Pattaya City

สำนักคลัง

ภาระหน้าที่และกิจกรรม

พันธกิจ

กองคลังมีอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับการเงิน การคลัง การบัญชีของเมืองพัทยา ตลอดจนการรับจ่ายเงินอุดหนุนจากรัฐบาลตามโครงการต่างๆ การดำเนินการเกี่ยวกับเงินสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ต่างๆแก่พนักงานเมืองพัทยา รวมทั้งการตรวจสอบเกี่ยวกับการขอรับและเบิกจ่ายบำเหน็จบำนาญของพนักงานเมืองพัทยาและลูกจ้างประจำ และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง

หัวหน้าหน่วยงาน/โครงสร้างหน่วยงาน

ผู้อำนวยการสำนักคลัง

นางปุญชรัศมิ์ สุพิพัฒนโมลี

ส่วนบริหารงานทั่วไป

รก.หัวหน้าฝ่ายบริหารงานทั่วไป

นางสาวนาถนภา นิธิกรชานนก์

ส่วนบริหารการคลัง

ผู้อำนวยการส่วนบริหารการคลัง

นางสาวสุกาญจนาฏ เพ็ชรบุรี

หัวหน้าฝ่ายบริหารสัญญา

นางสาววณิชฌา นิติธรรม

หัวหน้าฝ่ายการเงินและบัญชี

นางสาวสุพัตรา ใจวงค์

ส่วนพัฒนารายได้

ผู้อำนวยการส่วนพัฒนารายได้

นางชัญญา สีหราช

หัวหน้าฝ่ายแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สิน

นางสาวนันท์ณภัส ภู่จีน

รก.หัวหน้าฝ่ายพัฒนารายได้

นางบุญฑิฎา ทองแย้ม

หัวหน้าฝ่ายเร่งรัดและจัดเก็บรายได้

นางสาวสมฤทัย ทองคำ

บริการ

มีอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับการเงิน การคลัง การบัญชีของเมืองพัทยา ตลอดจนการรับจ่ายเงินอุดหนุนจากรัฐบาลตามโครงการต่างๆ การดำเนินการเกี่ยวกับเงินสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ต่างๆแก่พนักงานเมืองพัทยา รวมทั้งการตรวจสอบเกี่ยวกับการขอรับและเบิกจ่ายบำเหน็จบำนาญของพนักงานเมืองพัทยาและลูกจ้างประจำ การศึกษา วิเคราะห์ กำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการเกี่ยวกับการจัดเก็บรายได้ทุกชนิด จัดทำประมาณการรายรับประจำปีแจ้งประเมินภาษี รับชำระภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีบำรุงท้องที่ ภาษีป้าย ค่าธรรมเนียมต่างๆ และรายได้อื่นๆ ของเมืองพัทยา ติดตามเร่งรัดภาษีค้างชำระ การขอปลด ขอลดค่าภาษี การอุทธรณ์ภาษี ตลอดจนการผ่อนชำระภาษี การยึดและการขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ค้างชำระภาษี ดูแลรักษาและจัดหาผลประโยชน์จากการใช้ที่สาธารณะ ท่าเทียบเรือ ทรัพย์สินของเมืองพัทยา รับชำระและติดตามเร่งรัดค่าเช่าทรัพย์สินค่าเช่าที่สาธารณะเพื่อบริการที่จอดยานยนต์และเก็บค่าธรรมเนียมจอดยานยนต์เป็นรายได้ของเมืองพัทยา งานจดทะเบียนพาณิชย์ รับรองอาคารและสิ่งปลูกสร้าง ศึกษาวิเคราะห์เพื่อหาแนวทางให้เมืองพัทยาได้รับจัดสรรรายได้เพิ่มจากส่วนที่รัฐบาลจัดสรรให้กับท้องถิ่นในสัดส่วนที่เหมาะสมและสอดคล้องกับภาระหน้าที่ และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง

สำนักกองคลัง แบ่งโครงสร้างการบริการ ออกเป็น ส่วนรายได้ และ ส่วนงานบริการ แบ่งการบริการ

ออกเป็น 2 ส่วน คือ

1. ฝ่ายแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สิน แบ่งส่วนงานบริการย่อย ออกเป็น

      1. งานแผนที่ภาษี
      1. งานบริการข้อมูลแผนที่
    1. งานทะเบียนพาณิชย์

2. ฝ่ายพัฒนารายได้ แบ่งส่วนงานบริการย่อย ออกเป็น

      1. งานจัดเก็บรายได้
      1. งานเร่งรัดรายได้
    1. งานจัดหาประโยชน์จากทรัพย์สิน

– บริการด้านภาษี (ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีบำรุงท้องที่ ภาษีป้าย) เจ้าของทรัพย์สินจะต้องยื่นแบบแจ้งรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน (ภ.ร.ด.2) ภายในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี

ภาษีโรงเรือนและที่ดิน – กรณีแจ้งใหม่

ภาษีโรงเรียนและที่ดิน คือ ภาษีที่จัดเก็บจากโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอื่นๆ กับที่ดินซึ่งใช้ต่อเนื่องกับโรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างนั้น

ทรัพย์สินที่ต้องเสียภาษี

ประเภททรัพย์สินที่ต้องเสียภาษี ได้แก่ อาคาร โรงเรือน สิ่งปลูกสร้างต่างๆ กับที่ดินต่อเนื่องซึ่งได้ปลูกสร้างอาคารโรงเรือนสิ่งปลูกสร้างนั้นๆ รวมถึงบริเวณที่ต่อเนื่องกันซึ่งตามปกติใช้ประโยชน์ไปด้วยกันกับอาคาร โรงเรือน สิ่งปลูกสร้างนั้นๆ ซึ่งเจ้าของกรรมสิทธิ์ได้นำทรัพย์สินดังกล่าวออกหาผลประโยชน์ตอบแทนนอกเหนือจากการอยู่อาศัยของตนเองโดยปกติหรือให้ผู้อื่นนำไปใช้ประโยชน์ไม่ว่าจะมีค่าตอบแทนหรือไม่ก็ตาม เช่น ให้เช่า, ใช้เป็นที่ค้าขาย, ไว้สินค้าที่ประกอบอุตสาหกรรม ให้ญาติหรือผู้อื่นอาศัยหรือใช้ประกอบกิจการอื่นๆ เพื่อหารายได้

