Pattaya City

พรบ.เมืองพัทยา

เมืองพัทยา เป็นเขตปกครองพิเศษเขตหนึ่งที่ตั้งตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. 2521 ต่อมาได้ปรับปรุงกฎหมาย และยกเลิก พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ.  2521  ตาม พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ.  2542  ที่ได้กำหนดรูปแบบแตกต่างไปจากเดิม โดยให้มีการเลือกตั้งนายกเมืองพัทยาโดยตรงจากประชาชน เพื่อบริหารเมืองพัทยาซึ่งมีวาระกำหนดคราวละ 4 ปี โครงสร้างการบริหารเมืองพัทยาประกอบด้วย

  1. สภาเมืองพัทยา
  2. นายกเมืองพัทยา

 

สภาเมืองพัทยา ประกอบด้วย สมาชิก จำนวน 24 คน อยู่ในวาระคราวละ 4 ปี ซึ่งเลือกตั้งโดยราษฎรผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเมืองพัทยา และสภาเมืองพัทยาในเขตเมืองพัทยา และสภาเมืองพัทยาให้มีประธานเมืองพัทยา 1 คน รองประธานเมืองพัทยา 2 คน แล้วเสนอผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้ง และให้มีหน้าที่ดำเนินการประชุมและดำเนินกิจการอื่น ๆ ให้เป็นไปตามข้อบังคับเมืองพัทยา

 

นายกเมืองพัทยา ให้มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนในเขตเมืองพัทยา ดำรงตำแหน่งคราวละ 4 ปี และนายกพัทยาสามารถแต่งตั้งรองนายกเมืองพัทยา จำนวนไม่เกิน 4 คน

คุณสมบัติเบื้องต้น ของผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นนายกเมืองพัทยา

  1. มีสัญชาติไทยโดยกำเนิด
  2. มีอายุไม่ต่ำกว่าสามสิบปีบริบูรณ์ในวันเลือกตั้ง
  3. สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาหรือเทียบเท่า และ
  4. มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเมืองพัธยาเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อบกว่าหนึ่งปีนับถึงวันสมัครรับเลือกตั้ง หรือเป็นผู้มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเมืองพัทยาในวันสมัครรับเลือกตั้ง และได้เสียภาษีตามกฎหมายว่าด้วยภาษีโรงเรือนและที่ดินหรือกฎหมายว่าด้วยภาษีบำรุงท้องที่ ให้เมืองพัทยาในปีที่สมัครหนึ่งปี

 

อำนาจหน้าที่ของนายกเมืองพัทยา

กำหนดนโยบายและรับผิดชอบในการบิหารราชการของเมืองพัทยาให้เป็นไปตามกฎหมาย ข้อบัญญัติ และนโยบาย

  1. สั่ง อนุญาต และอนุมัติเกี่ยวกับราชการของเมืองพัทยา
  2. แต่งตั้งและถอดถอนรองนายกเมืองพัทยา เลขานุการนายกเมืองพัทยา ผู้ช่วยเลขานุการ นายกเมืองพัทยา ประธานที่ปรึกษา ที่ปรึกษาหรือคณะที่ปรึกษา
  3. วางระเบียบเพื่อให้งานของเมืองพัทยาเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
  4. ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่คณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี  รัฐมนตรี หรือผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมาย หรือตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของนายกเมืองพัทยา หรือนายกเทศมนตรีหรือคณะเทศมนตรี

 

สำหรับปลัดเมืองพัทยา ให้ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าสำนักปลัดเมืองพัทยา เป็นผู้บังคับบัญชา พนักงานเมืองพัทยาและลูกจ้างเมืองพัทยา รองจากนายกเมืองพัทยา และทำหน้าที่เป็นเลขานุการสภาเมืองพัทยา มีหน้าที่รับผิดชอบงานธุรการ และการจัดประชุม และงานอื่นตามที่สภาเมืองพัทยามอบหมาย

การแบ่งส่วนราชการเมืองพัทยา 

เมืองพัทยาแบ่งส่วนราชการ ดังนี้

  1. สำนักปลัดเมืองพัทยา
  2. ส่วนราชการอื่น ตามที่นายกเมืองพัทยาประกาศกำหนด โดยความเห็นชอบของกระทรวงมหาดไทย

 


โครงสร้างการบริหารเมืองพัทยา ตาม พ... ระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.. 2542

 

 

อำนาจหน้าที่ของเมืองพัทยา

(1) การรักษาความสงบเรียบร้อย

(2) การส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ

(3) การคุ้มครองและดูแลรักษาทรัพย์สินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน

(4) การวางผังเมืองและการควบคุมการก่อสร้าง

(5) การจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัยและการปรับปรุงแหล่งทรุดโทรม

(6) การจัดการจราจร

(7) การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง

(8) การกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล และการบำบัดน้ำเสีย

(9) การจัดให้มีน้ำสะอาดหรือการประปา

(10) การจัดให้มีการควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ และที่จอดรถ

(11) การควบคุมอนามัยและความปลอดภัยในร้านจำหน่ายอาหาร โรงมหรศพ และสถานบริการอื่น

(12) การควบคุมและส่งเสริมการท่องเที่ยว

(13) การบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น

(14) อำนาจหน้าที่อื่นตามกฎหมายกำหนดให้เป็นของเทศบาลนครหรือเมืองพัทยา

ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลกลางกับเมืองพัทยา

เนื่องจากเมืองพัทยาเป็นระบบการปกครองท้องถิ่น ดังนั้นจึงต้องอยู่ในการกำกับดูแลโดยรัฐบาล ซึ่งกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้รับผิดชอบโดยตรง และรัฐบาลมอบอำนาจหน้าที่ให้จังหวัดกำกับดูแลแทน ตามรายละเอียดดังนี้

1. การควบคุมโดยจังหวัด หมายถึง ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรีมีอำนาจหน้าที่ควบคุมดูแลการปฏิบัติราชการของเมืองพัทยา โดยผู้ว่าฯ มีอำนาจสั่งสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการของเมืองพัทยาได้

2. การควบคุมกระทรวงมหาดไทยหมายถึง กระทรวงมหาดไทยควบคุมการบริหารราชการเมืองพัทยา โดยดำเนินการผ่านผู้ว่าราชการจังหวัดก่อนไปถึงรัฐมนตรีว่ากระทรวงมหาดไทย ซึ่งคำแนะนำของผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรีมีอำนาจยุบสภาเมืองพัทยาเพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่ได้

 

การควบคุมการบริหารราชการเมืองพัทยาดังกล่าว เป็นไปตามลักษณะของการควบคุมภายในการปกครองท้องถิ่นทั่วไป

Comments are closed.