจ่ายเงินเบี้ยยังชีพ
    2. กรณีเสียชีวิตเมืองพัทยาจะจ่ายเงินถึงเดือนที่เสียชีวิต และจะระงับจ่ายในเดือนถัดไปโดยญาติจะต้องมาแจ้งเจ้าหน้าที่งานสังคมสงเคราะห์กองสวัสดิการสังคม เมืองพัทยา ภายใน 7 วัน นับจากที่เสียชีวิต
    3. หากผู้ป่วยเอดส์ ย้ายออกไปจากทะเบียนบ้านเมืองพัทยา เมืองพัทยาจะระงับการจ่ายเงินในเดือนถัดไปนับจากเดือนที่ย้ายออก

หมายเหตุ

กรณีที่ผู้ป่วยเอดส์ไม่สามารถมายื่นขอเบี้ยยังชีพผู้ป่วยเอดส์ได้ด้วยตนเอง ให้ญาติมาดำเนินการแทน โดยเตรียมสำเนาบัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ทำการแทน มาด้วย

ผู้ป่วยเอดส์ที่ได้รับสิทธิเบี้ยยังชีพรายเดือนจากเมืองพัทยาไม่สามารถโอนสิทธินี้ให้แก่ผู้อื่นได้ ดังนั้น เมื่อเสียชีวิตแล้วเมืองพัทยาจะระงับการจ่ายเงินทันทีในเดือนถัดไป นับจากเดือนที่เสียชีวิต

สถานสงเคราะห์ที่ให้บริการดูแลผู้ป่วยเอดส์ในเขตพื้นที่ใกล้เคียงเมืองพัทยา

    1. บ้านพักรักเพื่อน ให้บริการดูแลและฟื้นฟูผู้ป่วยเอดส์ ตั้งอยู่ใกล้อ่างเก็บน้ำมาบประชัน ต.โป่ง อ.บางละมุง จ.ชลบุรี โทรศัพท์ 089 – 6068104 081 – 4035694
    2. ศูนย์คามิลเลียน โซเชียล เซ็นเตอร์ ระยอง

ให้บริการสงเคราะห์ดูแลผู้ป่วยเอดส์ ให้คำปรึกษาสำหรับผู้ที่ติดเชื้อเอดส์ ที่อยู่ 1/1 ซอยคีรี ต.ห้วยโป่ง อ.เมือง จ.ระยอง 21150 โทรศัพท์ 0 3868 5480 0 3869 1480

การสงเคราะห์กายอุปกรณ์และอุปกรณ์ช่วยเหลือความบกพร่องทางร่างกาย

เมืองพัทยา โดยกองสวัสดิการสังคม งานสังคมสงเคราะห์ทั่วไป จะดำเนินการสำรวจประชาชนประชาชนที่ประสบความเดือดร้อน เพื่อมอบกายอุปกรณ์ ได้แก่ แว่นสายตาสำหรับผู้สูงอายุ แว่นสายตา สำหรับเด็ก รถเข็นนั่งสำหรับคนพิการ ไม้ค้ำยัน ไม้เท้า ที่หัดเดิน 4 ขา (Walker) เป็นต้น

โดยผู้ที่ขอรับการสงเคราะห์กายอุปกรณ์ดังกล่าวต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้

    1. เป็นผู้มีภูมิลำเนาและอาศัยอยู่ในเขตเมืองพัทยา (ยึดตามทะเบียนบ้านของผู้ขอ)
    2. เป็นผู้มีรายได้น้อย ฐานะยากจน
    3. เป็นผู้ที่มีปัญหาทางสายตาและบกพร่องทางร่างกาย เช่น สายตายาว สายตาสั้น พิการทางการเคลื่อนไหว เช่น เดินไม่ได้ เดินไม่สะดวกซึ่งจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ช่วย

หลักฐานและเอกสารที่ต้องเตรียมมาเพื่อขอรับการพิจารณา

    1. สำเนาทะเบียนบ้าน
    2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเราใบสูจิบัตร
    3. สำหรับผู้ที่ต้องการขอรับรถเข็นนั่ง ต้องมีใบรับรองแพทย์จากโรงพยาบาลของรัฐว่าเห็นสมควรให้ใช้รถเข็นนั่งได้