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีโรงเรือน และที่ดิน

ผู้มีหน้าที่เสียภาษี คือ “ผู้รับประเมิน” ซึ่งหมายถึงเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน (เจ้าของทรัพย์สิน) ที่ต้องเสียภาษีเว้นแต่ถ้าที่ดิน และอาคาร โรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างต่างๆ เป็นคนละเจ้าของกัน ให้เจ้าของกรรมสิทธิ์ในอาคารโรงเรือนสิ่งปลูกสร้างต่างๆ เป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษี

ฐานภาษี

ฐานภาษี คือค่ารายปีของทรัพย์สิน หมายถึง จำนวนเงินซึ่งทรัพย์สินนั้นสมควรให้เช่าได้ในปีหนึ่งๆ ในกรณีที่ทรัพย์สินนั้นให้เช่า และค่าเช่านั้นเป็นจำนวนเงินอันสมควรที่จะให้เช่าได้ให้ถือค่าเช่านั้นเป็นค่ารายปี แต่ถ้าเป็นกรณีที่ไม่มีค่าเช่าเนื่องจากเจ้าของทรัพย์สินดำเนินกิจการเอง หรือด้วยเหตุผลอื่นๆ ให้พิจารณากำหนดค่ารายปีโดยเทียบเคียงกับค่ารายปีของทรัพย์สินที่ให้เช่าที่มีลักษณะตามขนาด พื้นที่ทำเลที่ตั้ง และบริการสาธารณะ ซึ่งทรัพย์สินนั้นได้รับประโยชน์คล้ายคลึงกัน

เอกสารที่ใช้ในการติดต่อ

1. สำเนาทะเบียนบ้าน

2. บัตรประจำตัวประชาชน

3. สำเนาทะเบียนพาณิชย์ (กรณีประกอบการค้า)

4. แผนที่ตั้งพอสังเขป

5. หนังสือมอบอำนาจ (กรณีไม่สามารถมาติดต่อด้วยตนเอง)

6. สำเนาเอกสารสิทธิ์ที่ดิน

ข้อควรปฏิบัติ

  1. เตรียมเอกสารให้พร้อม

2. โทรศัพท์มาสอบถามข้อสงสัยก่อนเดินทางมา

3. สำรองเงินสดสำหรับจ่ายกรณีมีค่าปรับหรือค่าธรรมเนียม

หมายเหตุ

การอุทธรณ์ภาษี

เมื่อผู้มีหน้าที่เสียภาษี หรือเจ้าของโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างนั้นได้รับแจ้งการประเมินแล้วไม่พอใจในการประเมินของพนักงานเจ้าหน้าที่โดยเห็นว่าค่าภาษีสูงเกินไปหรือประเมินไม่ถูกต้อง ก็มีสิทธิ์ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ต่อผู้บริการเมืองพัทยา โดยกรอกใบตามแบบพิมพ์ (ภ.ร.ด. 9) และยื่นแบบดังกล่าว ณ สำนักการคลัง เมืองพัทยา ภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน หากพ้นกำหนดดังกล่าวแล้ว ผู้รับประเมินหมดสิทธิ์ที่จะให้พิจารณาการประเมินใหม่และไม่มีสิทธิ์นำคดีขึ้นสู่ศาล

บทกำหนดโทษ

ผู้ใดละเลยไม่ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีภายในกำหนด (เดือนมกราคม – กุมภาพันธ์ ของทุกปี) ผู้นั้นจะมีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 200 บาท และพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจประเมินย้อนหลังได้ไม่เกิน 10 ปี ผู้ใดยื่นแบบแสดงรายการไม่ถูกต้องตามความจริงหรือไม่บริบูรณ์ มีความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 500 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และเรียกเก็บภาษีย้อนหลังได้ไม่เกิน 5 ปี ภาษีป้าย

ภาษีโรงเรือนและที่ดิน – กรณีปกติ

เอกสารที่ใช้ในการติดต่อ

1. สำเนาทะเบียนบ้าน

2. บัตรประจำตัวประชาชน

3. สำเนาทะเบียนพาณิชย์ (กรณีประกอบการค้า)

4. แผนที่ตั้งพอสังเขป

5. หนังสือมอบอำนาจ (กรณีไม่สามารถมาติดต่อด้วยตนเอง)

6. สำเนาเอกสารสิทธิ์ที่ดิน

ข้อควรปฏิบัติ

      1. เตรียมเอกสารให้พร้อม
      1. โทรศัพท์มาสอบถามข้อสงสัยก่อนเดินทางมา
    1. สำรองเงินสดสำหรับจ่ายกรณีมีค่าปรับหรือค่าธรรมเนียม

หมายเหตุ

    1. เจ้าของทรัพย์สินจะต้องยื่นแบบแจ้งรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน (ภ.ร.ด.2) ภายในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปีการขอผ่อนชำระภาษี

ผู้มีสิทธิ์ผ่อนชำระภาษีให้ผ่อนได้ 3 งวด งวดละเท่าๆ กัน โดยไม่ต้องเสียเงินเพิ่ม ซึ่งมีเงื่อนไขดังนี้

      1. ผู้มีหน้าที่เสียภาษีจะขอผ่อนชำระค่าภาษีได้โดยวงเงินค่าภาษีที่ขอผ่อนชำระนั้น มีจำนวนเงินค่าภาษีตั้งแต่ 9,000 บาทขึ้นไป
      1. ได้ยื่นแบบพิมพ์เพื่อแจ้งรายการทรัพย์สินต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ภายในเดือนมกราคม – กุมภาพันธ์ ของปีนั้น
      1. ได้แจ้งความจำนงขอผ่อนชำระค่าภาษี เป็นหนังสือต่อพนักงานเก็บภาษีภายใน 30 วันหลังจากวันที่ได้รับแจ้งการประเมิน
      1. เงินเพิ่มค่าภาษีค้างชำระให้เพิ่มจำนวนอัตราต่อไปนี้
        4.1) ไม่เกิน 1 เดือน เสียเพิ่ม 2.5%
        4.2) เกิน 1 เดือน แต่ไม่เกิน 2 เดือน เพิ่ม 5%
        4.3) เกิน 2 เดือน แต่ไม่เกิน 3 เดือน เพิ่ม 7.5%
        4.4) เกิน 3 เดือน แต่ไม่เกิน 4 เดือน เพิ่ม 10%
        4.5) เกิน 4 เดือนขึ้นไป ให้ยึดอายัด หรือขายทอดตลาดทรัพย์สิน โดยมิต้องขอให้ศาลสั่งหรือออกหมายยึด
    1. ถ้ามิได้มีการชำระค่าภาษี และเงินเพิ่มภายในที่กฎหมายกำหนดเมืองพัทยา มีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือให้ ยึด อายัด หรือขายทอดตลาดทรัพย์สิน ของผู้ซึ่งค้างชำระค่าภาษีได้ตามระเบียบเมืองพัทยา ว่าด้วยการยึด อายัด และขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ซึ่งค้างชำระภาษี พ.ศ. 2547

ภาษีบำรุงท้องที่ – กรณีชำระตามปกติ

เอกสารที่ใช้ในการติดต่อ

  1. ใบเสร็จรับเงินของปีที่ผ่านมา

** เนื่องจากใบเสร็จ สามารถอ้างอิงการสืบค้นข้อมูลจากฐานข้อมูล เพื่อความรวดเร็วและสะดวกของการบริการ

ข้อควรปฏิบัติ

      1. เตรียมเอกสารให้พร้อม
      1. โทรศัพท์มาสอบถามข้อสงสัยก่อนเดินทางมา
    1. สำรองเงินสดสำหรับจ่ายกรณีมีค่าปรับหรือค่าธรรมเนียม

ภาษีป้าย – กรณีป้ายใหม่

“ป้าย” หมายความว่า ป้ายแสดงชื่อ ยี่ห้อ หรือเครื่องหมายที่ใช้ในการประกอบการค้า หรือประกอบกิจการเพื่อหารายได้หรือโฆษณาการค้าหรือกิจการอื่นเพื่อหารายได้ ไม่ว่าจะได้แสดงหรือโฆษณาไว้ที่วัตถุใดๆ ด้วยอักษรภาพหรือเครื่องหมายที่เขียนแกะสลัก จารึก หรือทำให้ปรากฏด้วยวิธีอื่น

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้าย : เจ้าของป้าย

ในกรณีที่ไม่มีผู้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย หรือเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ไม่อาจหาตัวเจ้าของป้ายได้ ให้ถือว่าผู้ครอบครองป้ายเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้ายถ้าไม่อาจหาตัวผู้ครอบครองป้ายนั้นได้ให้ถือว่าเจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือที่ดินที่ป้ายนั้นติดตั้งหรือแสดงอยู่เป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้ายตามลำดับ

กำหนดระยะเวลาให้ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีป้าย

ให้เจ้าของป้ายซึ่งจะต้องเสียภาษีป้ายยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย (ภ.ป.1) ภายในเดือนมกราคม – มีนาคม ของทุกปี ในกรณีติดตั้งหรือแสดงป้ายภายหลังเดือนมีนาคม หรือติดตั้ง หรือแสดงป้ายใหม่แทนป้ายเดิม หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไข ป้ายอันเป็นเหตุให้ต้องเสียภาษีป้ายเพิ่มขึ้น ให้เจ้าของป้ายยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายภายใน 15 วัน นับแต่วันติดตั้ง หรือแสดงป้าย หรือนับแต่วันเปลี่ยนแปลงแก้ไขแล้วแต่กรณี

ให้เจ้าของป้ายมีหน้าที่เสียภาษีป้ายโดยเสียเป็นรายปี ยกเว้นป้ายที่เริ่มติดตั้ง หรือแสดงในปีแรกให้เสียภาษีป้ายตั้งแต่วันเริ่มติดตั้ง หรือแสดงในปีแรกให้เสียภาษีป้ายตั้งแต่วันเริ่มติดตั้ง หรือแสดงจนถึงวันสิ้นปี และให้คิดภาษีป้ายเป็นรายงวด งวดละ 3 เดือนของปี โดยเริ่มเสียภาษีป้ายตั้งแต่งวดที่ติดตั้งป้ายจนถึงงวดสุดท้ายของปี (กรณีป้ายที่ติดตั้งใหม่)

ในกรณีที่เจ้าของป้ายอยู่นอกประเทศไทย ให้ตัวแทนหรือผู้แทนในประเทศไทยมีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายแทนเจ้าของป้าย ถ้าเจ้าของป้ายตายเป็นผู้ไม่อยู่ เป็นคนสาบสูญ เป็นคนไร้ความสามารถ หรือเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ ให้ผู้จัดการมรดก ผู้ครอบครองทรัพย์มรดกไม่ว่าจะเป็นทายาทหรือผู้อื่น ผู้จัดการทรัพย์สินผู้อนุบาลหรือผู้พิทักษ์แล้วแต่กรณีมีหน้าที่ปฏิบัติการแทนเจ้าของป้าย

หลักเกณท์ที่ เจ้าของป้ายควรทราบ

1. ติดตั้งหรือแสดงป้ายอันต้องเสียภาษีภายหลังเดือนมีนาคมให้เสียเป็นรายงวดนับแต่งวดที่ติดตั้งจนถึงสิ้นปีนั้น

2. ติดตั้งหรือแสดงป้ายใหม่แทนป้ายเดิมที่ชำรุดซึ่งมีพื้นที่ข้อความ ภาพ และเครื่องหมายอย่างเดียวกับป้ายเดิม ที่ได้เสียภาษีป้ายไว้แล้ว