** หมายเหตุ เอกสารทุกฉบับถ่ายสำเนาพร้อมเซ็นชื่อรับรอง อย่างละ 1 ฉบับ

เมืองพัทยา โดยฝ่ายสังคมสงเคราะห์ ส่วนการสงเคราะห์และสวัสดิการ จะดำเนินการสำรวจประชาชนประชาชนที่ประสบความเดือดร้อน เพื่อมอบกายอุปกรณ์ ได้แก่ แว่นสายตาสำหรับผู้สูงอายุ แว่นสายตา สำหรับเด็ก รถเข็นนั่งสำหรับคนพิการ ไม้ค้ำยัน ไม้เท้า ที่หัดเดิน 4 ขา (Walker) เป็นต้น

4.การให้การสงเคราะห์ครอบครัวผู้มีรายได้น้อย

เงินสงเคราะห์ครอบครัวผู้มีรายได้น้อย เป็นการช่วยเหลือเป็นครั้งคราว จำนวนครั้งละไม่เกิน 2,000 บาทต่อครอบครัว แต่เมืองพัทยายังไม่มีข้อบัญญัติหรือระเบียบ ที่สามารถรองรับการจ่ายเงินสงเคราะห์ครอบครัวได้ จึงประสานความช่วยเหลือไปยังหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้การสงเคราะห์ตามความเหมาะสม เช่น สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ เขต 3 ศูนย์พัฒนาสังคมหน่วยที่ 8 เป็นต้น

เอกสารประกอบการขอรับเงินสงเคราะห์

    1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหัวหน้าครอบครัว
    2. สำเนาทะเบียนบ้าน
    3. รูปถ่ายสภาพความเดือดร้อน
    4. แบบขอรับการช่วยเหลือผู้ประสบความเดือดร้อน

5.การให้การสงเคราะห์ครอบครัวผู้มีรายได้น้อย

การส่งเสริมและให้การสนับสนุนองค์กรสังคมสงเคราะห์ภาคเอกชนเป็นอีกภารกิจของงานสังคมสงเคราะห์ โดยการประชาสัมพันธ์ให้หน่วยงานต่างๆ ที่ประสบปัญหาในการทำงานเนื่องจากงบประมาณที่ไม่เพียงพอ ตลอดจนการนำและเป็นพี่เลี้ยงในการเขียนโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากเมืองพัทยา (งบอุดหนุน)

6.การกู้ยืมเงิน “กองทุนกู้ยืม” ของคนพิการเพื่อการประกอบอาชีพ

เอกสารการขอกู้

    1. สำเนาสมุดหรือบัตรประจำตัวคนพิการ (ถ่ายเอกสารทุกหน้าที่เจ้าหน้าที่บันทึก)
    2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
    3. สำเนาทะเบียนบ้าน (ภายในจังหวัดชลบุรี)
    4. รูปถ่ายเต็มตัว ขนาด 5 นิ้ว (แสดงให้เห็นถึงลักษณะความพิการ)
    5. ใบประมาณค่าใช้จ่าย และแผ่นพับโฆษณาสินค้า (ถ้ามี)
    6. แผนที่แสดงที่ตั้งบ้านพักอาศัย / แผนที่แสดงสถานที่ประกอบอาชีพ (กรณีที่พักอาศัยและสถานที่ประกอบอาชีพอยู่คนละแห่ง)
    7. หนังสือสัญญาเช่าบ้าน (กรณีไม่มีที่อยู่เป็นของตนเอง,เช่าบ้านอยู่)
    8. หนังสือยินยอมคู่สมรสอนุญาตให้กู้

กรณีดูแลคนพิการขอยื่นกู้ แทนคนพิการ แนบเอกสารเพิ่มเติมดังนี้

    1. หนังสือรับรองการเป็นผู้ดูแลคนพิการ
    2. คนพิการที่มีความพิการทางการมองเห็น ทางการได้ยิน หรือสื่อความหมาย ทางกาย หรือการเคลื่อนไหว หรือมีความพิการซ้ำซ้อน (มากกว่า 1 ประเภทความพิการ)

Comments are closed.