3. เปลี่ยนแปลงแก้ไขพื้นที่ป้าย ข้อความ ภาพ หรือ เครื่องหมายบางส่วนในป้ายที่ได้เสียภาษีป้ายแล้ว อันเป็นเหตุให้ต้องเสียภาษีป้ายเพิ่มป้ายที่เพิ่มข้อความต้องชำระตามประเภทป้าย เฉพาะส่วนที่เพิ่ม ส่วนป้ายที่ลดขนาดจะไม่คืนเงินภาษี แต่หากเปลี่ยนขนาดป้ายต้องชำระภาษีอากรใหม่ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ติดตั้งหรือแสดงป้าย

ฐานภาษีและอัตราภาษี คือ เนื้อที่ของป้าย และประเภทของป้ายรวมกัน

  1. ป้ายที่มีขอบเขตกำหนดให้ การคำนวณพื้นที่ป้าย

– ส่วนที่กว้างที่สุด คูณ ส่วนที่ยาวที่สุด ของขอบเขตป้าย

ป้ายที่ไม่มีขอบเขตกำหนดให้ ถือตัวอักษร ภาพ หรือเครื่องหมายที่อยู่ริมสุดเป็นขอบเขตเพื่อกำหนดส่วนที่กว้างที่สุด และยาวที่สุด แล้วคำนวณตามข้างต้น คำนวณพื้นที่เป็นตารางเซนติเมตร

– เศษของ 500 ตารางเซนติเมตร ถ้าเกินครึ่งให้นับเป็น 500 ตารางเซนติเมตร ถ้าต่ำกว่าปัดทิ้ง (250 ต.ซม. ลงมา)

ให้เจ้าของป้ายยื่นแบบเสียภาษี พร้อมสำเนาหลักฐาน และลงลายมือชื่อรับรองความถูกต้อง ได้แก่

เอกสารที่ใช้ในการติดต่อ

ให้เจ้าของป้ายยื่นแบบเสียภาษี พร้อมสำเนาหลักฐาน และลงลายมือชื่อรับรองความถูกต้อง

1. ใบเสร็จรับเงินค่าทำป้าย

**กรณี ป้าย Cut Out ขนาดใหญ่ ที่การติดตั้งบนอาคาร หรือ ตึก ต้องนำใบขออนุญาตก่อสร้างอาคาร ที่ออกโดย สำนักช่าง แนบมาด้วย

2. สำเนาทะเบียนบ้าน

3. บัตรประจำตัวประชาชน / บัตรข้าราชการ

4. บัตรพนักงานรัฐวิสาหกิจ – บัตรประจำตัวผู้เสียภาษี

5. กรณีเจ้าของป้ายเป็นนิติบุคคล ให้แนบหนังสือรับรอง สำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท ทะเบียนพาณิชย์และหลักฐานของสรรพากร เช่น ภ.พ. 01, ภ.พ.09, ภ.พ.20

6. หนังสือมอบอำนาจ (กรณีไม่สามารถยื่นแบบได้ด้วยตนเอง พร้อมติดอากรแสตมป์ตามกฎหมาย)

7. หลักฐานอื่นๆ ตามที่เจ้าหน้าที่ให้คำแนะนำ

8. ลงลายมือชื่อในสำเนาทุกฉบับเพื่อรับรองความถูกต้อง

หมายเหตุ

** กรณีขึ้นป้ายกลางปี เสียค่าภาษี 50%

      1. ผู้เป็นเจ้าของป้ายต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย(ภ.ป.1)ภายในวันที่31 มีนาคมของทุกปี
    1. อัตราภาษีป้าย

อัตราภาษีป้าย (ต่อ 500 ตารางเซนติเมตร)

ประเภทป้าย

อัตรา บาท / 500 ต.ร.ซม.

1. อักษรไทยล้วน

3

2. อักษรไทยปนกับอักษรต่างประเทศ / ภาพ / เครื่องหมายอื่น

20

3. ป้ายดังต่อไปนี้– ไม่มีอักษรไทยไม่ว่าจะมีภาพหรือเครื่องหมาย

– อักษรไทยบางส่วน หรือทั้งหมดอยู่ใต้ หรือต่ำกว่าอักษรต่างประเทศ

40

4. ป้ายที่เปลี่ยนแปลงแก้ไขพื้นที่ป้าย ข้อความ ภาพ หรือเครื่องหมาย บางส่วนในป้ายได้เสียภาษีป้ายแล้วอันเป็นเหตุให้ต้องเสียภาษีป้ายเพิ่มขึ้นให้คิดอัตราตาม 1, 2 หรือ 3 แล้วแต่กรณี และให้เสียเฉพาะเงินภาษีที่เพิ่มขึ้น
5. ป้ายใดเมื่อคำนวณแล้วจำนวนเงินต่ำกว่า 200 บาท ให้เสีย 200 บาท

3.การคำนวณภาษีป้าย

ให้คำนวณโดยนำพื้นที่ป้ายคูณด้วยอัตราภาษีป้าย เช่น ป้ายที่ต้องเสียภาษีมีพื้นที่ 10,000 ตารางเซนติเมตร เป็นป้าย ประเภทที่ 2 ป้ายนี้เสียภาษีดังนี้ (10,000 หาร 500) คูณ 20 = 400 บาท

  1. 2. ขั้นตอนการยื่นแบบเสียภาษีป้าย

ให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้ายสามารถขอรับแบบแสดงรายการภาษีป้าย (ภ.ป.1) กรอกรายการแบบ ภ.ป.1 ตามความเป็นจริงให้ครบถ้วน ลงลายมือชื่อของตนพร้อมวัน เดือน ปี ทั้งนี้จะนำส่งด้วยตนเองมอบหมายให้ผู้อื่นไปส่งแทน หรือส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนก็ได้ ภายในเดือน มกราคม – มีนาคม ของทุกปี

ภาษีป้าย – กรณีป้ายเดิม

กรณีป้ายเก่า

ให้เจ้าของป้ายยื่นแบบเสียภาษีป้าย (ภ.ป.1) พร้อมใบเสร็จรับเงินการเสียภาษีครั้งสุดท้าย กรณีเจ้าของป้ายเป็นนิติบุคคล ให้แนบหนังสือรับรองสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทพร้อมกับยื่นแบบ ภ.ป.1

  1. 1. การชำระภาษี

ผู้รับประเมินได้รับหนังสือแจ้งการประเมินภาษี (ภ.ป.3) ให้ชำระเงินภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน การชำระภาษีป้ายจะกระทำโดยการส่งธนาณัติ หรือตั๋วแลกเงินของธนาคารที่สั่งจ่ายแก่เมืองพัทยาก็ได้ โดยส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน และให้ถือว่าวันที่ได้ทำการส่งดังกล่าวเป็นวันชำระภาษีป้าย หรือชำระผ่านธนาคารก็ได้

  1. 2. การขอผ่อนชำระภาษี

ถ้าภาษีป้ายที่ต้องชำระมีจำนวนตั้งแต่สามพันบาทขึ้นไปผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้ายมีสิทธิ์ขอผ่อนชำระเป็นสามงวด งวดละเท่าๆกันก็ได้ โดยแจ้งความจำนงเป็นหนังสือให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบก่อนครบกำหนดเวลาชำระภาษี

  1. 3. เงินเพิ่ม

ให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้ายเสียเงินเพิ่มนอกจากเงินที่ต้องเสียภาษีป้ายในกรณี และอัตราดังนี้

1. ไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายภายในเวลาที่กำหนดให้เสียเงินเพิ่มร้อยละสิบ ของจำนวนเงินที่ต้องเสียภาษีป้าย เว้นแต่กรณีที่เจ้าของป้ายได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายก่อนที่พนักงานเจ้าหน้าที่จะได้แจ้งให้ทราบถึงการละเว้นนั้น ให้เสียเงินเพิ่มร้อยละห้าของจำนวนเงินที่ต้องเสียภาษีป้าย

2. ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายโดยไม่ถูกต้องทำให้จำนวนเงินที่จะต้องเสียภาษีลดน้อยลง ให้เสียเงินเพิ่มร้อยละสิบของภาษีป้ายที่ประเมินเพิ่มเติมเว้นแต่กรณีที่เจ้าของป้ายได้มาขอแก้ไขแบบแสดงรายการภาษีป้ายให้ถูกต้อง ก่อนที่พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งการประเมิน

3. ไม่ชำระภาษีป้ายภายในเวลาที่กำหนด ให้เสียเงินเพิ่มร้อยละสองต่อเดือน ของจำนวนเงินที่ต้องเสียภาษีป้าย เศษของเดือนให้นับเป็นหนึ่งเดือน ทั้งนี้ไม่ให้นำเงินมาเพิ่ม ตาม ข้อ 1 และ ข้อ 2 มาคำนวณ

เอกสารที่ใช้ในการติดต่อ

1. สำเนาทะเบียนบ้าน

2. บัตรประจำตัวประชาชน / บัตรข้าราชการ

3. ใบเสร็จรับเงินของปีที่แล้ว (อ้างอิงข้อมูลจากระบบฐานข้อมูล ตามเลขที่เสียภาษี)

ข้อควรปฏิบัติ

      1. เตรียมเอกสารให้พร้อม
      1. โทรศัพท์มาสอบถามข้อสงสัยก่อนเดินทางมา
    1. สำรองเงินสดสำหรับจ่ายกรณีมีค่าปรับหรือค่าธรรมเนียม

หมายเหตุ

บทกำหนดโทษ

ผู้ใดรู้อยู่แล้วหรือจงใจแจ้งข้อความอันเป็นเท็จให้ถ้อยคำ ตอบคำถามด้วยถ้อยคำอันเป็นเท็จ หรือนำพยานหลักฐานเท็จมาแสดงเพื่อหลีกเลี่ยง หรือพยายามหลีกเลี่ยงการเสียภาษีป้ายต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับตั้งแต่ห้าพันบาทถึงห้าหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

ภาษีป้าย – กรณียกเลิกป้าย

งานแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สิน

งานจัดทำแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สิน ซึ่งมีหน้าที่สำรวจและจัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์อาคาร ที่ดิน ขนาดป้าย โดยมีเจ้าหน้าที่ทำการสำรวจข้อมูลภาคสนามให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง เพื่อใช้ในการวางแผนการจัดเก็บภาษีให้ทั่วถึงและเป็นธรรม ตลอดจนใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนพัฒนาเมืองพัทยาในด้านต่างๆ เพื่อให้เมืองพัทยาสามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและความเจริญก้าวหน้า เพื่อความอยู่ดีมีสุขของประชาชน

ภาษีบำรุงท้องที่

1.ที่ดินที่ต้องเสียภาษีบำรุงท้องที่

ที่ดินที่ต้องเสียภาษีได้แก่ พื้นที่ดินรวมไปถึงพื้นที่ ที่เป็นภูเขา หรือพื้นที่ที่มีน้ำด้วย

2. ผู้มีหน้าที่เสียภาษี

ผู้มีหน้าที่เสียภาษี คือ เจ้าของที่ดิน ซึ่งเป็นบุคคล หรือคณะบุคคล ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล ซึ่งมีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน หรือครบครองอยู่ในที่ดินที่ไม่เป็นกรรมสิทธิ์ของเอกชน เช่น ผู้เช่าที่ดินของรัฐ

3.ขั้นตอนการยื่นเสียภาษี

ให้เจ้าของที่ดินในวันที่ 1 มกราคมของปีใด มีหน้าที่เสียภาษีบำรุงท้องที่ในปีนั้นและยื่นแบบแสดงรายการที่ดิน (ภ.บ.ท.5) ต่อเจ้าพนักงานประเมินกำหนดระยะเวลาให้ยื่นแบบแสดงรายการ

1. ในปีแรกที่มีการตีราคาปานกลางของที่ดินให้เจ้าของที่ดินหรือผู้แทนยื่นแบบแสดงรายการที่ดิน (ภ.บ.ท.5) ภายในเดือนมกราคมของปี และให้ใช้ได้ทุกปีในรอบระยะเวลาสี่ปีนั้น

2. บุคคลใดเป็นเจ้าของที่ดินขึ้นใหม่ หรือจำนวนเนื้อที่ดินเดิมของเจ้าของที่ดินผู้ใดได้เปลี่ยนแปลงไป หรือเจ้าของที่ดินผู้ใดได้เปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน อันเป็นเหตุให้การลดหย่อนที่ดินเปลี่ยนแปลงไป หรือมีเหตุอย่างอื่นทำให้อัตราภาษีบำรุงท้องที่สำหรับที่ดินเปลี่ยนแปลงไป ให้เจ้าของที่ดินผู้นั้นแจ้งเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงดังกล่าวข้างต้นต่อเจ้าพนักงานประเมินภายในสามสิบวัน นับตั้งแต่วันที่มีเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงนั้นๆ

4. การขอลดหย่อนภาษี

– ให้ลดหย่อนภาษีบำรุงท้องที่บุคคลธรรมดาซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินแปลงเดียว หรือหลายแปลงที่อยู่ในเขตเมืองพัทยาและใช้ที่ดินนั้นเป็นที่อยู่อาศัยของตนเป็นที่เลี้ยงสัตว์ของตนหรือประกอบกสิกรรมของตนให้ลดหย่อนได้ไม่ต้องเสียภาษีบำรุงท้องที่จำนวน 1 งาน (100 ตารางวา)

– ที่ดินมีสิ่งปลูกสร้าง และใช้สิ่งปลูกสร้างนั้นเป็นสถานการค้า หรือให้เช่าไม่ได้รับการลดหย่อนสำหรับส่วนของที่ดินที่มีสิ่งปลูกสร้างที่ใช้เป็นสถานการค้าหรือให้เช่านั้น

– ในกรณีบุคคลธรรมดาหลายคนเป็นเจ้าของที่ดินร่วมกัน ให้ได้รับการลดหย่อนรวมกันตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในวรรคหนึ่ง

– การลดหย่อนตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้น ให้ได้รับการลดหย่อนสำหรับที่ดินที่อยู่ในจังหวัดใดจังหวัดหนึ่งแต่จังหวัดเดียว

– ที่ดินที่ใช้ในการเพาะปลูก ถ้าในปีล่วงมาแล้วการเพาะปลูกในบริเวณนั้นเสียหายมากผิดปกติ หรือทำการเพาะปลูกในบริเวณนั้นเสียหายมากผิดปกติ หรือทำการเพาะปลูกไม่ได้ด้วยเหตุอันพ้นวิสัยที่จะป้องกันได้โดยทั่วไปให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจพิจารณายกเว้น หรือลดภาษีบำรุงท้องที่ให้ได้ตามระเบียบที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด

– ที่ดินที่ใช้เป็นสุสาน และฌาปนสถานสาธารณะโดยมิได้รับประโยชน์ตอบแทนอาจได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีบำรุงท้องที่ได้เฉพาะที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง

5. การชำระภาษี

1. ในปีแรกที่มีการตีราคาปานกลางของที่ดิน ให้ยื่นแบบแสดงรายการที่ดิน (ภ.บ.ท.5) พร้อมสำเนาหลักฐานที่ใช้ประกอบการประเมินภายในเดือนมกราคมของปีนั้น และนำหลักฐานใบแจ้งการประเมิน (ภ.บ.ท.9) พร้อมชำระเงินภายในเดือนเมษายน กรณีได้รับแจ้งการประเมินหลังเดือนเมษายนให้ชำระภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน

2. กรณีอื่นๆ ให้ชำระภายในเดือนมกราคม – เมษายน

**กรณีที่ดินรายใหม่ หรือปีที่มีการตีราคาปานกลางให้เจ้าของที่ดินยื่นแบบเสียภาษีภายในเดือนมกราคมของปีที่มีการตีราคาปานกลางที่ดิน หรือทุกรอบระยะเวลา 4 ปี หรือภายใน 30 วัน กรณีที่ได้รับกรรมสิทธิ์ใหม่ หรือเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินใหม่ โดยยื่นแบบ ภ.บ.ท.5

กรณีผู้ชำระภาษีบำรุงท้องที่รายใหม่

เอกสารที่ใช้ในการติดต่อ

1. โฉนดที่ดิน

2. ทะเบียนบ้าน

3. บัตรประจำตัวประชาชน / บัตรข้าราชการ / บัตรพนักงานรัฐวิสาหกิจ / บัตรประจำตัวผู้เสียภาษี

4. กรณีเจ้าของที่ดินเป็นนิติบุคคลให้แนบหนังสือรับรองสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท

5. ใบเสร็จรับเงินการเสียภาษีครั้งสุดท้าย (ถ้ามี)

6. หนังสือมอบอำนาจฉบับจริง (กรณีไม่สามารถยื่นแบบได้ด้วยตนเอง พร้อมติดอากรแสตมป์ตามกฎหมาย)

** กรณีที่ดินรายเก่า ให้เจ้าของที่ดินชำระเงินค่าภาษีภายในเดือนเมษายน ของทุกปี และเพื่อความสะดวกรวดเร็วในการติดต่อ โปรดนำใบเสร็จรับเงินการเสียภาษีครั้งสุดท้ายมาแสดงด้วย

ข้อควรปฏิบัติ

      1. เตรียมเอกสารให้พร้อม
      1. โทรศัพท์มาสอบถามข้อสงสัยก่อนเดินทางมา
    1. สำรองเงินสดสำหรับจ่ายกรณีมีค่าปรับหรือค่าธรรมเนียม

หมายเหตุ

1. การขอผ่อนชำระภาษี

ถ้าภาษีบำรุงท้องที่ที่ต้องชำระมีจำนวนตั้งแต่ 3,000 บาทขึ้นไป ผู้มีหน้าที่เสียภาษีจะขอผ่อนชำระเป็นสามงวด งวดละเท่าๆ กันก็ได้ โดยแจ้งความจำนงเป็นหนังสือให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบก่อนกำหนดเวลาชำระภาษี และให้ชำระงวดที่หนึ่งก่อนครบกำหนดเวลาชำระภาษี งวดที่สองภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันสุดท้ายที่ต้องชำระงวดที่หนึ่ง งวดที่สามภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันสุดท้ายที่ต้องชำระงวดที่สอง

2. ค่าปรับ

1. ไม่ยื่นแบบภายในกำหนด เสียเงินเพิ่ม 10% ของ ค่าภาษี

2. ยื่นรายการไม่ถูกต้อง ค่าภาษีน้อยลง ต้องเสียเงินเพิ่ม 10% ของค่าภาษีที่ประเมินเพิ่มเติม

3. ชี้เขตแจ้งจำนวนเนื้อที่ดินไม่ถูกต้อง ค่าภาษีน้อยลงต้องเสียเงินเพิ่มอีก 1 เท่า ของค่าภาษีประเมิน เพิ่มเติม

4. ชำระภาษีเกินกำหนดวันที่ 30 เมษายน ต้องเสียเงินเพิ่ม 24% ต่อปีของค่าภาษี เศษของเดือนให้นับเป็นหนึ่งเดือนการชำระภาษีจะชำระโดยการส่งธนาณัติ ตั๋วแลกเงิน หรือเช็คที่ธนาคารรับรองทางไปรษณีย์ลงทะเบียนโดยสั่งจ่ายให้แก่ ผู้อำนวยการสำนักการคลัง ปลายทางที่ทำการไปรษณีย์บางละมุง 20150 โดยจ่าหน้าซองถึง สำนักการคลัง เมืองพัทยา ถ.พัทยาเหนือ ต.นาเกลือ อ.บางละมุง จ.ชลบุรี รหัสไปรษณีย์ 20150

3. บทกำหนดโทษ

– ผู้ใดโดยรู้อยู่แล้ว หรือโดยจงใจแจ้งข้อความอันเป็นเท็จให้ถ้อยคำเท็จตอบคำถามด้วยถ้อยคำอันเป็นเท็จ หรือนำพยานเท็จมาแสดงเพื่อหลีกเลี่ยง หรือพยายามหลีกเลี่ยงการเสียภาษีบำรุงท้องที่ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

– ผู้ใดจงใจไม่มา หรือไม่ยอมชี้เขต หรือไม่ยอมแจ้งจำนวนเนื้อที่ดิน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

– ผู้ใดขัดขวางเจ้าพนักงานซึ่งปฏิบัติตามมาตรา 28 มาตรา 40 หรือมาตรา 47 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

– ผู้ใดฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานซึ่งสั่งตามมาตรา 40 มาตรา 47 หรือมาตรา 50 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

– ความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ถ้านายอำเภอหรือนายกเมืองพัทยาแล้วแต่กรณี เห็นว่าผู้ต้องหาไม่ควรได้รับเพิ่มถึงจำคุก ให้มีอำนายเปรียบเทียบกำหนดค่าปรับได้ เมื่อผู้ต้องหาได้ชำระเงินค่าปรับตามจำนวนที่นายอำเภอหรือนายกเมืองพัทยา กำหนดภายในสามสิบวัน คดีนั้นเป็นอันเสร็จเด็ดขาด

– เงินค่าปรับตามพระราชบัญญัตินี้ให้ตกเป็นรายได้ของเมืองพัทยา องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล แล้วแต่ความผิดนั้นจะเกิดขึ้นในท้องที่ใด

กรณีผู้ชำระภาษีบำรุงท้องที่รายเก่า

ปีที่ 2 – นำใบเสร็จมาชำระได้เลย

** กรณียื่นแบบแล้วไม่ชำระภายในเดือน เมษายน เสียเดือนละ 2%

** กรณีขายแล้วไม่แจ้ง ระบบไม่ตัดเป็นชื่อเจ้าของเดิม ต้องจ่ายภาษี (รวมโฉนดไม่มีเลขที่แปล เช่น บ้านจัดสรร เป็นโฉนดใหม่)

ปีที่ 3, 4

ภาษีโรงเรือน – การค้า, ให้เช่า, ประกอบการค้า, เก็บสินค้า, ให้ผู้อื่นอาศัย ที่อยู่อาศัยยังไม่ได้ชำระ

เอกสารที่ใช้ในการติดต่อ

1. ใบเสร็จรับเงินของปีที่ผ่านมา

2. สำเนาทะเบียนบ้าน

3. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน

4. สำเนาทะเบียนพาณิชย์

5. แผนที่ตั้งพอสังเขป

6. หนังสือมอบอำนาจ (กรณีไม่สามารถมาติดต่อด้วยตนเอง)

ข้อควรปฏิบัติ

      1. เตรียมเอกสารให้พร้อม
      1. โทรศัพท์มาสอบถามข้อสงสัยก่อนเดินทางมา
    1. สำรองเงินสดสำหรับจ่ายกรณีมีค่าปรับหรือค่าธรรมเนียม

การเปลี่ยนแปลงเอกสารสิทธิ์(กรณีซื้อขาย โอน ให้ที่ดิน และ นส.3 เปลี่ยนเป็นโฉนด)

เอกสารที่ใช้ในการติดต่อ

1. สำเนาโฉนดที่ดิน

2. สำเนาสัญญาซื้อขาย(ถ้ามี)

3. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน

4. สำเนาทะเบียนบ้าน

5. หนังสือมอบอำนาจ(กรณีไม่สามารถมาติดต่อด้วยตนเอง)

การจดทะเบียนพาณิชย์ (ตั้งใหม่)

ผู้ประกอบพาณิชยกิจที่มีที่ตั้งสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในเขตเมืองพัทยาและถ้าสำนักงานแห่งใหญ่ของผู้ประกอบพาณิชยกิจตั้งอยู่ในต่างประเทศ และมาตั้งสำนักงานสาขาเพื่อประกอบพาณิชยกิจในประเทศไทย สำนักงานสาขาใหญ่ตั้งอยู่ในเขตเมืองพัทยาให้จดทะเบียนพาณิชย์ ณ สำนักงานทะเบียนพาณิชย์เมืองพัทยา ภายใน 30 วัน นับแต่วันเริ่มประกอบกิจการ หรือผู้ที่จดทะเบียนแล้วมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการจดทะเบียนหรือเลิกประกอบพาณิชยกิจ ต้องแจ้งภายใน 30 วัน

ผู้ประกอบพาณิชยกิจต่อไปนี้ ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาหรือห้างหุ้นส่วนสามัญต้องจดทะเบียนพาณิชย์

1. การทำโรงสีข้าวและทำโรงเลื่อยที่ใช้เครื่องจักร

2. การขายสินค้าไม่ว่าอย่างใดๆ อย่างเดียวหรือหลายอย่างก็ตาม

3. ตัวแทนค้าต่างซึ่งทำการเกี่ยวกับสินค้า

4. การประกอบการหัตถกรรมหรือการอุตสาหกรรมและขายสินค้าที่ผลิตได้

5. การขนส่งทางทะเล การขนส่งโดยรถไฟ การขนส่งโดยรถราง การขนส่งโดยรถยนต์ประจำทาง การขายทอดตลาด

6. การรับซื้อขายที่ดิน การให้กู้ยืมเงิน การซื้อหรือขายตั๋วเงิน การธนาคาร การทำโรงรับจำนำและการทำโรงแรม

ผู้ประกอบการพาณิชย์ดังต่อไปนี้ ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือห้างหุ้นส่วนสามัญ ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัดบริษัทจำกัด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือบริษัทมหาชนจำกัดตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจำกัด ต้องจดทะเบียนพาณิชย์

1. การขาย หรือให้เช่า แผ่นซีดี แถบบันทึก วิดีทัศน์ ดีวีดี หรือแผ่นวิดีทัศน์ ระบบดิจิทัล เฉพาะที่เกี่ยวกับการบันเทิง

2. การขายอัญมณี หรือเครื่องประดับซึ่งประดับด้วยอัญมณี

3. การขายสินค้าหรือบริการ โดยวิธีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

4. การบริการอินเทอร์เน็ต

5. การให้เช่าพื้นที่ของเครื่องคอมพิวเตอร์

6. การบริการเป็นตลาดกลางในการซื้อขายสินค้าหรือบริการโดยวิธีใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่าย อินเทอร์เน็ต

      1. การผลิต รับจ้างผลิต แผ่นซีดี แถบบันทึก วิดีทัศน์ แผ่นวิดีทัศน์ ดีวีดี หรือแผ่นวีดิทัศน์ระบบดิจิทัล เฉพาะที่เกี่ยวกับการบันเทิง
      1. การให้บริการเครื่องคอมพิวเตอร์
      1. การให้บริการฟังเพลงและร้องเพลงโดยคาราโอเกะ
      1. การให้บริการเครื่องเล่นเกมส์
      1. การให้บริการตู้เพลง
    1. โรงงานแปรสภาพ แกะสลัก และการทำหัตถกรรมจากงาช้าง การค้าปลีก การค้างาช้าง และผลิตภัณฑ์จากงาช้าง

พาณิชยกิจที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องจดทะเบียน

1. การค้าเร่ การค้าแผงลอย

2. พาณิชยกิจเพื่อการบำรุงศาสนาหรือเพื่อการกุศล

3. พาณิชยกิจของนิติบุคคลซึ่งได้มีพระราชบัญญัติ หรือพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งขึ้น

4. พาณิชยกิจของกระทรวง ทบวง กรม

5. พาณิชยกิจของมูลนิธิ สมาคม สหกรณ์

6. พาณิชยกิจซึ่งรัฐมนตรีได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา

การจดทะเบียนพาณิชย์ (ตั้งใหม่) แบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ

1.1 กรณีผู้ขอจดทะเบียนเป็นบุคคลธรรมดา

1.2 กรณีผู้ขอจดทะเบียนเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ คณะบุคคล และกิจการร่วมค้า

1.3 กรณีผู้ขอจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ

1.4 กรณีผู้ขอจดทะเบียนเป็นห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน (ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลและห้างหุ้นส่วนจำกัด) บริษัทจำกัดและบริษัทมหาชน จำกัด

การจดทะเบียนพาณิชย์ (ตั้งใหม่)

เอกสารที่ใช้ในการติดต่อ

      1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของผู้ขอจดทะเบียน
      1. สำเนาสัญญาเช่าอาคารร้านค้า/สำเนาทะเบียนบ้านที่ร้านค้าตั้งอยู่/หนังสือยินยอมให้ใช้สถานที่ พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้ให้ความยินยอม
    1. กรณีมอบอำนาจ

– หนังสือมอบอำนาจติดอากรแสตมป์ 10 บาท

– สำเนาบัตรประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ

ข้อควรปฏิบัติ

      1. เตรียมเอกสารให้พร้อม
      1. โทรศัพท์มาสอบถามข้อสงสัยก่อนเดินทางมา
    1. สำรองเงินสดสำหรับจ่ายกรณีมีค่าปรับหรือค่าธรรมเนียม

หมายเหตุ

อัตราค่าธรรมเนียม

– จดทะเบียนพาณิชย์ ใหม่ 50 บาท

– จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงรายการ 20 บาท

– จดทะเบียนเลิกประกอบกิจการ 20 บาท

– การออกใบแทนใบทะเบียนพาณิชย์กรณีชำรุดสูญหาย 30 บาท

– การคัดหรือรับรองสำเนาฉบับละ 30 บาท

Comments are closed.